ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)  จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

เข้าพรรษากับ “ความเป็นมาของพระอภิธรรม”

(บทที่ ๖)

มาติกา แม่บทแห่งปรมัตถธรรม

เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

“ความเป็นมาของพระอภิธรรม (๗) พระธรรมใหม่ในมาติกา แม่บทแห่งปรมัตถธรรม ” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จากคอลัมน์ "ธรรมโอสถ" นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙
“ความเป็นมาของพระอภิธรรม (๗) พระธรรมใหม่ในมาติกา แม่บทแห่งปรมัตถธรรม ” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จากคอลัมน์ “ธรรมโอสถ” นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙

“มาติกา” แม่บทแห่งปรมัตถธรรม

ต่อไปจะนำบทมาติกา ซึ่งเป็นแม่บทแห่งพระอภิธรรมทั้งหมดมาขยายความพอให้เห็นเป็นตัวอย่าง

มาติกานั้น ประกอบด้วย ประมวลหัวข้อธรรมที่แสดงปรมัตถธรรม หมวดละ ๓ หัวข้อ เรียกว่า “ติกมาติกา” และ ประมวลหัวข้อธรรมที่แสดงปรมัตถธรรม หมวดละ ๒ หัวข้อ เรียกว่า “ทุกมาติกา

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ปรมัตถธรรม  มาจาก ปรม+ อัตถ +ธรรม

ปรม หมายถึง สูงสุด ประเสริฐสุด

อัตถ หมายถึง ประโยชน์

และธรรม คือ ความจริง

เมื่อสามคำมารวมกันเป็น ปรมัตถธรรม จึงหมายถึง ความจริงอันมีพระนิพพานเป็นประโยชน์สูงสุด  รวมความหมายของทุกอย่างล้วนมีพระนิพพานเป็นเป้าหมาย

หัวข้อธรรมในทุกมาติกาแสดงปรมัตถธรรมไว้ โดยแบ่งเป็นหมวด เรียกว่า “โคจฉกะ เช่น เหตุโคจฉกะ แปลว่า หมวดว่าด้วยสภาวธรรมที่เป็นเหตุ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นต้น

ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีนโดย หมอนไม้

จูฬันตรทุกะ แปลว่า หมวดว่าด้วยสภาวธรรมตรงกันข้ามกัน

อาสวโคจฉกะ แปลว่า หมวดว่าด้วยกิเลสที่หมักหมมย้อมจิต

สัญโญชน์โคจฉกะ แปลว่า หมวดว่าด้วยกิเลสที่ผูกสัตว์เอาไว้ในภพ

คันถโคจฉกะ แปลว่า หมวดว่าด้วยกิเลสร้อยรัดสัตว์ไว้ในภพ

โอฆโคจฉกะ แปลว่า หมวดว่าด้วยกิเลสทำให้สัตว์จมอยู่ในวัฏฏะ คือ ให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด

โยคโคจฉกะ แปลว่า หมวดว่าด้วยกิเลสผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ

นิวรณโคจฉกะ แปลว่า หมวดว่าด้วยกิเลสขวางกั้นจิตจากความดี

หัวข้อธรรมในทุกมาติกานี้เองที่พระพิธีธรรมนำไปใช้เป็นบทสวดพระอภิธรรมในงานศพ

“กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา ฯลฯ

จุดมุ่งหมายก็เพื่อเป็นการบอกให้ประชาชนเข้าใจแก่นแท้ของชีวิตว่า

ที่สุดแล้วชีวิตเราก็มีเพียงรูปกับนาม

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

สำหรับมาติกาหัวข้อธรรมที่เป็นแม่บทแห่งปรมัตถธรรม หมวดละ ๓ หัวข้อ มี ๒๒ หัวข้อ อยู่ในบทสวดที่เรียกว่า “สวดมาติกา” ตามที่พระสวดในงานศพ ซึ่งขึ้นต้นว่า “กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา ฯลฯ นั่นเอง จุดมุ่งหมายก็เพื่อเป็นการบอกให้ประชาชนเข้าใจแก่นแท้ของชีวิตว่า ที่สุดแล้วชีวิตเราก็มีเพียงรูปกับนาม

โดยแม่บทแห่งมาติกาได้กระจายหัวข้อออกไป ดังนี้

๑. สภาวธรรม (ความเป็นจริง,อาการ) ที่เป็นกุศล สภาวธรรมที่เป็นอกุศล และสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต (อัพยากตธรรม-สภาวธรรมที่เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว หรือไม่ยินดียินร้าย)

๒. สภาวธรรมเนื่องอยู่กับเวทนา (คือ ความรู้สึกต่อสิ่งที่มากระทบ) ที่เป็นสุข สภาวธรรมเนื่องอยู่กับเวทนาที่เป็นทุกข์ และสภาวธรรมเนื่องอยู่กับเวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข์

๓. สภาวธรรมที่เป็นผล (วิบาก) สภาวธรรมที่เป็นเหตุ และสภาวธรรมที่ไม่เป็นทั้งผล ไม่เป็นทั้งเหตุ

๔. สภาวธรรมที่มีอุปาทาน (ความยึดมั่น) ทั้งเป็นที่ตั้งอุปาทาน สภาวธรรมที่ไม่มีอุปาทาน ทั้งไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

๕. สภาวธรรมที่เศร้าหมอง ทั้งเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง สภาวธรรมที่ไม่เศร้าหมองแต่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง และสภาวธรรมที่ไม่เศร้าหมองทั้งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง

๖. สภาวธรรมที่มีทั้งวิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร และสภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร

๗. สภาวธรรมที่ประกอบด้วยปีติ (ความเอิบอิ่มใจ) สภาวธรรมที่ประกอบด้วยความสุข และสภาวธรรมที่ประกอบด้วยอุเบกขา (ไม่มีทั้งปีติและสุข)

๘. สภาวธรรมที่ละได้ด้วยทัสสนะ (โสดาปัตติมรรค) สภาวธรรมที่ละได้ด้วยภาวนา (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค สภาวธรรมที่ละไม่ได้ทั้งด้วยทัสสนะและภาวนา)

๙. สภาวธรรมที่มีเหตุอันละได้ด้วยทัสสนะ (โสดาปัตติมรรค) สภาวธรรมที่มีเหตุอันละได้ด้วยภาวนา (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค) และสภาวธรรมที่มีเหตุอันละไม่ได้ทั้งด้วยทัสสนะและภาวนา (เหตุในที่นี้คือ สัมปยุตตเหตุ : ธรรมที่เกิดดับพร้อมกับเหตุ)

๑๐. สภาวธรรมที่มุ่งสั่งสมกิเลส สภาวธรรมที่ไม่มุ่งสั่งสมกิเลส และสภาวธรรมที่ไม่เป็นทั้งสองอย่างนั้น

๑๑. สภาวธรรมของพระอริยะผู้ไม่เป็นพระอรหันต์ (เสขธรรม) สภาวธรรมของพระอรหันต์ (อเสขธรรม) และสภาวธรรมที่ไม่เป็นทั้งสองอย่างนั้น

๑๒. สภาวธรรมอันเล็กน้อย (ระดับกามาวจร) สภาวธรรมอันกว้างใหญ่ (รูปฌาน-อรูปฌาน) และสภาวธรรมอันหาประมาณมิได้ (โลกุตตรธรรม)

๑๓. สภาวธรรมมีอารมณ์น้อย สภาวธรรมมีอารมณ์ใหญ่ สภาวธรรมมีอารมณ์อันหาประมาณมิได้

๑๔ สภาวธรรมชั้นต่ำ (อกุศลธรรม) สภาวธรรมชั้นกลาง (สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต คือจิตที่ไม่ยินดียินร้ายซึ่งยังมีอาสวะ) และสภาวธรรมชั้นสูง (สภาวธรรมอันประณีต คือ โลกุตตรธรรม

๑๕. สภาวธรรมฝ่ายชั่วที่ให้ผลแน่นอน (อนันตริยกรรม คือกรรมหนัก ได้แก่ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า ทำหมู่สงฆ์ให้แตกกัน) สภาวธรรมฝ่ายดีที่ให้ผลแน่นอน (อริยมรรค) และสภาวธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน

๑๖. สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุและสภาวธรรมที่มีมรรคเป็นใหญ่

๑๗. สภาวธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น และสภาวธรรมที่จักเกิด

๑๘. สภาวธรรมที่เป็นอดีต สภาวธรรมที่เป็นอนาคต และสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน

๑๙. สภาวธรรมที่มีอารมณ์เป็นอดีต สภาวธรรมที่มีอารมณ์เป็นอนาคต และสภาวธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน

๒๐. สภาวธรรมที่มีอยู่ภายใน สภาวธรรมที่มีอยู่ภายนอก และสภาวธรรมที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอก

๒๑. สภาวธรรมที่มีอารมณ์ภายใน สภาวธรรมที่มีอารมณ์ภายนอกและสภาวธรรมที่มีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก

๒๒. สภาวธรรมที่เห็นได้และสัมผัสได้ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และสัมผัสไม่ได้ สภาวธรรมที่ไม่ใช่ทั้งสองอย่างนั้น

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)   จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ในบรรดาพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ มาติกาหรือแม่บทแห่งปรมัตถธรรมทั้ง ๒๒ หัวข้อ ถูกรวบรวมไว้ในธัมมสังคณีนี้

“บางข้อก็หมายถึงสภาวธรรม

ซึ่งดำรงอยู่ตามธรรมชาติของสรรพสิ่ง

บางข้อก็หมายถึง

สภาวธรรมซึ่งดำรงอยู่ในรูปปรากฏการณ์ต่างๆ

บางข้อก็หมายถึง

หลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสภาวธรรมตามธรรมชาติ”


พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

พระพุทธองค์ทรงนำมาติกาไปแสดงขยายความไว้ในคัมภีร์อื่นๆ อีก ๖ คัมภีร์ กระจายเนื้อหาออกไปมีนัยนับไม่ถ้วน หากต้องการทราบว่า เรื่องของรูป(รูปธรรม) เรื่องของนาม(นามธรรม ได้แก่ จิต  เจตสิก  และนิพพาน) ประกอบด้วยอะไรบ้าง จิตและเจตสิกประกอบด้วยอะไรบ้าง จิตที่มีโลภะ โทสะ โมหะ มีลักษณะเป็นอย่างไร จิตที่เป็นบุญ จิตที่เป็นบาปมีลักษณะเป็นอย่างไร มีอธิบายไว้อย่างละเอียดแล้วในคัมภีร์พระอภิธรรม

(โปรดติดตามตอนต่อไป …)

คำปรารภ

หนังสือ “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เกิดขึ้นด้วยปรารภเหตุการณ์เฉพาะ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

“ปฐมบท : ความเป็นมาของพระอภิธรรม"  เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร  จากคอลัมน์ "ธรรมโอสถ" นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๗๕ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙
“ปฐมบท : ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จากคอลัมน์ “ธรรมโอสถ” นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๗๕ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙

เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเนื้อหา ก่อนอ่านความเป็นมาของพระอภิธรรม

จึงขอทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า ความเป็นมาของพระอภิธรรม มีเนื้อความตรงตามชื่อ มุ่งบอกเล่าถึงความเป็นมาของพระอภิธรรม เพื่อประกอบการฟังสวดพระอภิธรรม เป็นสำคัญ มิใช่มุ่งการอธิบายข้อธรรมในคัมภีร์พระอภิธรรม เมื่อฟังสวดแล้ว จะได้รู้ถึงที่มาที่ไปของพระอภิธรรมที่พระบรมศาสดาทรงแสดง อันจะเป็นบุญเป็นกุศลเพิ่มขึ้นอีกโสตหนึ่งด้วย

ผู้ที่มีความสนใจข้อธรรมในพระอภิธรรมที่ละเอียดลงไป ก็สามารถศึกษาเพิ่มได้จากคัมภีร์พระอภิธรรม ซึ่งมีอยู่แล้วทั่วไป

“ ความเป็นมาของพระอภิธรรม (๓) กำเนิดพระอภิธรรมปิฎก" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จากคอลัมน์ "ธรรมโอสถ" นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๗๗ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙
“ ความเป็นมาของพระอภิธรรม (๓) กำเนิดพระอภิธรรมปิฎก” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จากคอลัมน์ “ธรรมโอสถ” นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๗๗ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙

เนื่องจากพระอภิธรรมมีความละเอียดประณีตยิ่ง มีนัยหลากหลาย ไม่สิ้นสุด บางกรณีจึงมีความจำเป็นต้องยกตัวอย่างวัตถุสิ่งของ และภาษาในสมัย เทียบเคียงให้เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อทำความเข้าใจเนื้อความแห่งพระอภิธรรม ที่มีความละเอียดยิ่งนั้น ให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น

กรณีดังกล่าว มิใช่การนำข้อความเข้าไปปลอมปนในพระอภิธรรม เพราะมิได้มุ่งอธิบายข้อธรรมในพระอภิธรรม ดังกล่าวแล้ว หากแต่เห็นว่า การยกตัวอย่างวัตถุสิ่งของก็ดี การใช้ภาษาในสมัยก็ดี เป็นวิธีที่พอจะสื่อสารกับคนเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ทางศาสนาที่แตกต่างกัน หลากหลายกลุ่ม หลากหลายสถานะ

ด้วยห้วงเวลานั้น ทุกคนล้วนมีจิต ละเอียด เป็นหนึ่งเดียว จดจ่ออยู่กับท่วงทำนองแห่งพระอภิธรรมที่พระพิธีธรรมสวดถวายในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

กาลนั้น จึงนับได้ว่า เป็นมงคลกาล เหมาะแก่การฟังธรรมที่ละเอียด

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร ) ผู้เขียน ความเป็นมาของพระอภิธรรม จัดพิมพ์เป็นธรรมทนาโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร )

ขออนุโมทนาขอบคุณพระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙,ดร., คุณมนสิกุล โอวาทเภสัชช์ และคุณวันทนี เจริญวานิช ที่รับเป็นภาระธุระในการจัดพิมพ์ จนหนังสือสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ดีงาม เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น แผ่ไพศาลแห่งพระศาสนาของพระบรมศาสดา

พระราชกิจจาภรณ์

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here