ไก่ป่านำรำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล หลวงพ่อชา สุภทฺโท" จากคอลัมน์ บันทึกธรรมวิจัย (หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก  วันอังคารที่๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ โดย  มนสิกุล โอวาทเภสัชช์  ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดหนองป่าพง และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
“ไก่ป่านำรำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล หลวงพ่อชา สุภทฺโท” จากคอลัมน์ บันทึกธรรมวิจัย (หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดหนองป่าพง และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

จากบทความ “ไก่ป่านำรำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล หลวงพ่อชา สุภทฺโท” จากคอลัมน์ บันทึกธรรมวิจัย (หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๑ โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ มารำลึกความทรงจำ

พระโพธิญาณเถร ( ชา สุภทฺโท)
พระโพธิญาณเถร ( ชา สุภทฺโท)

“ราชรถอันวิจิตรงดงามยังเก่าได้

   แม้แต่ร่างกายของเรา ก็ไม่พ้นชราภาพ

   แต่ธรรมของสัตบุรุษหาแก่ไม่

   สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกล่าวสอนกันเช่นนี้”

           ในหนังสือ “อุปลมณี” ชีวประวัติ พระโพธิญาณเถร ( ชา สุภทฺโท) จัดทำโดยคณะศิษยานุศิษย์วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในบท ประวัติการอาพาธ เริ่มต้นด้วย สี่วรรคทองดังกล่าว แล้วเล่าต่อมาว่า หลวงพ่ออาพาธหนัก จนกระทั่งอัมพาตนานถึงเก้าปีจึงได้มรณภาพ ตลอดเวลาอันยาวนานนี้ ลูกศิษย์ต่างมีความรู้สึกว่า ท่านมิได้ละทิ้งหน้าที่ความเป็นครูของท่านแม้แต่น้อย ตรงกันข้าม หลวงพ่อยังคงใช้สังขารที่เสื่อมโทรมนั้นแสดงธรรมแก่สานุศิษย์ และสาธุชนที่ไปกราบนมัสการอยู่ตลอดเวลา ลูกศิษย์ทุกคนต่างยอมรับ และทำใจกับการเสื่อมสลาย และการแตกดับแห่งธาตุขันธ์ของท่านในที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หลายองค์และหลายคนรู้สึกว่า ปัจฉิมโอวาทที่เงียบเชียบ เป็นโอวาทที่ลึกซึ้งที่สุด และรับได้ยากที่สุด เท่าที่ท่านเคยแสดงแก่ลูกศิษย์…

             เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา เป็นวันคล้ายวันมรณภาพ หลวงปู่ชา สุภัทโท อีกทั้งปีนี้ ยังครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาลของท่านด้วยในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๑ ที่จะมาถึง โดยปกติทุกปีคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดปฏิบัติธรรมอาจาริยบูชาท่านในช่วง ๑๒-๑๗ มกราคม เป็นประจำอยู่แล้ว สำหรับในปีนี้จึงนับว่า เป็นการรวมศิษยานุศิษย์จากทั่วทุกมุมโลกมาพร้อมเพรียงกันอย่างมากที่สุดเป็นประวัติการแห่งการจากไปของท่านเมื่อ ๒๖ ปีก่อน

ขณะเดียวกันในสายสัมพันธ์ในคณะศิษย์ของสองสำนักระหว่างเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) แห่งวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กับ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)  แห่งวัดหนองป่าพง ยิ่งแน่นแฟ้นมั่นคงขึ้น แม้ว่า พระเถรานุเถระทั่งสองท่านละสังขารไปแล้วก็ตาม

พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ ) และ พระราชกิจจภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น และคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์ หลวงปู่ชา สุภัทโท ณ อนุสรณ์สถานชาตภูมิหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่บ้านเกิด จ.อุบลราชธานี
พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ ) และ พระราชกิจจภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น และคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์ หลวงปู่ชา สุภัทโท ณ อนุสรณ์สถานชาตภูมิหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่บ้านเกิด จ.อุบลราชธานี

           โดยในปีนี้ (พ.ศ.๒๕๖๑) พระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ ในขณะนั้น อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะภาค ๑๐ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรวิหาร อดีตประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ  เป็นประธานพิธี รำลึก ๑๐๐ ปีชาตกาล หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในวันดังกล่าว พระพรหมสิทธิได้เดินทางไปสักการะอนุสรณ์สถานชาตภูมิหลวงพ่อชา ที่คณะศิษย์สร้างขึ้นบนพื้นที่ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงพ่อชา

พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) และ พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) ในขณะนั้น พร้อมทั้งคณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) อาจาริยบูชา ณ เจดีย์พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) และ พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) ในขณะนั้น พร้อมทั้งคณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) อาจาริยบูชา ณ เจดีย์พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

จากนั้น ได้เดินทางไปยังวัดหนองป่าพงเพื่อเป็นประธานพิธีเวียนเทียนรำลึกชาตกาล ๑๐๐ ปีหลวงพ่อชา มีพระสงฆ์จากทั่วโลก ราว ๓,๐๐๐ รูป และประชาชนร่วม ๒๐,๙๓๖ คน ร่วมพิธี โดยปัจจุบัน สาขาวัดหนองป่าพง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม ๓๕๑ แห่ง สาขาในประเทศ จำนวน ๓๒๖ แห่ง และสาขาต่างประเทศ จำนวน ๒๕ แห่ง

         จากการเดินทางของคณะศิษยานุศิษย์ทั่วโลกมาปฏิบัติธรรมอาจาริยบูชาหลวงพ่อชากันอย่างอบอุ่นเต็มวัดกันเช่นนี้ ย่อมประกาศชัดเจนว่า ธรรมะจากพระพุทธองค์ได้ปักลงกลางใจพุทธบริษัทอย่างมั่งคงไม่คลอนแคลน การที่ไก่ป่าตัวน้อยนำขบวนศิษยานุศิษย์ออกเดินทางไปยังพระเจดีย์ ทำให้ระลึกถึง คำสอนของหลวงปู่ชาในหนังสือ “อุปลมมณี” อีกตอนหนึ่งที่คณะศิษยานุศิษย์รบวรวมคำสอนของท่านไว้เกี่ยวกับ “ฆราวาสธรรม” ตอนหนึ่งว่า

ชีวิตอันสมบูรณ์ของชาวพุทธ คือชีวิตแห่งการสร้างประโยชน์ เมื่อสร้างประโยชน์ตนแล้ว ต้องสร้างประโยชน์ผู้อื่นต่อ

คณะสีลธารา นักบวชหญิง จากทุกมุมโลกเดินทางมาอาจาริยบูชา หลวงปู่ชา สุภัทโท ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๑ ณ เจดีย์โพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสีลธารา นักบวชหญิง จากทุกมุมโลกเดินทางมาอาจาริยบูชา หลวงปู่ชา สุภัทโท ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๑ ณ เจดีย์โพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี

หลังจากหลวงพ่อได้ตั้งหลักแหล่งที่วัดหนองป่าพงแล้ว ท่านก็เริ่มสานต่องานบำเพ็ญประโยชน์ในหลายๆ ด้านอย่างเป็นล่ำเป็นสัน นอกจากการฝึกอบรมพระภิกษุสามเณรแล้ว ท่านก็ตั้งอกตั้งใจสั่งสอนชาวบ้านตรงกับหลักใน สิงคาโลวาทสูตร คือ

  • ห้ามปรามจากความชั่ว
  • ให้ตั้งอยู่ในความดี
  • อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
  • ให้ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
  • ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
  • บอกทางสวรรค์ คือ ทางชีวิตที่มีความสุขความเจริญให้

“ในการสอนชาวบ้านนั้น หลวงพ่อชาก็ใช้แนวทางอริยสัจสี่เช่นเดียวกันกับการสอนพระสงฆ์ เพียงแต่เน้นย้ำในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของฆราวาส

“เมื่อหลวงพ่อมาอยู่วัดหนองป่าพงใหม่ๆ ชาวบ้านยังมีความยึดถือผิดๆ หลายอย่าง แม้ศีลห้าก็ยังไม่รู้จัก ในสมัยบุกเบิกวัด การสอนของหลวงพ่อจึงมุ่งที่การกำจัดมิจฉาทิฐิของชาวบ้าน และปลูกฝังสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบเกิดขึ้น และให้เข้าใจความหมายของไตรสรณคมน์และยึดเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง ให้เลิกละอบายมุข ประกอบสัมมาชีพ และตั้งอยู่ในศีลธรรม ชักชวนมาจำศีลทุกวันพระ เพื่อฟังเทศน์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม และฝึกหัดเจริญสติในชีวิตประจำวัน ให้รู้จักใช้ปัญญา พิจารณาหาเหตุผลในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เพื่อปฏิบัติต่อสิ่งรอบตัวอย่างถูกต้อง จนเป็นที่พึ่งของตนได้”

ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดหนองป่าพง และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดหนองป่าพง และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ดังคำกล่าวของหลวงปู่ชาว่า เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนไพบูลย์ เหมือนอย่างสัมมาทิฐินี้เลย

เมื่อจิตใจเข้าสู่กระแสแห่งสัมมาทิฐิ จึงเป็นดั่งอรุณรุ่งของชีวิต เฉกเช่นยามเมื่อแสงทองจับขอบฟ้า เมื่อดวงตาเห็นธรรมแล้ว อะไรๆ ก็สว่างโพล่งไปหมด ไม่มีอะไรที่จะติดข้องใจอีก เมื่อนั้น การดำเนินชีวิตก็จะสะอาด สว่าง สงบ ดังที่หลวงปู่ชากล่าวไว้อีกว่า ทำให้สุด ขุดให้ถึง มรรคผลยังไม่พ้นสมัย คนโง่เท่านั้นที่ปฏิเสธว่า ในพื้นดินไม่มีน้ำ แล้วไม่ยอมขุดบ่อ…

บันทึกความทรงจำ …”ไก่ป่านำรำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล หลวงพ่อชา สุภทฺโท” โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดหนองป่าพง และ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here