"ความเป็นมาของพระอภิธรรม (ตอนที่ ๘) พระธรรมที่ว่าด้วยสภาวธรรมล้วนๆ" จากคอลัมน์ ธรรมโอสถ เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๒ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙
“ความเป็นมาของพระอภิธรรม (ตอนที่ ๘) พระธรรมที่ว่าด้วยสภาวธรรมล้วนๆ” จากคอลัมน์ ธรรมโอสถ เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๒ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙

เข้าพรรษา

กับ “ความเป็นมาของพระอภิธรรม”

(บทที่ ๗)

คัมภีร์ที่ ๒ วิภังค์

: คัมภีร์ที่จำแนกหัวข้อแห่งปรมัตถธรรม

เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ความเป็นมาของพระอภิธรรม" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ฉบับธรรมทาน

คัมภีร์ที่ ๒ วิภังค์

คัมภีร์ที่จำแนกหัวข้อแห่งปรมัตถธรรรม

พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ คัมภีร์แรก คือ ธัมมสังคณี ตามที่ได้อธิบายไปแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงตั้งเป็นหัวข้อธรรมเอาไว้ก่อน จากนั้น จึงทรงยกแต่ละหัวข้อมาอธิบายเป็นข้อๆ ทีหลัง ทั้งโดยย่อและโดยละเอียด แตกเนื้อความออกเป็นคัมภีร์อื่นๆ อีก ๖ คัมภีร์

ต่อไปจะพูดถึงวิภังค์ คัมภีร์ที่ ๒แห่งพระอภิธรรม

คำว่า “วิภังค์” แปลว่า อธิบายขยายความ จำแนก แจกแจง แยกประเภท แตกรายละเอียด เป็นการนำแม่บทในมาติกาซึ่งเป็นหัวข้อแห่งปรมัตถธรรมในธัมมสังคณีมาแตกหัวข้อย่อยลงไป อธิบายขยายความให้มีรายละเอียดกว้างขวางพิสดารยิ่งขึ้น

ที่จริง คัมภีร์พระอภิธรรมอื่นๆ ก็เป็นการอธิบายหัวข้อธรรมเหมือนกัน แต่ไม่เรียกคัมภีร์เหล่านั้นว่า “วิภังค์” เนื่องจากคัมภีร์เหล่านั้นได้อธิบายหัวข้อธรรมไว้บางนัยเท่านั้น ไม่ได้จำแนกหัวข้อธรรมโดยตรง ส่วนวิภังค์เป็นคัมภีร์จำแนกหัวข้อธรรมโดยตรง  โดยได้นำเอาหัวข้อติกมาติกา ๒๒ หัวข้อ และทุกมาติกา ๑๐๐ หัวข้อ ในธัมมสังคณีมาอธิบายไว้อย่างละเอียด ครบถ้วนทุกนัย แยกประเภทออกเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และสัจจะ เป็นต้น แล้วจัดลำดับการอธิบายความไว้ทั้ง ๓ นัย คือ อธิบายตามนัยแห่งพระสูตร  เรียกว่า “สุตตันตภาชนีย์”  อธิบายตามนัยแห่งพระอภิธรรม เรียกว่า  “อภิธรรมภาชนีย์”  และอธิบายตามนัยแห่งการตั้งปัญหาขึ้นถาม เรียกว่า “ปัญหาปุจฉกะ

ภาพประกอบโดย หมอนไม้
ภาพประกอบโดย หมอนไม้

สุตตันตภาชนีย์

อธิบายปรมัตถธรรมตามนัยแห่งพระสูตร

คำว่า สุตตันตภาชนีย์ หมายถึง การจำแนกธรรมหรืออธิบายธรรมตามนัยที่ทรงแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก การแสดงธรรมตามนัยแห่งพระสูตรนั้น จะดูอัธยาศัยของผู้ฟังแต่ละบุคคลเป็นหลัก แล้วเลือกหัวข้อธรรมแสดงให้ตรงกับอัธยาศัยของบุคคลนั้น

เป็นการแสดงธรรมให้สอดคล้องตามสถานการณ์ที่กำลังเป็นไปอยู่ในเวลานั้น โดยเลือกเฉพาะประเด็นที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจ ธรรมที่แสดงตามนัยพระสูตรจึงมีเนื้อความที่ฟังเข้าใจง่าย แต่เนื้อหาไม่ครอบคลุมทุกนัย และองค์ธรรมก็ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมุ่งให้ผู้ฟังเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้มุ่งอธิบายหัวข้อธรรมให้ละเอียด

ตัวอย่าง การอธิบายขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ตามนัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก เช่น รูปที่เป็นอดีต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ ( ดิน น้ำ ลม ไฟ ) และอุปาทายรูป ๒๔ ที่ล่วงไปแล้ว แปรไปแล้ว ดับไปแล้ว รูปที่เป็นอนาคต ที่ยังไม่เกิดขึ้น และรูปที่เป็นปัจจุบัน ที่กำลังเกิดอยู่

เวทนาที่เป็นอดีต ได้แก่ สุขเวทนา(ความรู้สึกที่เป็นสุข) ทุกขเวทนา(ความรู้สึกที่เป็นทุกข์) และอทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกที่กลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์) ที่ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว เวทนาที่เป็นอนาคต ที่ยังไม่เกิด และเวทนาที่เป็นปัจจุบัน ที่กำลังเกิด เป็นต้น

ภาพประกอบโดย หมอนไม้
ภาพประกอบโดย หมอนไม้

อภิธรรมภาชนีย์

อธิบายปรมัตถธรรมตามนัยแห่งพระอภิธรรม

คำว่า อภิธรรมภาชนีย์ หมายถึง การจำแนกธรรมหรืออธิบายธรรมตามนัยแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงอัธยาศัยของผู้ฟัง ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์ หรือสถานที่ แต่มุ่งแสดงองค์ธรรมตามสภาวธรรมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ด้วยนัยต่างๆ โดยการประมวลสภาวธรรมที่มีอยู่ทั่วทั้งอนันตจักรวาลมารวมไว้ แล้วทรงแสดงตามกำลังพระสัพพัญญุตญาณ คือ ความรู้แห่งพระสัพพัญญุตญาณมีเท่าไหร่ ก็นำความรู้นั้นๆ มาประมวลไว้ ไม่คำนึงถึงว่าผู้ฟังจะเข้าใจหรือไม่ แต่มุ่งอธิบายให้เห็นสภาวธรรมครบทุกด้าน

ตัวอย่าง การอธิบายขันธ์ ๕ ตามนัยที่ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรม พระพุทธองค์ทรงจำแนกขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อตามนัยพระอภิธรรมคือรูปเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นเจตสิก และวิญญาณเป็นจิต) โดยนำเอาติกมาติกาและทุกมาติกาในธัมมสังคณีมาเป็นบทตั้งแล้วสับเปลี่ยนเวียนไปเป็นวาระจนจบรอบ

เช่น จำแนกรูปขันธ์ (รูป) ตามอภิธรรมภาชนียนัย ตั้งแต่นัยที่มีหมวดธรรม ๑ อย่าง (เอกกนัย) จนถึงนัยที่มีหมวดธรรม ๑๑ อย่าง (เอกาทสกนัย) เมื่อนับรูปธรรมตั้งแต่นัยหมวด ๑ ถึงหมวด ๑๑ แล้ว จะได้รูปธรรมทั้งหมด ๗๐๔ อย่าง และจำแนกนามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แสดงด้วยวาร ๔ อย่าง คือ

๑. ทุกมูลกวาร วารที่ทรงเอาทุกะ(ธรรมหมวดละ ๒ หัวข้อ) เป็นบทตั้งแล้วเวียนด้วยติกะ(ธรรมหมวดละ ๓ หัวข้อ)ไปจนครบ

๒. ติกมูลวาร วารที่ทรงเอาติกะเป็นบทตั้ง แล้วเวียนด้วยทุกะไปจนครบ

๓. อุภโตวัฑฒกวาร วารที่แสดงโดยรวมเอาหัวข้อทั้งสอง คือ ทั้งติกะและทุกะมาตั้งเป็นคู่กัน แล้วจำแนกให้พิสดาร

๔. พหุวิธวาร วารที่ทรงแสดงด้วยวิธีที่หลากหลายนัยควบคู่กันไป

การจำแนกธรรมเวียนไปโดยนัยทั้ง ๔ นี้ เป็นการจำแนกธรรมมีนัยที่หลากหลายนับไม่ถ้วน พระอภิธรรมจึงชื่อว่ามีนัยไม่สิ้นสุด

ความแตกต่างระหว่างการอธิบายธรรมตามนัยแห่งพระสูตรกับพระอภิธรรม คือ การอธิบายธรรมตามนัยแห่งพระสูตรนั้น มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจธรรมเป็นหลัก ส่วนการอธิบายธรรมนัยพระอภิธรรม มุ่งอธิบายรายละเอียดแห่งสภาวธรรม เป็นการอธิบายให้เห็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของขันธ์อย่างละเอียด เป็นหลัก

ภาพประกอบโดย หมอนไม้
ภาพประกอบโดย หมอนไม้

ปัญหาปุจฉกะ

อธิบายปรมัตถธรรมตามนัยแห่งการตั้งปัญหาขึ้นถาม

คำว่า ปัญหาปุจฉกะ  หมายถึง นัยที่แสดงโดยการนำหัวข้อธรรมในมาติกาจากคัมภีร์ธัมมสังคณีมาตั้งเป็นคำถามคำตอบ จำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามประเภท เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ และสัจจะ เป็นต้น

วิธีอธิบายแบบการตั้งปัญหาขึ้นถามตอบ ที่เรียกว่าปัญหาปุจฉกนัยนี้ เป็นการอธิบายที่มีนัยกว้างขวาง พิสดาร และสมบูรณ์ที่สุด เก็บรายละเอียดได้มากกว่าการอธิบายแบบสุตตันตภาชนีย์และอภิธรรมภาชนีย์ เพราะสามารถตั้งคำถามเจาะเข้าไปเป็นเรื่องๆ จนถึงแก่นได้

พระพุทธองค์ทรงใช้ปัญหาปุจฉกนัยนี้ เป็นหนึ่งในวิธีอธิบายหัวข้อธรรม โดยจำลองสถานการณ์ผู้ถามและผู้ตอบขึ้นมาถามตอบกัน สงสัยเรื่องใด ก็ตั้งปัญหาขึ้นถาม แล้วตอบคำถามไปตามเรื่องที่สงสัยนั้นๆ

ในปัญหาปุจฉกนัยแห่งขันธวิภังค์ ทรงยกขันธ์ ๕ ขึ้นถามขยายความไปตามติกมาติกาปุจฉา และทุกมาติกปุจฉา ในคัมภีร์ธัมมสังคณี

ตัวอย่างการอธิบายขันธ์ ๕ ด้วยการตั้งคำถามตามนัยที่แสดงไว้ในปัญหาปุจฉกะ เช่น

ถามว่า: บรรดาขันธ์ ๕ นั้น ขันธ์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ  เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ตอบว่า: รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต ขันธ์ ๕ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

ในการตั้งปัญหาขึ้นถามตอบนี้ บรรดาองค์ธรรมของกุสลติกะนั้น รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ เวทนาเจตสิกที่ประกอบกับกุศลจิต อกุศลจิต อัพยากตจิต เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกที่ประกอบกับกุศลจิต อกุศลจิต อัพยากตจิต เป็นสัญญาขันธ์  เจตสิก ๕๐ ที่เหลือซึ่งประกอบกับกุศลจิต อกุศลจิต อัพยากตจิต เป็นสังขารขันธ์

จิต คือ กุศลจิต อกุศลจิต อัพยากตจิต เป็นวิญญาณขันธ์

พระนิพพานเป็นอัพยากตบท เรียกว่า “ขันธวิมุติ” เพราะไม่มีประเภทแห่งกาล พ้นแล้วจากขันธ์ทั้งปวง เป็นต้น

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร)

(โปรดติดตามตอนต่อไป “ธัมมหทัย : หัวใจแห่งธรรม เนื้อหาหลักของคัมภีร์วิภังค์” )

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ความเป็นมาของพระอภิธรรม" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ฉบับธรรมทาน

คำชี้แจง

คัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกเป็นหนึ่งในคัมภีร์พระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยเนื้อหานั้นแบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกว่า สัตตัปปกรณ์ ประกอบด้วย ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐานโดยเนื้อหาสำคัญนั้น แสดงถึงสัจจะ คือ ความจริงแบบปรมัตถสัจจะโดยแยกเป็นเรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน และแสดงลักษณะภาษาหรือคำบัญญัติในแบบของสมมติสัจจะ

ส่วนการเข้าใจเนื้อหาพระอภิธรรมปิฎกนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายและเป็นไปตามยุคตามสมัย ถ้าในสภาพความเป็นอยู่แบบชาวบ้านที่หาเลี้ยงชีพ คงต้องการเพียงหลักธรรมที่พอปฏิบัติได้ เหมาะสมสำหรับชีวิตประจำวัน หรือสร้างความสงบสุขให้กับครอบครัวและสังคมเท่านั้น

ดังเนื้อความในสิงคาลกสูตรที่สอนเรื่องการทำหน้าที่ต่อคนอื่นรอบตัวเรา ในกูฎทันตสูตรก็สอนวิธีการระงับยับยั้งอาชญากรรมด้วยการให้ประชาชนได้เรียนรู้สัมมาชีพ รู้จักความซื่อสัตย์สุจริต และยังมีคำสอนอีกมากที่เน้นให้คนทั่วไปได้มีความสุขจากการมีทรัพย์ ใช้จ่ายทรัพย์ ไม่มีหนี้ และการงานไม่มีโทษ รวมถึงความสุขที่เหมาะสมกับชาวบ้าน ในเรื่องความขยันหาทรัพย์ รักษาทรัพย์ คบเพื่อนดี และเลี้ยงชีวิตที่เหมาะสม เป็นต้น

สมัยนั้นธรรมะในการดำเนินชีวิตแบบนี้จึงเหมาะสมและเป็นเรื่องง่ายที่คนที่เป็นชาวบ้านจะเข้าใจได้และปฎิบัติได้จริง

แต่เนื้อหาของพระอภิธรรมนั้นถูกจัดไว้ในหมวดปรมัตถธรรมซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้มีสติปัญญา ผู้สั่งสมภูมิธรรมมาพอสมควรจึงจะช่วยชี้แนะแจกแจงให้คนทั่วไปได้รับทราบรายละเอียดที่ลึกซึ้ง เพราะคงยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจหรือสนใจเรียนรู้ ถ้าเขาเหล่านั้นยังต้องทำงานหนักเพื่อหาเลี้ยงชีพไปวันๆ จึงเป็นความปรารถนาดีกอปรด้วยกุศล เปี่ยมล้นไปด้วยภูมิปัญญา เหล่านักปราชญ์จึงได้นำพาพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโปรดพระพุทธมารดา ท่ามกลางทวยเทพจากหมื่นจักรวาลบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มาใช้ในพิธีกรรมการสวดศพจนกระทั่งทุกวันนี้

ถ้าจะบอกว่าพระอภิธรรมนั้นเหมาะสมกับใครแล้ว ก็คงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังจะละทิ้งร่างกายหยาบทุกท่าน โดยมองเสียใหม่ว่าทุกอย่างเป็นแต่เพียงธาตุ

เมื่อทุกอย่างถูกแยกออกจากกันจะไม่มีความเป็นใครหรืออะไรให้เรายึดมั่นถือมั่นได้เลย มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป โดยคำสอนเหล่านี้คงไม่มีช่วงไหนจะเหมาะที่จะนำมาชี้แจงเท่ากับตอนที่ทุกคนกำลังพบเจอกับความตายอันเกิดขึ้นกับคนที่เรารู้จักอย่างแน่นอน

เหมือนเมื่อครั้งอนาถปิณฑกเศรษฐีผู้นอนป่วยซมใกล้จะสิ้นชีวาพอได้ฟังปรมัตถธรรมแล้วก็ถึงกับเอ่ยปากกับพระสารีบุตรว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ขอธรรมกถาเห็นปานนี้ จงแจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุลีในดวงตาน้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ”

การกล่าวสอนและแสดงธรรมแก่คนใกล้ตายหรือคนที่เสียใจในการจากไปของคนรัก จึงมีการปรารภถึงปรมัตถธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนากันต่อๆ กันมา

ผู้เขียนได้อ่านและทบทวนเนื้อหาของหนังสือเรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” ของเจ้าคุณอาจารย์พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด  ญาณวชิโร) ที่ผสมผสานระหว่างเนื้อหาที่เข้าใจยาก ศัพท์บาลีที่ต้องขยายความ และการตีความที่ต้องละเอียดอ่อนแล้วรู้สึกว่าเรื่องนี้มีความลงตัวพอสมควร แม้ผู้ที่ไม่เคยอ่านหนังสืออภิธรรมมาก่อนก็อาจจะได้ลองศึกษาเรียนรู้ และสำหรับผู้ที่ผ่านหนังสืออภิธรรมมาบ้างแล้วก็จะได้ทบทวนเนื้อหาได้ชัดเจนและกว้างขวางยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ผู้เขียนต้องกราบขอบพระคุณเจ้าคุณอาจารย์ฯ ที่ได้เมตตาไว้ใจมอบต้นฉบับ และไว้ใจให้อ่านเนื้อหาและปรับเปลี่ยนภาษาบ้างตามความเหมาะสม ตลอดทั้งอนุโมทนากับโยมมนสิกุล โอวาทเภสัชช์ และโยมวันทนี เจริญวานิช ที่มาร่วมกันอีกแรงในการช่วยกันปรับ ช่วยกันแก้จนเป็นที่พอใจ จนกระทั่งต้นฉบับแล้วเสร็จ

พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี
พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี

“ความสำเร็จของการสร้างหนังสือ “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” ของเจ้าคุณอาจารย์พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เล่มนี้จะเป็นดังแสงสว่างอีกหนึ่งดวงให้กับผู้แสวงหาแสงสว่าง และช่วยต่อลมหายใจของพระพุทธศาสนาให้ยาวนานยิ่งขึ้น ด้วยตัวอักษรที่สื่อผ่านธรรมะเล่มนี้”

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ป.ธ.๙,ดร.ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ วัดสระเกศ

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ความเป็นมาของพระอภิธรรม" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ฉบับธรรมทาน
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ความเป็นมาของพระอภิธรรม
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ความเป็นมาของพระอภิธรรม

เข้าพรรษากับ “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” (บทที่ ๗) คัมภีร์ที่ ๒ วิภังค์ : คัมภีร์ที่จำแนกหัวข้อแห่งปรมัตถธรรม เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับธรรมทาน

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ความเป็นมาของพระอภิธรรม" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ฉบับธรรมทาน

คำปรารภ

หนังสือ “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เกิดขึ้นด้วยปรารภเหตุการณ์เฉพาะ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเนื้อหา ก่อนอ่านความเป็นมาของพระอภิธรรม

จึงขอทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า ความเป็นมาของพระอภิธรรม มีเนื้อความตรงตามชื่อ มุ่งบอกเล่าถึงความเป็นมาของพระอภิธรรม เพื่อประกอบการฟังสวดพระอภิธรรม เป็นสำคัญ มิใช่มุ่งการอธิบายข้อธรรมในคัมภีร์พระอภิธรรม เมื่อฟังสวดแล้ว จะได้รู้ถึงที่มาที่ไปของพระอภิธรรมที่พระบรมศาสดาทรงแสดง อันจะเป็นบุญเป็นกุศลเพิ่มขึ้นอีกโสตหนึ่งด้วย

ผู้ที่มีความสนใจข้อธรรมในพระอภิธรรมที่ละเอียดลงไป ก็สามารถศึกษาเพิ่มได้จากคัมภีร์พระอภิธรรม ซึ่งมีอยู่แล้วทั่วไป

เนื่องจากพระอภิธรรมมีความละเอียดประณีตยิ่ง มีนัยหลากหลาย ไม่สิ้นสุด บางกรณีจึงมีความจำเป็นต้องยกตัวอย่างวัตถุสิ่งของ และภาษาในสมัย เทียบเคียงให้เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อทำความเข้าใจเนื้อความแห่งพระอภิธรรม ที่มีความละเอียดยิ่งนั้น ให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น กรณีดังกล่าว มิใช่การนำข้อความเข้าไปปลอมปนในพระอภิธรรม เพราะมิได้มุ่งอธิบายข้อธรรมในพระอภิธรรม ดังกล่าวแล้ว หากแต่เห็นว่า การยกตัวอย่างวัตถุสิ่งของก็ดี การใช้ภาษาในสมัยก็ดี เป็นวิธีที่พอจะสื่อสารกับคนเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ทางศาสนาที่แตกต่างกัน หลากหลายกลุ่ม หลากหลายสถานะ

ความเป็นมาของพระอภิธรรม (๗) จากคอลัมน์ ธรรมโอสถ เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙
ความเป็นมาของพระอภิธรรม (๗) จากคอลัมน์ ธรรมโอสถ เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙

ด้วยห้วงเวลานั้น ทุกคนล้วนมีจิต ละเอียด เป็นหนึ่งเดียว จดจ่ออยู่กับท่วงทำนองแห่งพระอภิธรรมที่พระพิธีธรรมสวดถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

กาลนั้น จึงนับได้ว่า เป็นมงคลกาล เหมาะแก่การฟังธรรมที่ละเอียด

ขออนุโมทนาขอบคุณพระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙,ดร., คุณมนสิกุล โอวาทเภสัชช์ และคุณวันทนี เจริญวานิช ที่รับเป็นภาระธุระในการจัดพิมพ์ จนหนังสือสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ดีงาม เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น แผ่ไพศาลแห่งพระศาสนาของพระบรมศาสดา

พระราชกิจจาภรณ์

“ธรรมนิพนธ์ “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” (ตอนที่ ๘) พระธรรมที่ว่าด้วยสภาวธรรมล้วนๆ” จากคอลัมน์ ธรรมโอสถ เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๒ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here