พระพรหมบัณฑิต มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แด่พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ
พระพรหมบัณฑิต มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แด่พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ

เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙  เวลา ๐๙.๓๐ น. พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าคณะภาค ๒, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมตตาเป็นประธานในพิธีวันบูรพาจารย์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๙

พระพรหมบัณฑิต มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แด่พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ
พระพรหมบัณฑิต มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แด่พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ

ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แก่ พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิร) เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๐, เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์, หัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

พระพรหมบัณฑิต มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แด่พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ
พระพรหมบัณฑิต มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แด่พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ
พระพรหมบัณฑิต มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แด่พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ
พระพรหมบัณฑิต มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ แด่พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ

รำลึกวันวาน…มโนปณิธาน

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ตอนที่ ๖๘

“จากมือที่ครูประถมตีสู่ศิษย์ดีเด่น มจร.”

โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

ผู้เขียนเปิดเว็บไซต์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และ www.obhik.com สำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ก็พบกับบันทึกเรื่องราวอันงดงามจึงขอนำมาแบ่งปันกันในรำลึกวันวาน …มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ฉบับนี้เพื่อย้อนรำลึกความทรงจำที่ท่านอาจารย์เจ้าคุณเทอด เมตตาให้ผู้เขียนสัมภาษณ์ลงในคอลัมน์ มโนปณิธาน หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐)  ในตอนที่ ๗ “ฝึกกรรมฐานกับพระป่า “ความอดทนเป็นสิ่งวิเศษ” โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ มาเชื่อมโยงกับบางส่วนยังไม่ได้ลงในนสพ.มาเล่าเพิ่มเติมในตอนนี้เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงตั้งแต่วัยเยาว์ของท่านในความมุ่งมั่นฝึกตนและเป็นที่รักของครูบาอาจารย์ทุกท่านมาโดยตลอด

เด็กชายเทอด วงศ์ชะอุ่ม
เด็กชายเทอด วงศ์ชะอุ่ม

ดังที่ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เล่าว่า…

ตอนเป็นเด็ก อาตมาเรียนหนังสือไม่เก่ง ออกไปทางอ่านหนังสือไม่คล่อง ก็คงเหมือนเด็กตามบ้านนอกบ้านนาทั่วไป ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการศึกษาของสังคมในสมัยนั้น

มีเรื่องเล่าให้ฟังเกี่ยวตัวโน้ต ตอนนั้น ยังเด็กอยู่มาก ยังไม่ได้เข้าเรียน แต่ก็พอจำความได้  อาตมาไม่ได้ขึ้นบ้านชอบนอนอยู่เถียงนากับโยมปู่และโยมย่า หรือพ่อใหญ่กับแม่ใหญ่  จนญาติๆ ชอบล้อว่า “เป็นคนป่าคนดง” สมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่นอกจากจะปลูกข้าว ปลูกผักแล้ว ก็จะปลูกปอ หรือลำปอเอาไว้ขาย ตกกลางคืนตอนหัวค่ำก็จะเอาลำปอที่ตากแห้งไปจุดไฟไล่ยุงให้ควายข้างเถียงนา

เถียงนาของโยมแม่ใหญ่(จูม วงศ์ชะอุ่ม คุณย่า) และ โยมพ่อใหญ่ (โทน วงศ์ชะอุ่ม คุณปู่)
เถียงนาของโยมแม่ใหญ่(จูม วงศ์ชะอุ่ม คุณย่า) และ โยมพ่อใหญ่ (โทน วงศ์ชะอุ่ม คุณปู่)

พอตื่นเช้ามาพ่อใหญ่กับแม่ใหญ่ ก็จะลุกมาก่อไฟไว้อังแก้หนาว  จนตะวันขึ้นแสงสีเงินสีทองทาบต่อเฟือง(ซังข้าว) พร้อมกับมีเสียงตอกโปงดังสะท้อนมาจากวัด อาตมาชอบเห็นตัวโน้ตลอยอยู่ในอากาศ ลอยอยู่ตามยอดข้าว ตามตอเฟือง ตามจังหวะเสียงโปงที่สะท้อนมาจากวัด แล้วก็ออกวิ่งไล่จับตัวโน๊ตไปตามคันนาตามประสาเด็ก แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร มารู้ว่าเป็นตัวโน๊ตเอาตอนเข้าเรียนแล้ว

"ตัวโน้ตในอากาศ" ภาพประกอบสีฝุ่น โดย หมอนไม้
“ตัวโน้ตในอากาศ” ภาพประกอบสีฝุ่น โดย หมอนไม้


        สมัยนั้น ยังเรียนหนังสือกับกระดานชนวน เรียนชั้น ป.๑ ยังได้เขียนกระดานชนวน น่าจะเป็นรุ่นสุดท้ายแล้ว เวลากลับบ้านก็จะเอากระดานชนวนทำเป็นจานบิน พอกลับถึงบ้านกระดานชนวนก็แตก แม่ก็ว่าเอา เป็นอย่างนั้นอยู่นานวัน

แต่พอขึ้น ป.๒ หรือ ป. ๓ ก็ได้เรียนกับสมุด ในช่วง ป.๑ ที่เรียนกับกระดานชนวน  วันหนึ่ง ครูเขียนตัวโน๊ตบนกระดานดำให้ลอกตาม แล้วครูก็พาท่องออกเสียงพร้อมกันกลับไปกลับมา โด เร มี ฟา ซอล ลา ซี โด อาตมาก็นึกว่า “เอ ทำไมเหมือนกับที่เห็นลอยอยู่ในอากาศ”  ซึ่งเป็นภาพที่ติดตามาก
        และในช่วงที่ครูกำลังสอนอยู่นี้ เป็นเวลาพัก ก็มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งขอไปเข้าห้องน้ำ แล้วออกจากโรงเรียนไปเล่นในสวนคนอื่น ไม่ยอมกลับมาเรียนตามเวลา ครูก็ให้ไปตาม

ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) ในขณะนั้น ปีพ.ศ.๒๕๖๐
ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร) ในขณะนั้น ปีพ.ศ.๒๕๖๐

อาตมาก็ไปตามกลับมาทุกคน พอกลับมาแล้ว ครูก็ลงโทษด้วยการตีมือด้วยไม้บรรทัดทีละคน เด็ก ๕ คนที่ไปเล่นกลับมา ครูก็ตีลงบนมือทุกคนเรียงมา อาตมาไม่ได้ไปเล่นด้วย แต่ครูให้ไปตาม พอครูตีทุกคนเรียงมาจนถึงอาตมา อาตมาก็ยื่นมือให้ครูตีด้วย ครูก็ตี ครูคงลืมว่า ใช้อาตมาไปตาม ซึ่งเป็นความทรงจำที่ว่า ทั้งๆ ที่ครูให้ไปตามเพื่อนๆ กลับมาเรียน แต่อาตมากลับถูกครูตีด้วย มันก็เป็นความทรงจำแบบขำๆ ที่อยู่ในใจตลอดมา

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ทศชาติ : ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง" โดย ญาณวชิระ ฉบับพิมพ์เป็นธรรมทาน จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ทศชาติ : ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง” โดย ญาณวชิระ ฉบับพิมพ์เป็นธรรมทาน จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ

วันหนึ่ง เมื่อเขียนหนังสือ “ทศชาติ” เสร็จ เกิดนึกถึงครูขึ้นมา อาตมากลับบ้าน จึงนำหนังสือไปให้ครูที่กำลังจะเกษียณ และเขียนมอบให้ครูในหนังสือด้วย  แล้วก็บอกครูว่า “ครูรู้ไหมว่า มือที่เขียนหนังสือเล่มนี้ เป็นมือที่ครูสอนเขียนอักษรตัวแรก และเป็นมือที่ครูตีเมื่อตอนเป็นเด็ก” แล้วก็ยื่นมือออกไปให้ครูดู และก็เล่าให้ครูฟัง ครูก็น้ำตาคลอ
        ครูบอกว่า “ยังจำได้อีกหรือ ครูจำไม่ได้แล้ว”

ครูรู้ไหมว่า มือที่เขียนหนังสือเล่มนี้ เป็นมือที่ครูตีเมื่อตอนเป็นเด็ก แล้วก็ยื่นมือออกไปให้ครูดู และก็เล่าให้ครูฟัง ครูน้ำตาไหล

พระมงคลธรรมวัฒน์(บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) หลวงพ่อวัดปากน้ำ จ.อุบลราชธานี
พระมงคลธรรมวัฒน์(บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) หลวงพ่อวัดปากน้ำ จ.อุบลราชธานี

และตอนหลังที่อาตมาบวชเณรกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลธรรมวัฒน์(บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำวัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ของอาตมารูปแรก บวชได้ไม่นานอาตมาได้ขอท่านไปอยู่อุปปัฏฐากพระอาจารย์มหามังกร  ปญฺญาวโรที่วัดป่า เพราะทราบว่าโยมพ่อกับโยมแม่อยากให้ลาสิกขาไปเรียนต่อ แต่อาตมาปรารถนาจะเป็นพระ จึงขออาสาไปอยู่ที่วัดป่าอุปปัฏฐากครูบาอาจารย์

“ที่จริง สถานที่ตรงนี้ชาวบ้านเรียกวัดป่าก็ไม่ใช่วัดมีอาคารสถานที่อะไร  แต่เป็นป่าใหญ่นอกหมู่บ้าน  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล มีเพียงศาลาโล่งๆ หลังเดียว และกุฏิไม้แบบกรรมฐานอีกหนึ่งหรือสองหลัง ที่เรียกวัดป่าก็เป็นแต่เพียงเรียกตามคำบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดร้างมาตั้งแต่แรกตั้งเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย  มีเหตุถูกปล่อยให้ทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าใหญ่ดงทึบ บ้างก็ว่าเกิดโรคระบาดชาวบ้านจึงย้ายบ้านหนี บ้างก็ว่าถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่คราวพระวอพระตาถูกข้าศึกฆ่า ชาวบ้านก็เลยเรียกวัดป่า”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ปีพ.ศ.๒๕๖๐
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ปีพ.ศ.๒๕๖๐
"มโนปณิธาน" หน้าธรรมวิจัย (นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐) ตอนที่ ๗ ฝึกกรรมฐานกับพระป่า "ความอดทนเป็นสิ่งวิเศษ" โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์
“มโนปณิธาน” หน้าธรรมวิจัย (นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐) ตอนที่ ๗ ฝึกกรรมฐานกับพระป่า “ความอดทนเป็นสิ่งวิเศษ” โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) หน้าธรรมวิจัย (นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ตอนที่ ๗ “ฝึกกรรมฐานกับพระป่า “ความอดทนเป็นสิ่งวิเศษ” โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

๗. ฝึกกรรมฐานกับพระป่า 

“ความอดทนเป็นสิ่งวิเศษ”

พระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโร
พระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโร

ช่วงที่สามเณรเทอด  วงศ์ชะอุ่มอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโร ในป่าสี่ปี  ซึ่งเดิมเป็นวัดร้างใกล้ปากแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี  สำหรับเด็กวัยสิบสามปีที่มุ่งมั่นจะเป็นพระ ต้องมาอยู่ฉันมื้อเดียวในป่าใหญ่ เป็นอย่างไร   

พระราชกิจจาภรณ์ เล่าย้อนไปในหนหลังให้ฟังว่า  จริงๆ แล้วตอนนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้  ถึงแม้กระท่อนกระแท่นตามประสาเด็ก แต่ก็น่าจะเป็นช่วงที่ค่อยๆ ก่อตัวในการฝึกตนขึ้นมา ทำให้เข้าใจว่า การหักห้ามใจเป็นอย่างไร การตัดข้อกังวลเป็นอย่างไร 

“เพราะทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน ย่อมเจอกับทุกข์ ย่อมเจอกับสิ่งที่ให้เกิดความยุ่งยากใจ  ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสญาติโยม  หรือเป็นพระ ไม่ว่าจะเป็นพระเด็ก หรือ พระผู้ใหญ่ ต่างมีเรื่องที่ต้องทำให้ขุ่นข้องหมองใจด้วยกันทั้งหมด  อยู่ที่ว่าทุกครั้งที่ความขุ่นข้องหมองใจเกิดขึ้น เราสามารถหักห้ามมันลงได้  คือ เราก็ไม่ต้องแบกรับความทุกข์สาหัสสากรรจ์นั่นเอง”

บางคนอาจตั้งคำถามว่า เป็นพระแล้วจะมีเหตุการณ์อะไรให้ต้องทุกข์ขนาดนั้น  ท่านเล่าให้ฟังต่อมาว่า ความจริงคือมันต้องมี ความทุกข์นี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง โลกธรรมมันก็มีอยู่เป็นธรรมดา

“แต่การได้ฝึกตนตั้งแต่เด็กๆ ทำให้อาตมามีวิธีการตั้งรับของตนเอง  ซึ่งทุกคนก็มีทักษะส่วนตัว  บอกกันไม่ได้  หมายความว่า ต่อให้เล่าไปก็เป็นเพียงคำบอกเล่า แต่วิธีการนั้นต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง

“อาตมารู้สึกขอบคุณชะตาที่ทำให้ต้องไปอยู่ป่าถึงสี่ปี  เป็นการฝึกความอดทน อันดับแรกเลย  ความอดทนเป็นสิ่งที่วิเศษ   แม้มันจะมีรสขม  แต่ผลจากการที่ต้องเผชิญกับความอดทนเป็นสิ่งที่ดีมากในเวลาต่อมาจนถึงทุกวันนี้”

ท่านบอกว่า เพราะผู้ที่จะผ่านความอดทน ต้องผ่านความขมขื่น  ความบากบั่น  แล้วจะได้รสที่ชุ่มเย็นเป็นของขวัญ 

“เมื่อนึกย้อนไปตอนที่พระอาจารย์มหามังกรขึ้นเทศน์  อาตมาเป็นเด็กสงสัยตลอดว่า ทำไมเทศน์นานจัง  ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเทศน์เลย  ท่านเอาอะไรมาพูดได้มากมายขนาดนั้น  เราฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง หลับบ้าง  ทรมานบ้าง พลิกแล้วพลิกอีกบ้าง  สองทุ่มก็แล้ว สามทุ่มก็แล้ว  ทำไมทนได้มากขนาดนั้น มานึกถึงตอนนี้ก็เข้าใจว่า เพราะการปฏิบัติของท่านอาจารย์มหามังกรเข้มข้นมาก ทำให้ท่านอดทนได้นาน  บางวันเทศน์ถึงห้าทุ่มเที่ยงคืน  มีญาติโยมมาปฏิบัติธรรมกับท่านตั้งแต่หกโมงเย็นแล้วก็สวดมนต์ทำวัตรไปจนยาวเกือบเที่ยงคืนในบางวัน  พอได้หลับไปสักพักก็ต้องตื่นแล้ว ตีสาม ตื่นมาทำวัตรสวดมนต์ แล้วท่านอาจารย์ก็เทศน์อีก จากนั้นก็พานั่งสมาธิต่อ มานึกดู ว่าทำไมทนได้ 

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ราวปีพ.ศ.๒๕๖๐
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ราวปีพ.ศ.๒๕๖๐

“พอมาถึงวันนี้ ก็ต้องขอบคุณความอดทนเป็นสิ่งประเสริฐ เพราะไม่ว่าเรื่องอะไรก็ทนได้ ทนหิว ทนหนาว  ทนร้อน  ไม่ต้องไปบ่นกับคนอื่นเขา   ทำให้เราเข้าใจอะไรได้ง่าย  และยอมรับอะไรได้ง่าย  ซึ่งทำให้เราทุกข์น้อยลง แต่ ไม่ได้หมายความว่า ไม่ทุกข์ แต่มันทุกข์น้อยลง  ดูเหมือนกับว่า ไม่ใส่ใจอะไร แต่ใส่ใจ ดูเหมือนกับไม่รู้อะไร แต่ก็รู้ ดูเหมือนไม่เข้าใจอะไรเลย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เข้าใจอะไรเลย”

ท่านเล่าเป็นปริศนาธรรม แต่จริงๆ นั้นก็คือ

“หมายความว่า รู้ทุกอย่าง ใส่ใจทุกอย่าง เข้าใจทุกอย่าง  แต่ไม่เอามาแบกไว้ให้เป็นทุกข์ในใจ ประมาณนั้น อาตมาก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างนี้ พอถึงตีห้ากว่าๆ ประมาณตีห้าสิบห้านาทีถึงตีห้ายี่สิบนาที ก็เดินออกมาเพื่อบิณฑบาตในหมู่บ้าน”

สามเณรเทอด วงศ์ชะอุ่ม
สามเณรเทอด วงศ์ชะอุ่ม

ลองนึกภาพดูว่า เณรตัวเล็กๆ ผอมๆ อุ้มบาตรก็หนักอยู่แล้ว  ออกจากหมู่บ้านก็ต้องอุ้มบาตรอาจารย์อีกเป็นสองลูก  สามเณรเทอดเดินตามหลังท่านอาจารย์เช่นนี้อยู่สี่ปีในป่าใหญ่   เป็นการอุปัฏฐากอาจารย์ที่งดงามมากที่สุดที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้มากว่าสองพันหกร้อยปี  

การสืบเนื่องพระพุทธศาสนาจึงยืนยาวมาได้เพราะมีหน่อเนื้อสมณะเป็นเณรน้อยคอยอุปัฏฐากอาจารย์อยู่เช่นนี้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย  นับแต่ เจ้าชายราหุลทรงบรรพชาเป็นสามเณรรูปแรกในบวรพระพุทธศาสนา  และบวชเป็นพระภิกษุโดยมีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยวิธี ติสรณคมนูปสัมปทา หรือ ไตรสรณคมนอุปสัมปทา (หมายถึง การอุปสมบทเป็นภิกษุโดยการรับไตรสรณคมน์แบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา  ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทเอง เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมา ทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรให้เป็นภิกษุได้โดยวิธีให้กุลบุตรนั้นรับไตรสรณคมน์  ซึ่งการบวชแบบนี้สำเร็จได้โดยบุคคล คือ พระสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถบวชกุลบุตรได้  ต่อมาทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทโดยสงฆ์ คือ ให้ทำเป็นสังฆกรรมที่เรียกว่าแบบญัตติจตุตถกรรมวาจา จึงเลิกวิธีบวชพระแบบติสรณคมนูปสัมปทา แต่ทรงอนุญาตให้ใช้วิธีนี้บวชสามเณร ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตราบเท่าทุกวันนี้ )

สามเณรเทอดอุปัฏฐากท่านอาจารย์มหามังกรเช่นนี้ทุกวัน  และได้ฝึกกรรมฐานจากท่านอาจารย์มหามังกรด้วยอย่างเป็นธรรมชาติ  ดังที่ท่านเล่าต่อมาว่า  หลังจากบิณฑบาตแล้วกลับไปถึงวัด ก็ต้องกวาดศาลาซีกหนึ่งก่อน  กวาดลานวัดที่ใบไม้ร่วงให้สะอาด แล้วก็อาบน้ำ

“กว่าจะได้ฉันก็แปดโมงกว่าๆ ถึงเก้าโมงเช้า ฉันเสร็จก็ประมาณสิบโมงกว่าๆ พอฉันเสร็จ เก็บล้างบาตรเสร็จก็ง่วง เณรตัวเล็กๆ ก็เหนื่อย เลยนอนเป็นงูเหลือม  ตอนบ่ายๆ ก็ออกหาฟืน แล้วกลับมากวาดวัด  ขึ้นไปกุฏิท่านอาจารย์ดูว่า มีจีวรที่ท่านใช้แล้วไหม เพราะมีอยู่สามผืนท่านก็สลับใช้ เมื่อเห็นว่าท่านใช้ผืนไหนแล้วก็นำไปซัก  กุฏิท่านก็เล็กนิดเดียวนั่นคือ หน้าที่ที่ต้องขึ้นไปดู ไปถูกุฏิท่านอาจารย์  พับที่นอน แล้วก็ซักจีวรให้ท่าน  ซักจีวรแล้วก็นำมาไว้ด้านข้างๆ ที่นอน โดยที่ท่านอาจารย์ไม่ต้องบอก  อาตมาต้องคอยสังเกตเอาเอง  

บ่อน้ำในสมัยนั้น ปัจจุบันแห้งขอด
บ่อน้ำในสมัยนั้น ปัจจุบันแห้งขอด

“จากนั้น ก็ไปตักน้ำใส่ตุ่มให้เต็มสองตุ่มในถาน (ห้องส้วม) ตุ่มหนึ่งสำหรับอาบน้ำ อีกตุ่มหนึ่งสำหรับราดถาด (ส้วม) สองตุ่มนี้ต้องตักให้เต็มตลอด แล้วต้องเดินไปตักจากบ่อ  (ปัจจุบันบ่อน้ำนี้แห้งเหือดแล้ว ) ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากวัดร้างพอสมควร”

เจ้าคุณเทอดเล่าถึงพระอาจารย์มหามังกร ซึ่งเป็นอาจารย์รูปที่สองของท่านว่า ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ  และเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น

    “ท่านเป็นลูกศิษย์พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) แล้วท่านก็เป็นพระธุดงค์ด้วย แต่ท่านอายุสั้นไปหน่อย  ก่อนท่านมรณภาพท่านไปธุดงค์มาก็ติดเชื้อมาลาเรีย  ๗  วันก็มรณภาพ”

   เพราะความตายนั้นไม่เคยต่อรองได้  จากความพลัดพรากนี่เองเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เจ้าคุณเทอดครองความเป็นพระมาได้จนถึงทุกวันนี้ (จาก มโนปณิธาน โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐)

ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้
ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้

บันทึกธรรม สัมมาสมาธิ

(ตอนที่ ๓๓)

ปฏิบัติสมาธิไม่ใช่เพื่อเอาอะไร

: พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

การปฏิบัติสมาธิจึงไม่ใช่เพื่อเอาอะไร ไม่ใช่เพื่อให้ได้อะไร และไม่ใช่เพื่อให้เป็นอะไร แต่ปฏิบัติเพื่อจะให้รู้ความเปลี่ยนแปลงของกายใจ เห็นแล้วก็รู้ลงไปตรงๆ ตามความจริงที่กายใจเป็น ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อให้เป็นอะไรมากไปกว่านี้ ที่เห็นก็ไม่ใช่ที่เป็นก็ไม่ใช่ ตามจุดมุ่งหมายของสมาธิตามที่พระพุทธเจ้าสอน

พอคนอื่นเป็นนั่นเป็นนี่ เห็นนั่นเห็นนี่ เราก็คิดว่า  เอ! ทำไมเราไม่เห็นกับเขาบ้าง เมื่อไหร่เราจะเห็นอย่างเขาบ้าง ปฏิบัติมาก็พอสมควร เมื่อไหร่เราจะเป็นอย่างเขาบ้าง นั่งสมาธิไปก็มีคำถามผุดขึ้นมาในหัวเรื่อย “คนนั้นก็เห็น คนนี้ก็เห็น เราไม่เห็น หรือว่าเราจะไม่มีบุญเสียกระมัง” อย่าไปอยากเห็นเหมือนคนอื่น พออยากมากเข้าใจก็คิดสร้างเรื่องขึ้นมา เมื่อใจคิดสร้างไปตามความอยากก็เห็นไม่ตรงตามเหตุตามปัจจัยของการปฏิบัติสมาธิ คือไม่ตรงตามสภาวะที่เกิดขึ้นจริงขณะนั้นๆ

ไม่ต้องมองไปที่คนอื่น ให้ดูการปฏิบัติในกายในใจของตัวเอง อย่าไปเลียนแบบคนอื่น อย่าไปอยากเป็นอยากเห็นเหมือนคนอื่น

การปฏิบัติเป็นของเฉพาะตน

ส่วนบางคนภาวนาไปๆ พอจิตสงบหน่อยเกิดสบายในหัวจิตหัวใจ เกิดปลอดโปร่งสว่างไสว  รู้สึกตัวเบาตัวลอยวูบๆ วาบๆ ก็สงสัยอีกแล้ว เอ! เรานี่มันเป็นยังไงเสียแล้ว คนอื่นไม่สว่างไสวทำไมเราสว่างไสวปลอดโปร่งอยู่คนเดียว หรือว่าเราจะเป็นอะไรไปแล้ว เรานี่ดูท่าจะเป็นผู้วิเศษไปแล้วกระมัง ก็ไปสงสัย ไปรบกวนจิต พอจิตถูกรบกวนจิตจะถอนออกจากความสงบ ถอนออกจากการรวมดวง ไม่คืบหน้าไป บางคนถอนแล้วถอนเลย บางคนก็สามารถกำหนดกลับเข้าไปใหม่ได้

บางทีก็นึกอมยิ้มอยู่ในใจว่า “โอ! ช่างน่าอัศจรรย์เป็นตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้จริงๆ หนอ

ที่จริง มันไม่มีอะไร มันไม่เป็นอะไร มันเป็นของมันอย่างนั้นเท่านั้นเอง ไม่ได้วิเศษ ไม่ได้อัศจรรย์ พอทำไปไม่ถึงมันก็ไม่เกิดอย่างนั้นเป็นธรรมดา พอทำถึงมันก็เกิด เพราะปัจจัยให้เกิดมันมีพร้อม มันก็เกิดของมันธรรมดาเกิดแล้วมันก็หายไป ที่หายไปก็เพราะปัจจัยมันแยกจากกัน

ถ้าปัจจัยไม่พร้อม อยากจะให้เกิดตามใจอยากมันก็ไม่เกิด เริ่มต้นปฏิบัติมันก็ไม่มีอะไร เพราะมันไม่มีอะไรมาตั้งแต่ต้น พอลงมือปฏิบัติภาวนาไปๆ ความเพียรถึงที่ ปัจจัยพรั่งพร้อม อาการต่างๆ ก็ปรากฏขึ้น พอเลิกปฏิบัติออกจากบัลลังก์สมาธิก็กลับไปสู่ความไม่มี จึงไม่ต้องสงสัยอะไร ตัดความสงสัยเสียให้รู้ว่า มันเป็นธรรมดา

เหมือนก่อนตีระฆังออกบิณฑบาตก็ไม่มีเสียง มีแต่ระฆัง กับฆ้อน ไม่รู้เสียงมาจากไหน พอฆ้อนกระทบระฆังเท่านั้นแหละ ก็เกิดเสียงดังขึ้นมาทันที พอหยุดตี เสียงก็หายไป ไม่รู้เสียงหายไปไหน ทีแรก ก็มีแต่ฆ้อนกับระฆัง ต่อมา พอฆ้อนกระทบระฆังเข้า เกิดมีเสียงขึ้นมา พอเลิกตีเสียงก็หายไป ไม่รู้หายไปไหน เสียงมาจากไหนก็ตอบไม่ได้ เสียงหายไปไหนก็ตอบไม่ได้อีก

นี่เรื่องธรรมดามันเป็นอย่างนี้  จึงไม่ใช่เรื่องที่จะมาสงสัยว่าเสียงมาจากไหน เสียงหายไปไหน เสียงเกิดตามเหตุตามปัจจัย ก็หายไปตามเหตุตามปัจจัย

เหมือน “จิต”  “มโน”  “วิญญาณ” ก็ไม่รู้อยู่ตรงไหน ตรงไหนเป็นจิต ตรงไหนเป็นวิญญาณ ก็ตอบไม่ได้ รู้แต่ว่าจิตเป็นนาม ไม่มีรูปร่าง จิตจะปรากฏก็ต่อเมื่อมีการกระทบ “ผัสสะ” เช่น ตากระทบกับรูป  ตอนแรก ตาก็อยู่ส่วนตา รูปก็อยู่ส่วนรูป วันหนึ่งเกิดตาไปเห็นรูป เกิดความรู้ทางตาขึ้นมา ก็เรียกว่า “จักขุวิญญาณ”เกิดการเห็น การเห็นมาจากไหนก็ไม่รู้

ขั้นแรก มี ๒ อย่าง คือ ตากับรูปต่างคนต่างอยู่

ต่อมาเกิดตาไปเห็นรูปเข้า ก็เกิดความรู้ทางตาขึ้นมา กลายเป็นตาเห็นรูป การเห็นมาจากไหนก็ไม่รู้ จะว่ามาจากดวงตาก็ไม่ใช่ เพราะบางคนดวงตาหลุดหล่นออกมาอยู่ข้างนอก ดวงตานั้นก็มองไม่เห็น ก็คงเหมือนเสียงระฆัง ไม่ตีก็ไม่มีเสียง แต่พอระฆังถูกตี ไม่รู้เสียงมาจากไหน อย่าไปสงสัยให้ตัดความสงสัยเสียตัดวิกิจฉาออกไปแล้วดูเข้ามาที่ใจ

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระวิจิตรธรรมาภรณ์ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ท่านได้รับโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในวันบูรพาจารย์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๙
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระวิจิตรธรรมาภรณ์ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ท่านได้รับโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในวันบูรพาจารย์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๙

โปรดติดตาม สัมมาสมาธิ และรำลึกวันวาน …มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ตอนต่อไป …

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here