พิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปี วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พ.ศ.๒๕๕๙ ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปี วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พ.ศ.๒๕๕๙ ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

มงคลสูตร : ป้องกันอันตราย เพิ่มสิริมงคลรับปีใหม่

โพชฌังคปริตร : หายจากโรคภัย สุขภาพดีรับปีใหม่
พุทธชัยมงคลคาถา : ชนะอุปสรรคทั้งปวง พบความสำเร็จในปีใหม่

โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสริมสิริมงคลตลอดปี ๒๕๖๓ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ถึง วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพ ฯ

ความเข้าใจที่ถูกธรรมเกี่ยวกับการเจริญพระพุทธมนต์ หรือ การสวดมนต์

การสวดมนต์มิได้เป็นการอ้อนวอน ร้องขอแต่ประการใด หากเป็นเพิ่มพื้นที่ของสติ สมาธิ และปัญญาให้ปรากฏในจิตใจ ลดความฟุ้งซ่าน สามารถทำกิจการงานใดๆ ก็ประสบความสำเร็จเพราะเกิดจากสมาธิและปัญญาที่ได้รับจากการจดจ่อในการเจริญพระพุทธมนต์ หรือการสวดมนต์ เป็นพื้นฐานจิตที่จะนำไปสู่การมีสติจดจ่อ มีสมาธิในการทำกิจใดๆ อย่างต่อเนื่อง และเกิดปัญญาในการคิดพิจารณาแก้ไขปัญหาในระหว่างวันให้ลุล่วงไปด้วยดี

จึงขอน้อมนำบทความ “เรื่องของการสวดมนต์ ” และความเป็นมาของการสวดมนต์ข้ามปี ตลอดจนอานุภาพของการสวดมนต์ โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น มามอบเป็นธรรมบรรณาการในช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ด้วยใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาในอานุภาพของพระพุทธมนต์ ซึ่งก็คือคำสอนและการปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ในสมัยพุทธกาลที่ทรงเมตตาสอนพระภิกษุสงฆ์สาวกให้น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติจนก่อเกิดปัญญาญาณในตนเอง จนสามารถเห็นความเป็นจริงของชีวิต คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นทางหลุดพ้นจากความทุกข์ในการยึดมั่นถือมั่นจากกายใจและสิ่งภายนอกทั้งปวง

จากหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร (ฉบับธรรมทาน) และหนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์” เรียนรู้พุทธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร)

หนังสือ "พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน
หนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน

การสวดมนต์เริ่มต้นมาอย่างไร

โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

         การเจริญพระพุทธมนต์เริ่มต้นมาจากการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ เพื่อทรงจำและสืบต่อคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ พระสงฆ์สาวกสมัยพุทธกาลได้นำพระสูตรต่างๆ มาสวดสาธยายในรูปแบบการบริกรรมภาวนาให้เกิดเป็นสมาธิ พระสูตรนั้นๆ จึงเรียกว่า “พระพุทธมนต์”

เมื่อบริกรรมภาวนาพระพุทธพจน์จนจิตเป็นสมาธิ  ย่อมเกิดอานุภาพในด้านต่างๆ  เช่น ทำให้เกิดสิ่งดีงามขึ้น ทั้งในชีวิต หน้าที่การงาน สุขภาพ และครอบครัว ในขณะเดียวกัน ก็จะต้านทานสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต

ต่อมา จึงมีผู้นิยมนำพระพุทธพจน์มาใช้เป็นพระพุทธมนต์ เพื่อต้านทานสิ่งไม่ดีทั้งหลาย  พระพุทธมนต์จึงถูกเรียกว่า “พระปริตร”  แปลว่า  เครื่องต้านทาน  ป้องกัน  รักษา

พระพุทธมนต์ที่มีอานุภาพในการต้านทาน คุ้มครอง ป้องกัน  รักษา จึงถูกเรียกว่า พระปริตร  ไปด้วย

         การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ในครั้งพุทธกาลนั้น  ใช้วิธีเรียนแบบบอกปากต่อปาก  แล้วจดจำสวดสาธยายต่อๆ  กันมา  เรียกว่า   “มุขปาฐะ”  วิธีเล่าเรียนพระพุทธพจน์ที่เรียกว่า มุขปาฐะนี้  พระสงฆ์สาวกใช้มาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่  โดยพระสงฆ์ในสมัยนั้นแบ่งหน้าที่กันท่องเป็นหมู่คณะตามความถนัด 

พระอุบาลีเถระทำหน้าที่ทรงจำพระวินัย  พระภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระวินัยก็เรียนพระวินัยจากพระอุบาลีเถระ 

พระอานนท์เถระทรงจำพระสูตร  พระภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระสูตรก็เรียนพระสูตรต่อจากพระอานนท์เถระ 

พระสารีบุตรเถระทรงจำพระอภิธรรม  พระภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระอภิธรรมก็เรียนพระอภิธรรมต่อจากพระสารีบุตรเถระ

แล้วก็ร่วมกันสวด สาธยายเป็นหมู่คณะๆ  ตามโอกาส แม้ที่พักอาศัยก็จะอยู่รวมกันเป็นคณะ เพื่อสะดวกต่อการร่วมกันสวดสาธยายพระพุทธพจน์ที่ตนถนัด 

การสืบต่อพระพุทธพจน์ที่เรียกว่ามุขปาฐะครั้งพุทธกาล เช่น  นามว่า โสณกุฏิกัณณะ เดินทางจากชนบทห่างไกลมาเฝ้าพระพุทธเจ้า  ทรงรับสั่งให้พระเถระพักอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระองค์  พอตกดึก จึงให้ท่านสวดพระสูตรให้สดับ  พระเถระสวดพระสูตรให้พระพุทธองค์ สดับถึง  ๑๖  สูตรก็พอดีสว่าง 

เมื่อพระพุทธองค์ประชวรก็ได้ให้พระมหาจุนทะสวดโพชฌงคสูตรให้สดับ  จนหายจากอาการประชวร 

          นอกจากนั้น  ในพระวินัยปิฎกยังระบุไว้ว่า  ในอาวาสที่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่มากรูป จะต้องให้มีพระภิกษุสวด พระปาติโมกข์ คือ การสวดทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อของพระสงฆ์ได้หนึ่งรูปเป็นอย่างน้อย  หากไม่มีจะต้องขวนขวายส่งไปเรียนยังสำนักที่มีผู้สวดได้ หากไม่ทำเช่นนั้นก็จะปรับอาบัติแก่เจ้าอาวาสเพราะโทษที่ไม่ใส่ใจจะให้มี ผู้ทรงจำพระปาติโมกข์ 

          แสดงให้เห็นว่า สมัยพุทธกาลนั้น พระสงฆ์ได้มีการนำ   พระพุทธพจน์มาท่องบ่นสาธยายกันเป็นกิจวัตรอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว

สวดมนต์แล้วได้ประโยชน์อะไร

การสวดมนต์ ช่วยจัดระบบเซลล์ของร่างกาย ให้เกิดความสมดุลแม้จะยังไม่ได้มีการพิสูจน์ และยืนยันจากทางการแพทย์ อย่างเป็นทางการ ว่า การสวดมนต์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกายอย่างไรหรือไม่ แต่ก็เป็นที่เชื่อมั่นกัน ในหมู่ผู้นิยมการสวดมนต์ ว่า การสวดมนต์ ช่วยปรับให้เกิดความสมดุล ทางกาย และทางจิต เป็นการสร้างความสงบเยือกเย็นให้กับจิต ทำให้ความเครียดลดลงได้  แล้วความรู้สึกดีๆ ของจิตสำนึกก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่

         เมื่อจิตสงบนิ่ง ย่อมทำให้ร่างกายเบาสบาย เพราะลมหายใจที่สูดเข้าไปในขณะเปล่งเสียงสวดมนต์ จะทำให้ปอดขยายในจังหวะที่พอเหมาะสม่ำเสมอ เพิ่มออกซิเจนในเลือด  ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี  ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ใบหน้าเอิบอิ่มอยู่เสมอ    ในขณะเดียวกันก็ทำให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นอวัยวะทุกสัดส่วนไม่เกร็ง  เป็นการผ่อนคลายระบบประสาททุกสัดส่วนของร่างกาย   ทำให้ลดความตึงเครียดลงได้

         นอกจากนั้น ยังมีความเป็นไปได้ว่า พลังงานความคิด ที่เกิดจากจิตด้านดี (กุศลเจตสิก) ย่อมส่งผลต่อการกระตุ้นเซลล์ดีของร่างกาย ในทางตรงกันข้าม พลังงานความคิดที่เกิดจากจิตด้านร้าย (อกุศลกเจตสิก) ย่อมส่งผลต่อการกระตุ้นเซลล์ร้ายของร่างกายให้เจริญด้วย

     พลังงานบวก    ย่อมส่งผลบวก (กุศล)

     พลังงานลบ     ย่อมส่งผลลบ (อกุศล) 

ผู้ที่มีจิตใจดีจึงทำให้เซลล์สมองดีตามไปด้วย ผู้มีจิตคิดร้ายอยู่เสมอ จะทำให้เซลล์สมองสับสน  อาจเกิดเนื้อร้ายในสมองได้ด้วย

เนื่องจากการสวดมนต์ เป็นการทำสมาธิวิธีหนึ่ง การสวดมนต์จึงทำให้วงรอบการเกิดดับของจิตช้าลง ซึ่งจะมีผลทำให้วงรอบการเกิดดับของเชลล์ในกายช้าลงด้วย

ผู้ที่สวดมนต์เป็นปกติ นอกจากจะเป็นการชะลอความแก่ทำให้แก่ช้าลงแล้ว ยังอาจลดอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง และโรคเส้นเลือดในสมองแตกด้วย  เพราะจิตที่สงบนิ่งราบเรียบจะขจัดเซลล์ในสมองให้เป็นระบบเกิดความสมดุล เนื่องจากหัวใจไม่เต้นแรงร้อนรนผิดธรรมชาติ การสูบฉีดเลือดในหัวใจเป็นปกติ  ทำให้เส้นเลือดเกิดความสมดุลไหลเวียนได้ดี

นอกจากนั้น การสวดมนต์ ยังเป็นการบริหารจิต ให้เกิดปัญญาในการพัฒนาชีวิต 

การสวดมนต์ จะทำให้จิตอ่อนโยนงดงาม เป็นจิตพร้อมที่จะรับคำแนะนำ อบรม ตักเตือน สั่งสอน ซึ่งเป็นการบริหารจิตให้เกิดปัญญา  การแนะนำให้เด็กรู้จักสวดมนต์ ตั้งแต่อายุยังน้อย  จะมีผลทำให้เด็กเป็นคนแยกแยะผิดถูกได้ดี มีจิตใจงดงาม  อ่อนโยน  เป็นสุภาพชน  มีความกตัญญู  ไม่ก้าวร้าว  เป็นต้น

ปกหลัง "หนังสือสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ ฉบับธรรมทาน
ปกหลัง “หนังสือสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน

มงคลสูตร : พระสูตรว่าด้วยมงคลอันสูงสุดแห่งชีวิต

มงคลสูตร : ป้องกันอันตราย เพิ่มสิริมงคลรับปีใหม่

มงคลสูตร : หลักปฏิบัติเพื่อชีวิตที่เป็นมงคล

มงคลสูตร พระสุตันตปิฎก ขุทกนิกาย ขุทกปาฐะ

ตำนานและอานุภาพการป้องกัน (โดยย่อ)

จากหนังสือ "พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน
จากหนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม
โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม)
พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน

มงคลสูตร เป็นพระสูตรที่แนะนำวิธีการดำเนินชีวิตที่เป็นมงคลสูงสุดอย่างชาวบ้าน จนถึงชีวิตที่เป็นมงคลสูงสุดอย่างพระสงฆ์ พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรนี้แก่เทวดาผู้ทูลถามถึงสิ่งที่เป็นมงคล สาเหตุมาจากการที่ประชาชนประชุมกัน ที่สภาเพื่อฟังกถาที่แสดงเรื่องราวต่างๆ โดยได้เชิญผู้มีความรู้ในแต่ละเรื่องมาแสดงตามวาระ เรื่องที่แสดงนั้น บางเรื่องต้องใช้เวลานานถึง ๔ เดือน จึงจะจบลงได้

วันหนึ่ง ได้มีการหยิบยกเรื่องปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เชื่อว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิตขึ้นมาแสดง ณ สภาแห่งนั้น ปัญหานี้ ได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง จนไม่สามารถหาข้อยุติได้ ต่างคนต่างก็มีเหตุผลสนับสนุนแนวคิดของตน ปัญหาดังกล่าวมิใช่เพียงถกเถียงกันในหมู่มนุษย์เท่านั้น แต่ยังขยายวงถกเถียงกว้างออกไปจนถึงหมู่เทพทั้งหลาย ความวุ่นวายจึงเกิดขึ้นจากเมืองมนุษย์จนถึงสวรรค์

สิ่งที่คนสมัยพุทธกาลเชื่อกันว่า เป็นมงคลสูงสุดสำหรับชีวิต แยกออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ

๑. กลุ่มที่ถือเอาสิ่งที่ตาเห็นว่าเป็นมงคล กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “ทิฏฐมังคลิกะ” กลุ่มนี้มีความเห็นว่า การที่ได้เห็นสิ่งที่คนยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าดีนั่นเอง ถือว่าเป็นมงคล

๒. กลุ่มที่ถือเอาสิ่งที่หูได้ยินว่าเป็นมงคล กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “สุตมังคลิกะ” กลุ่มนี้มีความเห็นว่า การได้ยินเสียงที่คนยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าดีนั่นแหละเป็นมงคล

๓. กลุ่มที่ถือเอาสิ่งที่จมูกดมกลิ่นว่าเป็นมงคล กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “มุตมังคลิกะ” กลุ่มนี้มีความเห็นว่า การได้ดมกลิ่น ลิ้มรส ที่คนยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าดีนั่นเองเป็นมงคล

ปัญหาดังกล่าว ได้ถกเถียงกันกินเวลานานถึง ๑๒ ปี ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าอะไรเป็นมงคล จึงเกิดข้อถกเถียงขยายวงกว้างออกไปตั้งแต่หมู่มนุษย์จนถึงเหล่าเทวดาทั้งหลาย ในที่สุดพระอินทร์ เทวาธิบดีแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้มีบัญชาให้เทพบุตรตนหนึ่ง เป็นตัวแทนเหล่าเทพไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลถามมงคล พระพุทธเจ้าได้ตรัสมงคลสูงสุดสำหรับชีวิตตอบเทพบุตร ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นมงคลสูงสุดสำหรับชีวิตที่ถกเถียงกันนานถึง ๑๒ ปี จึงยุติลงตั้งแต่นั้นมา

เนื้อความโดยย่อของมงคลสูตร กล่าวถึงมงคล ๓๘ ประการ ซึ่งพระพุทธองค์แสดงไว้ว่าเป็นมงคลสูงสุดในชีวิต หากทุกคนดำเนินชีวิตตามมงคลที่พระพุทธองค์แสดงไว้ เขาก็จะประสบแต่สิ่งที่เป็นมงคล โดยไม่จำเป็นต้องแสวงหามงคลมาจากไหน

อานุภาพการป้องกัน

มงคลสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดมงคลในการดำเนินชีวิต การนำมงคลสูตรมาสวดก็เพื่อเป็นการน้อมเอามงคลต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตรมาแสดงให้เกิดเป็นมงคลขึ้นกับชีวิต นอกจากนั้น มงคลสูตร ยังมีอานุภาพในการป้องกันภัยอันตรายอันจะเกิดจากความไม่เที่ยงธรรมของเหล่าคนพาลสันดานหยาบทั้งหลาย

ในงานบุญโดยทั่วไป พระสงฆ์นิยมสวดมงคลสูตร พร้อมกับเจ้าภาพจุดเทียนมงคล อันแสดงถึงความส่องสว่างรุ่งเรืองแห่งมงคลในชีวิต

การสวดมงคลสูตรก่อนสูตรอื่นทั้งหมด เหมือนกับการแนะนำผู้ฟังว่า ผู้ที่ดำเนินชีวิตตามหลักมงคลทั้ง ๓๘ ประการตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั้นเป็นชีวิตที่เป็นมงคล ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองเหมือนเปลวเทียนที่ส่องสว่าง ชีวิตเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหามงคลจากภายนอกที่ไหน เพราะเป็นชีวิตที่เป็นมงคลอยู่ในตัวแล้ว หากทำได้ก็จะปราศจากทุกข์โศกโรคภัยในการดำเนินชีวิต และถึงความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด เหมือนเปลวเทียนที่มีความสว่างในตัวเอง

ในบทขัดตำนาน คือการบอกเล่าความเป็นมาของพระสูตรและอานุภาพการป้องกัน เพื่อให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาเชื่อมั่นในอานุภาพพระพุทธมนต์ ท่านได้ประพันธ์เป็นคาถาแสดงอานุภาพของมงคลสูตรไว้ดังนี้

“ทั้งมนุษย์และเทวดาต่างก็คิดหาสิ่งที่เป็นมงคลมานานถึง ๑๒ ปี แม้คิดหาอยู่เช่นนั้นก็ไม่ทราบมงคล ความโกลาหลจึงเกิดไปทั่วหมื่นจักรวาลจนกระทั่งถึงพรหมโลก มงคลที่สมเด็จโลกนาถเจ้า ทรงแสดงไว้สามารถนำบาปทั้งปวงให้เสื่อมหายไปสิ้น หมู่ชนมีจำนวนนับไม่ถ้วน ได้พ้นทุกข์ทั้งปวง เพราะฟังมงคลใด เราทั้งหลาย จงสวดมงคล ซึ่งประกอบด้วยคุณตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เทอญฯ “

บทขัดมงคลสูตร ยัญจะ ท ๎วาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา ๎ จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง จักกะวาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง ยาวะ พ ๎รัห ๎มะนิเวสะนา ๎ ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง ยัง สุต๎วา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตาสังขิยา นะรา เอวะมาทิคุณูเปตัง มังคะลันตัมภะณามะ เห ฯ

มงคลสูตร

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะ ปิณ ฑิกัสสะ อาราเมฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เก วะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสต ๎วา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิต ๎ ๎วา ภะคะวันตัง ๎ อะภิวาเทต ๎วา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ๎ ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภา สิ

พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง

อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา

ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา

อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต

สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห

อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห

อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง

กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ

อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

เอตาทิสานิ กัตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา

สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ

คําแปล

ข้าพเจ้าได้ฟังอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งผ่านยามแรกแห่งราตรีไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงดงามยิ่ง นัก ทำให้พระเชตวันส่องสว่างไปทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ข้างหนึ่ง เทวดานั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ต่างก็หวังความสวัสดี จึงได้พากันคิดเรื่องมงคล คือเหตุให้ถึงความเจริญทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดตรัสมงคลอันสูงสุดเถิด ฯ (พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสิ่งที่เป็นมงคลตอบว่า)

การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑ การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ การบูชผู้ที่ควรบูชา ๑ ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุดฯ

การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม ๑ ความมีบุญที่ได้ทำไว้ในกาลก่อน ๑ การวางตัวเหมาะสมชอบธรรม๑ ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นมงคลสูงสุดฯ

ความเป็นผู้มีการศึกษาเล่าเรียนมาก ๑ ความเป็นผู้มีศิลปวิทยา ๑ ความเป็นผู้มีระเบียบวินัยที่ได้รับการอบรมมาดี ๑ การพูดจาปราศรัยดี ๑ ทั้ง ๔ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุดฯ

การเลี้ยงดูบิดามารดา ๑ การสงเคราะห์บุตร ๑ การสงเคราะห์ภรรยา ๑ การทำงานไม่คั่งค้าง ๑ ทั้ง ๔ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุดฯ

การให้ทาน ๑ การประพฤติตามหลักธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ การทำงานที่ปราศจากโทษ ๑ ทั้ง ๔ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุดฯ

การงดเว้นจากความชั่ว ๑ การบังคับตนจากการดื่มน้ําเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุดฯ

การมีความเคารพ ๑ การทีความอ่อนน้อมถ่อมตน ๑ การมีความสันโดษ ๑ การมีความกตัญญู ๑ การฟังธรรมตามกาล ๑ ทั้ง ๕ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุด

ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ๑ การพบเห็นสมณะ ๑ การสนทนาธรรมตามกาล ๑ ทั้ง ๔ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุดฯ

การมีความเพียรเป็นเครื่องแผดเผากิเลส ๑ การประพฤติพรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ การทําพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ทั้ง ๔ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุดฯ

ผู้มีจิตถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว ๑ จิตไม่มีความโศกเศร้า ๑ จิตหมดธุลีกิเลส ๑ จิตถึงความปลอดโปร่ง คือปลอดจากกิเลสทั้งปวง ๑ ทั้ง๔ ประการนี้เป็นมงคลสูงสุดฯ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันปฏิบัติตามมงคลอันเป็นเหตุนำไปสู่ความเจริญนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นมงคลสูงสุดของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายฯ

ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

โพชฌังคปริตร : หายจากโรคภัย สุขภาพดีรับปีใหม่

พชฌงคปริตร : ปริตรแห่งองค์คุณเพื่อการตรัสรู้

เพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวรรค

ตำนานและอานุภาพการป้องกัน

 พิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปี ที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปี ที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

โพชฌงคปริตร เป็นปริตรที่โบราณจารย์ นำเอาโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ สูตร คือ มหากัสสปโพชฌงคสูตร มหาโมคคัลลานโพชฌงคสูตร มหาจุนทโพชฌงคสูตร มาประพันธ์เป็นคาถาเรียกว่า โพชฌงคปริตร โดยน้อมเป็นสัจกริยาเพื่อให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เกิดเป็นความสุขสวัสดี

เนื้อความในโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ สูตรนั้น กล่าวถึงองค์คุณแห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗.อุเบกขา ความวางเฉย

ความเป็นมาของพระสูตรทั้ง ๓ ปรากฏใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวรรค

านุภาพกาารป้องกัน

โพชฌงคสูตรทั้ง ๓ นี้ โบราณาจารย์ได้นำมาประพันธ์เป็นคาถาสำหรับเจริญภาวนา โดยน้อมเป็นสัจกิริยา เพื่อให้พระปริตรเป็นธรรมโอสถ บังเกิดพุทธานุภาพขจัดโรคภัยไข้เจ็บให้อันตรธานไป เกิดเป็นความสุขสวัสดี ภายหลังได้เกิดความนิยมว่า เมื่อเจ็บป่วยไม่สบายก็จะสวดโพชฌงคปริตร ซึ่งเป็นทั้งโอสถ เป็นทั้งพุทธมนต์

นอกจากนี้ เมื่อมีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเจ็บป่วยเป็นไข้หนักก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดโพชฌงคปริตรให้ฟัง หรือไม่ลูกหลานจะสวดให้ฟังก็ได้ แม้ในงานทำบุญอายุ พระสงฆ์ก็จะสวดพระปริตรบทนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและให้มีอายุยืน ผู้ไม่ต้องการเจ็บป่วย และปรารถนาความเป็นผู้มีอายุ โดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงควรเจริญโพชฌงคปริตรตามแบบอย่างพุทธสาวก

โพชฌงคปริตรนี้ ชาวบ้านจะนิมนต์พระสงฆ์สวดให้ฟังหรือจะให้ลูกหลานสวดให้ฟังก็ได้

ในบทขัดตำนานท่านได้ประพันธ์เป็น คาถาแสดงอานุภาพโพชฌงคปริตรไว้ดังนี้

สังสาเร สังสะรันตานัง สัพพะทุกขะวินาสะเน
สัตตะ ธัมเม จะ โพชฌังเค มาระเสนัปปะมัททิโน
พุชฌิตวา เยปิเม สัตตา ติภะวามุตตะกุตตะมา
อะชาติง อะชะราพยาธิง อะมะตัง นิพภะยัง คะตา
เอวะมาทิคุณเปตัง อะเนกะคุณะสังคะหัง
โอสะถัญจะ อิมัง มันตัง โพชฌังคันตัมภะณามะ เห ฯ

คำแปล

“สัตว์ทั้งหลายตรัสรู้ โพชฌงค์ คือ ธรรม ๗ ประการนี้ใด อันเป็นเครื่องบำบัดทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ เป็นธรรมที่กำจัดมารและเสนามาร จึงเป็นผู้พ้นแล้วอย่างยอดเยี่ยมจากภพทั้ง ๓ ถึงพระนิพพาน อันไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่มีภัย เราทั้งหลายจงสวดโพชฌงค์นั้น อันประกอบด้วยคุณตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นทั้งโอสถและเป็นทั้งมนต์ เป็นที่รวมแห่งสรรพคุณเป็นเอนก เทอญฯ”

จากหนังสือ "พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม  โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม)  พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน
จากหนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม
โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม)
พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน

พชฌงคปริตร

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปต๎วานะ สาทะรัง
สัมโมทิต๎วา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

คำแปล

โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗.อุเบกขา ความวางเฉย เหล่านี้เป็นธรรมที่พระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว บุคคล อบรมฝึกฝนให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อพระนิพพาน ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อฯ

สมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลานะ และพระกัสสปะเป็นไข้ ได้ความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองต่างชื่นชมยินดีพระธรรมเทศนานั้น แล้วกลับหายจากโรคทันที ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อฯ

ครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเองทรงประชวรไข้ รับสั่งให้พระจุนทะเถระกล่าวโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นถวายโดยเคารพ ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากประชวรนั้นแท้จริง ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ ฯ

แท้จริงแล้ว อาพาธเหล่านั้นของท่านผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ อันตรธานไปไม่กลับเป็นอีก เหมือนอริยมรรคกำจัดกิเลสลงราบแล้ว ไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อฯ

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ที่ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ขอขอบคุณ ภาพจากวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ที่ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ขอขอบคุณ ภาพจากวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

บทพุทธชัยมงคลคาถา (ชนะอุปสรรคทั้งปวง พบความสำเร็จในปีใหม่)

พุทธชัยมังคลคาถา เพื่อประสบชัยชนะในที่ทุกสถาน

คาถาประพันธ์ของบุรพาจารย์

หนังสือ "พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม   โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม)   พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน
หนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม
โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม)
พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน

ตำนานและอานุภาพการป้องกัน

พุทธชัยมังคลคาถา เป็นคาถาที่พรรณาถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ประสบชัยชนะ ผ่านพ้นอุปสรรคครั้งสำคัญไปด้วยดี ด้วยวิธีของพระองค์ โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อและความเจ็บปวดแต่ประการใด

พุทธชัยมงคลคาถา หรือ คาถาพาหุง เป็นคาถาว่าด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ที่มีต่อพญามาร หรือพญาวสวัตตีมาราธิราช ผู้ครอบครองสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวตี ที่นำเหล่าเสนามารมาผจญ ขณะที่พระองค์ประทับนั่งบนบัลลังก์ ณ ควงต้นโพธิ์ ก่อนการตรัสรู้ ด้วยธรรมวิธี คือ วิธีการทางธรรม มีการระลึกถึงทานบารมีที่ได้บำเพ็ญมาเป็นต้น จนประสบชัยชนะ

ทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้เหี้ยมโหดฆ่าคนไม่เลือกหน้า สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวเมืองอาฬวีจนไม่เป็นอันทำมาหากิน พระองค์ทรงชนะด้วยขันติวิธี

ทรงชนะช้างนาฬาคีรีซึ่งตกมันดุร้ายยิ่งนัก ที่พระเทวทัตให้ควาญช้างปล่อยมาทำร้ายพระองค์ด้วยเมตตาธรรม คือการแผ่เมตตา

ทรงชนะโจรองคุลิมาลที่เที่ยวเข่นฆ่าผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก แล้วตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นมาลัย พระองค์ทรงชนะด้วยฤทธานุภาพ คือ การอธิษฐานฤทธิ์ทางใจ

ทรงชนะนางจิญจมานวิกาที่ใส่ความพระองค์ ด้วยการวางตัวอย่างสงบนิ่งน่าเคารพ ไม่ทรงแสดงอาการสะทกสะท้านประหวั่นพรั่นพรึงข้อกล่าวหาอันไม่เป็นจริง

ทรงชนะสัจจกนิครนถ์ผู้มีทิฐิกล้า ดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่นว่าโง่กว่าตน ด้วยวิธีทางปัญญา

ทรงชนะนันโทปนันทนาคราชที่มีนิสัยดุร้าย เพราะคิดว่าตนเองมีฤทธิ์มากไม่มีใครสามารถสู้ได้ ด้วยวิธีใช้ฤทธิ์ต้านฤทธิ์

และทรงชนะท้ามมหาพรหม ผู้เต็มไปด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าตนมีญาณแก่กล้า พระพุทธองค์ทรงชนะท้าวมหาพรหมด้วยวิธีใช้ญาณที่กว้างขวางกว่าต้านญาณท้าวมหาพรหม

บุรพาจารย์ได้นำเอาเหตุการณ์ที่สำคัญทั้ง ๘ นี้ มาประพันธ์เป็นคาถาชื่อ “พุทธชัยมังคลคาถา” หรือ “คาถาพาหุง” เพื่อให้เกิดเป็นพุทธานุภาพในการประสบชัยชนะในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ สำหรับผู้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณ

อานุภาพการป้องกัน

การสวดพุทธชัยมังคลคาถาเป็นการน้อมเอาชัยชนะของพระพุทธองค์มาเป็นสัจกิริยา ทำให้ชีวิตประสบชัยชนะในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ผ่านพ้นปัญหา อุปสรรคและภยันตรายต่างๆ ไปได้ด้วยดี นอกจากนั้น ยังถือว่าเป็นคาถาที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในกิจการหน้าที่การงาน และสิ่งปรารถนาทุกประการ

พุทธชัยมังคลคาถานี้ คนไทยโดยทั่วไปเรียกกันจนติดปากมาตั้งแต่โบราณกาลว่า “คาถาพาหุง” ตามคำขึ้นต้นของคาถา

ในตอนท้ายคาถา บุรพาจารย์ ได้ประพันธ์เป็นคาถาแสดงอานุภาพคาถาพาหุงไว้ว่า

“นรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี น้อมระลึกถึงก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บท นี้เป็นประจำทุกวัน นรชนนั้นจะพึงได้ล่วงได้เสียซึ่งอุบัติเหตุทั้งหลายทั้งปวง จะเป็นผู้มีปัญญาและถึงซึ่งความสุขพ้นทุกข์ภัยทั้งหลาย”

พุทธชัยมังคลคาถา

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ค๎รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

กัต๎วานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิต๎วานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ

คำแปล

พญามารเนรมิตรแขนตั้งพัน ถืออาวุธครบมือขี่ช้างคลีเมขล์สะพรึบพร้อมด้วยพลมาร โห่ร้องกึกก้องน่าสะพรึงกลัว เข้ามาผจญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงชนะพญามารด้วยวิธีทางธรรม มีทานบารมีเป็นต้น ด้วยเดชานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีที่ได้ทรงชนะพญามารนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ฯ

อาฬวกยักษ์ผู้ดุร้าย หยาบช้า เหี้ยมโหดต่อคนไม่เลือกหน้า ได้เข้ามารุกรานราวีพระพุทธองค์ตลอดทั้งคืน หนักเสียยิ่งกว่าครั้งผจญพญามาร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชนะอาฬวกยักษ์ ด้วยวิธีทรมานที่ดี คือ ขันติธรรม ด้วยเดชานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีที่ได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์นั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านฯ

พญาช้างนาฬาคิรีกำลังตกมันเต็มที่จึงดุร้ายมาก ร้องแปร๋แปร้นแล่นเข้ามาราวกับไฟป่าโหมไหม้ หรือไม่ก็เหมือนจักราวุธอันแรงร้ายราวสายฟ้าฟาด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชนะพญาช้างนาฬาคิรีด้วยวิธีรดด้วยน้ำคือเมตตา ด้วยเดชานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีที่ได้ทรงชนะพญาช้างนาฬาคิรีนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน ฯ

มหาโจรองคุลิมาล สันดานบาปหยาบช้า ทั้งฝีมือก็ยอดเยี่ยม ถือดาบเงื้อง้าวิ่งไล่ติดตามพระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีทรงชนะมหาโจรองคุลิมาลด้วยการบันดาลฤทธิ์ทางใจ ด้วยเดชานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี ที่ได้ทรงชนะมหาโจรองคุลีมาลนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านฯ

นางจินจมาณวิกา ทำมารยาเอาผ้าห่อไม้กลมผูกแนบไว้ที่ท้องแสร้งทำเหมือนหญิงท้องแก่ มาใส่ร้ายป้ายสีพระพุทธองค์ท่ามกลางชุมชน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชนะนางจินจมาณวิกา ด้วยวิธีสงบนิ่ง วางพระองค์สง่าผ่าเผย เหมือนดวงจันทร์ลอยเด่น ท่ามกลางฟากฟ้า ด้วยเดชานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีที่ได้พิชิตสัจจนิครนถ์นั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน ฯ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงชนะนันโทปนันทนาคราช ผู้มีฤทธิ์มาก แต่มีความหลงผิด ด้วยทะนงจิตจึงบังอาจสำแดงฤทธิ์แผ่พังพานกั้นฉนวนอากาศ ปิดทางพระพุทธองค์เสด็จ พระจอมมุนีโปรดให้พระมหาโมคคัลลานะ ผู้เป็นพุทธบุตร เนรมิตรกายเป็นนาคราชไปทรมานด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ ต้านฤทธิ์จนได้รับชัยชนะสิ้นพยศ รู้ผิด รู้ชอบ ด้วยเดชานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีที่ได้ทรงชนะนันโทปนันทนาคราชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านฯ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงชนะพรหมชื่อ พกะ ผู้สำคัญตนว่ามีความบริสุทธิ์ มีรัศมีเรืองอำนาจ และมีฤทธิ์ไม่มีใครยิ่งกว่า เลยเกิดความเห็นผิดไปว่า ชีวิตของพรหมเป็นชีวิตที่เป็นอมตะจึงโต้แย้งคำสอนของพระพุทธองค์ เปรียบเหมือนคนถูกงูกัดที่มือ พระจอมมุนีทรงใช้วิธีแสดงพระญาณครอบพระญาณให้กว้างกว่า ทำให้พรหมหมดความเห็นผิดจึงได้รับชัยชนะ ด้วยเดชานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีที่ได้ทรงชนะพรหมชื่อพกะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านฯ

นรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี น้อมระลึกถึงก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้เป็นประจำทุกวันๆ นรชนนั้นจะพึงได้ล่วงได้เสียซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลายทั้งปวง จะเป็นผู้มีปัญญาและถึงซึ่งความสุขพ้นทุกข์ภัยทั้งหลายฯ

ปกหลัง หนังสือ "พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์" เรียนรู้พุทธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร)
ปกหลัง หนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์” เรียนรู้พุทธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร)

ความเป็นมา และอานุภาพ”มงคลสูตร ,โพชฌังคปริตร และพุทธชัยมงคลคาถา” ๓ พระพุทธมนต์แห่งความเป็นสิริมงคลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

จากหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร (ฉบับธรรมทาน) และหนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์” เรียนรู้พุทธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร)

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ในขณะนั้น กับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ในขณะนั้น กับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here