เปลี่ยนคู่บาป เป็นคู่บุญ โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย เรื่อง และ ภาพ
เปลี่ยนคู่บาป เป็นคู่บุญ โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย เรื่อง และ ภาพ

เปลี่ยนคู่บาปเป็นคู่บุญ

 โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย เรื่อง และ ภาพ

         ปัญหาของคู่รักที่เปลี่ยนมาเป็นคู่รก หรือ คู่รบ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในยุคนี้ มันเป็นมาตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นแล้วในโลก เพราะมนุษย์ไม่ได้มากับกายอย่างเดียว แต่มากับจิตใจด้วย อีกทั้งเป็นจิตใจที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหาอีกต่างหาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการแย่งชิงผู้หญิงผู้ชาย แย่งชิงที่อยู่อาศัย แย่งชิงพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งอาหาร และการสะสม เพราะการแย่งชิงนี้ทำให้มนุษย์ไม่มีวันสงบสุข จากพื้นฐานของการแย่งชิง ทำให้ก่อเวรกรรมไม่สิ้นสุด ซึ่งเวรกรรมทั้หมด เรื่องการแย่งคู่ และเรื่องความรักเป็นเรื่องใหญ่มากๆ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ลักษณะของคู่สามีภรรยามี ๔ แบบ คือ ๑. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี ๒. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา ๓. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี ๔. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา

จึงจำเป็นที่ต้องมีหลักธรรมเพื่อป้องกันหายภัยที่จะเกิดขึ้นได้กับชีวิต ทรัพย์สินและครอบครัว พระองค์ตรัสหลักธรรมสำหรับคู่สามีภรรยา ไว้ ๔ ประการ เรียกว่า ฆราวาสธรรม ๔  หมายถึง  ธรรมสำหรับฆราวาส ธรรมสำหรับการครองเรือน หลักธรรมครองชีวิตของคฤหัสถ์ มีดังนี้ ๑. สัจจะ  หมายถึง  ความจริง  ซื่อสัตย์ ๒. ทมะ หมายถึง การข่มใจ การฝึกฝน ๓. ขันติ  หมายถึง ความอดทน ๔. จาคะ หมายถึง การบริจาค ความเสียสละ

หากได้ศึกษากันตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงาน เชื่อว่า ความรักจะนำไปสู่ความเข้าใจ เป็นมิตรกัน รวมไปถึงการสร้างครอบครัวให้เป็นสุข สงบ แต่ปัญหาที่เกิดกับคู่รักในปัจจุบัน เพราะขาดธรรมะสี่ข้อนี้เอง สำหรับเหตุการณ์ที่ทำให้คู่รักขาดความซื่อสัตย์ต่อกันมีหลายเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยหนึ่งก็คือไม่ประพฤติตนตั้งอยู่ในศีล ๕ ทำให้อดใจไม่ไหว เบื่อ ไม่ไว้ใจกัน ก็เลยการประพฤตินอกใจกัน  ไม่จริงใจต่อกัน แอบมีกิ๊กเป็นชู้ชายสาว ทำให้ไม่ปฏิบัติตนต่อหลักธรรมของการครองเรือน จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ภายในครอบครัวและสังคม  

ดังเช่น สองกรณีที่จะเล่าเป็นตัวอย่าง เช่นเรื่อง  การขาดความซื่อสัตย์ในยุคปัจจุบัน เมื่อหนุ่มฆ่าปิดปากกิ๊กสาว เพราะกลัวเอาเรื่องนอกใจไปบอกเมีย   โดยมีเนื้อความสรุปว่า ผู้ต้องหารายนี้สารภาพว่าได้ลงมือไปรับผู้ตายที่บ้านพัก ก่อนมาเปิดรีสอร์ทห่างจากจุดที่รับประมาณ ๔  กิโลเมตร แต่มีปากเสียงกันเมื่อผู้ตายบอกว่าจะไปบอกภรรยาของตน ว่าทั้งสองมีความสัมพันธ์ชู้สาว จึงลงมือบีบคอผู้ตายจนขาดใจตายก่อนโทรศัพท์ให้เพื่อนช่วยกันนำศพไปทิ้งบริเวณที่เปลี่ยว พร้อมนำทรัพย์ของผู้ตายไปขายแบ่งเงินกันแล้วหลบหนีไปกบดาน ส่วนสาเหตุจูงใจคนร้ายสารภาพว่ากระทำไปเพราะความโกรธที่ผู้ตายข่มขู่ที่จะเปิดเผยความสัมพันธ์ให้ภรรยาของตนรู้ผ่านทางโซเชียล จึงลงมือฆาตกรรมเพื่อจบปัญหา

อีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการซื่อสัตย์ในพระสุตตันปิฎก เรื่องมีอยู่ว่า คู่สามีภรรยามีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน วางใจซึ่งกันและกัน จงรักภักดีต่อกัน  ไม่ประพฤตินอกใจกัน  การครองชีวิตครอบครัวจึงเรียกว่า  เป็นคู่ครองที่ประเสริฐหรือเป็นคู่สามีภรรยาที่ดี  เช่น  กรณีตัวอย่าง ในพระสูตรเรื่อง  มหามงคลสูตร  ว่าด้วยมหามงคล  พระโพธิสัตว์ได้กล่าวกับลูกศิษย์ว่า

           “ผู้ใดมีภรรยา ซึ่งมีวัยเท่า ๆ กัน สามัคคีกัน คล้อยตามกัน เป็นผู้ใคร่ตาม ให้กำเนิดลูกได้ เป็นหญิงมีสกุล มีศีล มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อสามี บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการประพฤตินั้นในภรรยาทั้งหลายว่า เป็นความสวัสดีของผู้นั้น”

           หากคู่สามีภรรยาปฏิบัติตามหลักธรรมของการครองเรือน ชื่อว่า ฆราวาสธรรม  จะต้องยึดมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยาและภรรยาต่อสามีโดยเฉพาะการไม่ประพฤตินอกใจกัน ซึ่งเป็นข้อที่เหมือนกัน  และชีวิตคู่ให้มีศีล มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อกัน สามัคคีกัน  คล้อยตามกัน เข้าใจกัน  มีบุตรไว้สืบสกุลแล้ว จึงจะทำให้ครอบครัวมีความสุข เพราะอาศัยความซื่อสัตย์ต่อกันและกันระหว่างสามีภรรยา ชีวิตคู่ของครอบครัวจะได้สมบูรณ์แบบตามหลักฆราวาสธรรม

           จะเห็นได้ว่า  แนวทางการสร้างความซื่อสัตย์ต่อคู่สามีภรรยาตามแบบฆราวาสธรรม ๔ นี้เป็นหลักประกันการใช้ชีวิตคู่ของครอบครัวไม่ให้แตกแยกหรือหย่าร้างกัน สามีภรรยามีความซื่อสัตย์หรือความจริงใจปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรม ๔  ประการ  ขออธิบายลงรายละเอียดได้แก่

๑. สัจจะ  คือ ความซื่อสัตย์  จริงใจ  สามีภรรยาจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกันด้วยการแสดงออกทั้ง ๓ ทาง  ได้แก่  ๑.ทางกาย การกระทำทางกาย เรียกว่า  ทำจริง ๒. ทางวาจา การพูดจา  เรียกว่า  พูดจริง  และ ๓. ทางใจ  การคิดถูกต้อง  เรียกว่า จริงใจ

          ๒. ทมะ คือ  ความฝึกฝน  ข่มใจ  ปรับตัว  สามีภรรยาจักต้องรู้จักฝึกฝนปรับตัวเข้าหากันและไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ซึ่งมีโทษของการดื่มสุราและของมึนเมา และโทษของการเที่ยวกลางคืน  นำมาซึ่งความเดือดร้อน  ความเสียหายมาให้แก่ตนเอง  และครอบครัว 

                  ๓. ขันติ  คือ  ความอดทนอดกลั้น สามีภรรยาต้องตั้งตนอยู่ในความอดทนกับการปรับตัวเข้าหากันกับญาติบิดามารดาทั้งสองฝ่ายและอดทนต่อหน้าที่การงานต้องรับผิดชอบของตนเพื่อให้ครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขราบรื่น 

                   ๔. จาคะ  คือ  การบริจาคสิ่งของกินและของใช้สอย ความเสียสละสิ่งของที่ไม่ดีออกไปจากตัว  สามีภรรยาจะต้องรู้จักการเสียสละความตระหนี่ให้ทาน  แบ่งปันสิ่งของใช้สอยให้แก่ญาติและบุคคลอื่น  หรือเสียสละความเห็นแก่ตัวละนิสัยที่เลวที่ไม่ดีออกไป  ไม่เอารัดเอาเปรียบกันและกัน  ดังคำสุภาษิตว่า “ผู้ให้  ย่อมเป็นที่รัก

พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย
พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย ผู้เขียน เรื่องและภาพประกอบ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here