สำหรับตอนนี้ก็เช่นเคยเป็นประเด็นที่สำคัญมาก

อาตมาตั้งใจเขียนเพื่อให้ความรู้กับสังคม ถอดบทเรียนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้สังคมได้มาร่วมกันค้นหาความจริง เพื่อธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมให้อยู่คู่กับสังคม และจะกล่าวถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยความเคารพ

“สำนักงานพุทธฯ ให้งบอุดหนุน ป.ป.ช., สำนักงานอัยการสูงสุด และ สำนักงานศาลยุติธรรมได้หรือไม่ ? ทำไมวัดรับงบอุดหนุนจึงเป็นคดีความ”

โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม พระธรรมทูต ประเทศสกอตแลนด์

ก่อนจะอ่านบทความนี้อยากให้ท่านย้อนกลับไปอ่าน ๕ ตอนย้อนหลังในคอลัมน์นี้

ท่านจะเข้าในเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไปนี้มากยิ่งขึ้น

"จิตวิญญาณของรัฐธรรมนูญ" และวิเคราะห์ฎีกา ๖๗๘๒/๒๕๔๓ กรณีลาสิกขาต่อหน้าพระพุทธรูป พร้อมเสนอการแก้ไขปัญหา ม. ๒๙ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒
“จิตวิญญาณของรัฐธรรมนูญ” และวิเคราะห์ฎีกา ๖๗๘๒/๒๕๔๓ กรณีลาสิกขาต่อหน้าพระพุทธรูป พร้อมเสนอการแก้ไขปัญหา ม. ๒๙ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ )
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ ป.ธ.๙), อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก, อดีตประธานสำนักงานกำกับดูและพระธรรมทูตไปต่างประเทศ รูปแรก และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ผู้ลงนามก่อตั้ง สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ในฐานะประธานคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปเสณาภรณ์ (สังคม ญาณวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ, เลขานุการ สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, กรรมการสำนักงาน ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ก่อนถูกดำเนินคดี (รูปซ้ายมือ) พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ, หัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ก่อนถูกดำเนินคดี (รูปขวามือ)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ ป.ธ.๙), อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก, อดีตประธานสำนักงานกำกับดูและพระธรรมทูตไปต่างประเทศ รูปแรก และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ผู้ลงนามก่อตั้ง สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ในฐานะประธานคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปเสณาภรณ์ (สังคม ญาณวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ, เลขานุการ สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, กรรมการสำนักงาน ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ก่อนถูกดำเนินคดี (รูปซ้ายมือ) พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ, หัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ก่อนถูกดำเนินคดี (รูปขวามือ)

          

“ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” นุ่งห่มจีวรหลังออกจากเรือนจำ กับ “พระพิมลธรรมโมเดล” พระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒)
“ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม”
นุ่งห่มจีวรหลังออกจากเรือนจำ กับ “พระพิมลธรรมโมเดล”
พระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง
โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม
จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์
(หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒)
"การลาสิกขาตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕" จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม
“การลาสิกขาตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕”
จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์
นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม
“การใช้ดุลยพินิจให้สละสมณเพศ"ตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์” จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม
“การใช้ดุลยพินิจให้สละสมณเพศ”ตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์”
จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์
นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม
“วิพากษ์ แนวคิดการสละสมณเพศ มาตรา ๒๙ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ ของ พ.ต.ท. พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.พศ. กับกรณีรัฐมนตรีฯ ให้สัมภาษณ์” จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๙กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม
“วิพากษ์ แนวคิดการสละสมณเพศ มาตรา ๒๙ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ ของ พ.ต.ท. พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.พศ. กับกรณีรัฐมนตรีฯ ให้สัมภาษณ์” จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๙กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

เมื่อไปดูต้นเหตุของการจับอดีตกรรมการมเถรสมาคมพร้อมเจ้าคุณรวม ๗ รูป บังคับให้ถอดจีวรโดยไม่ได้กล่าวคำลาสิกขาแล้วเข้าไปอยู่ในเรือนจำ เพราะมาจากการรับงบอุดหนุนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งประเด็นนี้เคยเขียนลงหนังสือพิมพ์แล้วว่ากรณีไหนบ้างถ้าวัดรับงบอุดหนุนจากสำนักงานพุทธฯ จึงจะถือว่าผิดกฎหมายโดยจะยกบางช่วงของบทความนั้นมากล่าวอีกครั้ง “…ถ้าวัดใดก็ตามได้รับงบอุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แล้วได้นำไปดำเนินการเพื่อ “การคณะสงฆ์” หมายถึง งานของคณะสงฆ์ หรือหน้าที่ของคณะสงฆ์ เป็นกิจการขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ทุกส่วนและทุกชั้น  ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ ตรี (๑) และ (๓) และข้อ ๕ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์  กล่าวถึง “การคณะสงฆ์” ไว้อย่างชัดเจนมี ๖ ด้าน คือ

๑) การรักษาความเรียบร้อยดีงาม

 ๒) การศาสนศึกษา

๓) การศึกษาสงเคราะห์

๔) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๕) การสาธารณูปการ

และ ๖) การสาธารณสงเคราะห์

ในกรอบของ ๖ ด้าน ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคม ที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ประกอบกับท่านไม่มีเจตนาร้ายหรือจิตใจที่ชั่วร้าย (Mens Rea) หรือในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “เถยจิต” ไม่มีจิตคิดจะเอาทรัพย์มาเป็นของตนหรือ ผู้อื่นโดยทุจริต ก็ถือว่าท่านไม่มีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา…” (“พูดแทนคณะสงฆ์ งบอุดหนุน พศ.พระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง” นสพ.คมชัดลึก ฉบับวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑)

"พูดแทนคณะสงฆ์ งบอุดหนุน พศ.พระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง” นสพ.คมชัดลึก ฉบับวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑)
“พูดแทนคณะสงฆ์ งบอุดหนุน พศ.พระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง” นสพ.คมชัดลึก ฉบับวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑)

           นี้คือจารีตหรือหลักในการปฏิบัติของคณะสงฆ์กับรัฐ กรณีเมื่อได้รับงบอุดหนุนมาเพื่อดำเนินการคณะสงฆ์ ตั้งแต่สมัยกรมการศาสนา มาจนถึงยุคปัจจุบันคือสำนักงานพุทธฯ ถ้าผิดก็ต้องผิดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ทางสำนักงานพุทธฯ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับแค่เพียงบางวัดเท่านั้น การกระทำเช่นนี้เป็นการเลือกปฏิบัติหรือมีแรงจูงใจเบื้องหลังการกระทำดังกล่าวนี้หรือไม่ น่าคิดเหมือนกัน

         โดยเฉพาะเมื่อ ดร.นิยม เวชกามา ส.ส. จ.สกลนคร อภิปรายตั้งกระทู้ถามทั่วไป เรื่องความคืบหน้ากรณีเงินทอนวัด พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงมาตรฐานในการดำเนินคดีเงินทอนวัด เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒  ถามรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพุทธฯ มีอยู่ว่า

         “…วัดที่ได้เงินเหมือนกัน วัดพิชยญาติการาม ๑๐ ล้าน, วัดเทพศิรินทราวาส ๑๐ ล้าน, วัดสุทัศนเทพวราราม ๑๐ ล้าน, วัดเทวราชกุญชร ๑๐ ล้าน, วัดบวรนิเวศ ๕ ล้าน, วัดสามพระยา ๕ ล้าน, วัดสัมพันธวง ๒ ล้าน, วัดอรุณราชวราราม ๑๐ ล้าน, วัดกวิศราราม ลพบุรี ๑๐ ล้าน, แต่วัดที่ถูกดำเนินคดีมีเพียง ๒ วัดคือวัดสามพระยาได้เงินไป ๕ ล้าน วัดสัมพันธวงศ์ได้เงินไป ๒ ล้าน วันนี้ท่านอยู่ที่แฟรงเฟิร์ตประเทศเยอรมัน

         ผมจึงต้องกราบเรียนว่าวัดที่ถูกดำเนินคดีเป็นแค่ ๒ วัด ผมถามคำถามที่หนึ่งเลยว่าแล้ววัดอื่นทำไมไม่ถูกดำเนินคดี…” และ ดร. นิยม เวชกามา สส. สกลนคร ได้ตั้งคำถามที่สองต่อรัฐสภาว่า

           “…คำถามต่อไปนี้มันจะอยู่ในวัดสระเกศครับ… เป็นเงินที่สำนักงานพระพุทธศาสนา โดยสำนักงบประมาณนิ จัดสรรให้ ๔ หน่วยงาน หน่วยงานแรก ซึ่งผิดงบ ผิด พรบ. งบประมาณ ๒๕๐๒ เลย หน่วยงานแรกที่ท่านพูดเมื่อกี้ล่ะ ป.ป.ช. (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)  รับไป ๓,๐๐๐,๐๐๐ ล้าน จากสำนักพุทธฯ นะครับ ก้อนที่สองแบ่งมาในคำสั่งเดียวกันนี่นะ ให้สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมฯ ชื่อยาวแต่ผมเอาแค่นี้ สำนักงานนี้อยู่ที่วัดสระเกศฯ แต่งตั้งขึ้นโดยมหาเถรสมาคม โดยข้อบังคับข้อกฎหมาย คนที่เป็นเจ้าอาวาส พระที่เป็นเจ้าอาวาส คือท่านเจ้าคณะนี้ เป็นผู้บังคับบัญชา ในสำนักงานนี้

         สำนักงานนี้ได้รับเงินเพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนา พัฒนาบุคลากรรวมทั้งพระทั้งโยมด้วย ส่งไปต่างประเทศด้วย ใช้เงินงวดนี้ ๒๐,๙๕๐,๐๐๐ บาท สำนักงานที่สามได้รับงบประมาณเหมือนกัน จากสำนักพระพุทธศาสนา คือสำนักงานศาลยุติธรรม มีหลักฐานชัดเจน รับไป ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำนักงานอัยการสูงสุด รับเงินไปจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเหมือนกัน ไปอีก ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท

         ผมจึงเกิดความสงสัยต้องถามเป็นประเด็นข้อที่สองนะ…สำนักงานเหล่านี้ ยังมีสิทธิรับเงินจากสำนักงานพระพุทธศาสนาด้วยหรือ…เงินเหล่านี้ไปจากก้อนเดียวกันแต่วัดสระเกศฯ โดนเลย…แล้วทำไมจึงดำเนินคดีแต่เฉพาะวัดสระเกศฯ…”  

         จากประเด็นทั้งสองคำถามที่ ดร. นิยม เวชกามา ส.ส. สกลนคร ตั้งกระทู้ถามสดท่านรัฐมนตรีในสภาจึงมีประเด็นน่าสนใจดังนี้

           ประเด็นที่หนึ่ง การโอนงบประมาณรายจ่าย “ข้ามหน่วยงาน” โดยสำนักงานพุทธฯ โอนให้ ป.ป.ช.(สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) , สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานศาลยุติธรรม กระทำได้ตามกฎหมายหรือไม่

           มาตรา ๑๘ พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ บัญญัติว่า “รายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ดี พระราชบัญญัติจ่ายเพิ่มเติมก็ดี จะโอนหรือนำไปใช้สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่นมิได้ เว้นแต่จะได้ตราเป็นพระราชบัญญัติ”       

           ดังนั้นวินิจฉัยได้ว่าการโอนงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานพุทธฯ ข้ามหน่วยงานคือโอนงบอุดหนุนให้ ป.ป.ช.(สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ), สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานศาลยุติธรรม โดยหลักแล้วตามมาตรา ๑๘ จะกระทำมิได้  เว้นแต่การโอนงบดังกล่าวได้มีพระราชบัญญัติให้โอนหรือนำไปใช้ได้ และเมื่อมีพระราชกฤษฎีการวมหรือโอนส่วนราชการเข้าด้วยกัน ฯ

           ฉะนั้นแล้ว ถ้าการโอนงบอุดหนุนของสำนักงานพุทธฯ ให้หน่วยงานทั้ง ๓ โดยไม่ได้กระทำตามหลักการของมาตรา ๑๘ ก็ถือว่าการโอนงบอุดหนุนไม่ชอบด้วยกฎหมาย (การโอนงบอุดหนุนของสำนักงานพุทธฯ ข้ามหน่วยงานเกิดขึ้นระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๕๕ – พ.ศ.๒๕๕๖ จึงต้องวินิจฉัยตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ พ.ร.บ. วิธีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒)

           ประเด็นที่สอง ในคำถามงบก้อนแรกทำไมถูกดำเนินการคดีเพียงแค่ ๒ วัด โดยเฉพาะวัดสามพระยา (มหานิกาย) เป็นวัดศูนย์กลางการศึกษาบาลี ผลิตเปรียญธรรม ๙ ของคณะสงฆ์ไทย

อาตมาจึงตั้งข้อสังเกตว่า การกระทำดังกล่าวนี้มีวาระซ่อนเร้น? หรือแรงจูงใจเบื้องหลังไม่ชอบมาพากล ? หรือ ต้องการทำลายตัวบุคคลในคณะสงฆ์หรือไม่ ?

เพราะวัดอื่น ๆ ที่รับงบอุดหนุนก้อนเดียวกันกลับไม่ถูกดำเนินการอะไรเลย แต่พระพรหมดิลกถูกดำเนินคดีมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีโทษจำคุก ๖ ปี

           ส่วนในคำถามข้อที่สองคือ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ที่เป็นหน่วยงานเผยแผ่ของคณะสงฆ์เพียงแต่ไปขอใช้สถานที่วัดสระเกศฯ (มหานิกาย) เป็นที่ตั้งสำงานกลาง โดยมหาเถรสมาคมได้มีการ “ออกคำสั่ง” ให้จัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๑๕ ตรี (๓) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีศูนย์สาขาอยู่ทั่วทุกภูมิภาคและมีเครือข่ายอยู่ทุกจังหวัด

           และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ เป็นหน่วยงานของคณะสงฆ์ในการสนับสนุนในการดำเนินภารกิจด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก ตามมติมหาเถรสมาคม ที่ ๔๑๒/๒๕๕๖ ในคราวประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๖

           จึงถือว่าสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ เป็นหน่วยงานของคณะสงฆ์โดยตรงที่ทำหน้าที่ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในนามมหาเถรสมาคม จึงมีความชอบด้วยกฎหมายที่จะรับงบอุดหนุนจากสำนักงานพุทธฯ แต่กลับต้องถูกดำเนินคดี ส่วนหน่วยงานราชการอื่นรับงบอุดหนุนจากสำนักงานพุทธฯ ก้อนเดียวกันนี้กลับไม่ถูกดำเนินการใดๆ เลย

         ประเด็นที่สาม ถ้าหน่วยงานทั้ง ๓ ได้รับโอนงบอุดหนุนจากสำนักงานพุทธฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๘ พ.ร.บ. วิธีงบประมาณ ๒๕๐๒ ด้วยความเคารพ ป.ป.ช.(สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) , สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานศาลยุติธรรม จะสร้างความเชื่อมั่นของความยุติธรรม ต่อวัดที่ถูกดำเนินคดี ณ ตอนนี้ได้อย่างไร

           เพราะหน่วยงานทั้งสามยังรับงบอุดหนุนก้อนเดียวกัน แต่ไม่ถูกดำเนินคดีใด ๆ เลย แต่ ป.ป.ช. (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) กลับมาทำหน้าที่เป็นผู้ชี้มูลความผิด พนักงานอัยการทำหน้าที่สั่งฟ้อง และศาลทำหน้าที่ตัดสินคดีความดังกล่าว  

         ประเด็นที่สี่ ถ้าปรากฏว่า ป.ป.ช.(สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) , สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานศาลยุติธรรม รับงบอุดหนุนนั้นมาจากสำนักงานพุทธฯ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๘ พ.ร.บ. วิธีงบประมาณ ๒๕๐๒

           หรือบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับงบอุดหนุนครั้งนี้ “รู้หรือควรจะรู้ ว่าเป็นเงินผิด แต่ก็รับมา” จะต้องรับโทษตามกฎหมายด้วยหรือไม่ เพราะผู้ที่เซ็นรับงบอุดหนุน หรือผู้ที่มีอำนาจมอบหมาย ล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านนิติศาสตร์เป็นอย่างดี  “จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าไม่รู้ว่าเป็นเงินผิดจึงรับมา” และควรให้ กต., กอ. ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงบอุดหนุนครั้งนี้ด้วยหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ผิดปกติ

           อย่างไรก็ตาม อาตมาไม่ได้มีเจตนาที่จะสร้างความเสียหาย หรือใส่ร้าย ป้ายสีกับหน่วยงานทั้ง ๓ แต่อาตมาได้พูดตามข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมาย และตั้งข้อเกตพร้อมคำถามบางประการ เพื่อถอดบทเรียนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้สังคมได้เรียนรู้ไปด้วยกัน (เอกสารรับงบอุดหนุนของทั้ง ๓ หน่วยงาน ท่านที่สนใจสามารถค้นหาดูรายละเอียดในอินเตอร์เน็ตได้)

         เพราะหน่วยงาน ป.ป.ช.(สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) , สำนักอัยการสูงสุด, สำนักงานศาลยุติธรรม คือหน่วยงานที่ผดุงความยุติธรรมให้กับสังคม แต่กลับมีข้อสงสัยหลายประการเกี่ยวกับการรับงบอุดหนุนจากสำนักงานพุทธฯ ในครั้งนี้ เทียบเคียงข้อเท็จจริงเดียวกันกับงบอุดหนุนที่ ๓ หน่วยงานนั้นรับโอนไปคือ วัดสามพระยา (มหานิกาย) ก็ถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก ๖ ปี ส่วนวัดสระเกศ (มหานิกาย) กำลังอยู่ในชั้นกระบวนการพิจารณาของศาล

         อาตมาจึงอยากเห็นสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมค้นหาความจริงพร้อมตรวจสอบประเด็นนี้ไปด้วยกัน และหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในครั้งนี้ควรเข้ามาดำเนินการให้กระจ่างโดยเร็ว เพื่อจะได้สร้างความเชื่อมั่นด้านความยุติธรรมให้กับสังคม “อย่าปล่อยให้เรื่องนี้กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวเลย”

บทความพิเศษ ตอนที่ ๗ “สำนักงานพุทธฯ ให้งบอุดหนุน ป.ป.ช., สำนักงานอัยการสูงสุด, และ สำนักงานศาลยุติธรรมได้หรือไม่ ? ทำไมวัดรับงบอุดหนุนจึงเป็นคดีความ” โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม พระธรรมทูต ประเทศสกอตแลนด์

พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม พระธรรมทูต ประเทศสกอตแลนด์ ผู้เขียน
พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม พระธรรมทูต ประเทศสกอตแลนด์ ผู้เขียน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here