ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

กลายเป็นอีกหนึ่งกระแสข่าว เมื่ออินเดียขอคณะสงฆ์ไทยช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในรัฐมหาราษฎร์ ที่มีผู้นับพระพุทธศาสนาถึงร้อยละ ๗๕ ตามรายงานข่าว กงสุลใหญ่เมืองมุมไบ แจ้งถึงว่าทางอินเดียต้องการให้คณะสงฆ์ไทยช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ทั้งเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ทางการทูต พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมระหว่างไทยและอินเดีย ที่สำคัญทางอินเดียต้องการให้คณะสงฆ์ไทยช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในรัฐแห่งนี้ด้วย โดยล่าสุด มส.ได้มีมติเห็นชอบ

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

            จากข่าวสารที่ถูกเผยแผ่นี้ทำให้เห็นความเคลื่อนไหวทางพระพุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเฉพาะอินเดียที่ถือเป็นแดนกำเนิดของพระพุทธศาสนากำลังจะฟื้นคืนมาอีกครั้ง

ถ้ามองจากมุมมองชาวพุทธถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องน่าประกาศให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาที่มีมาโดยตลอดตั้งแต่ที่ประเทศอินเดียมีการฟื้นฟูและเชื่อมสัมพันธ์ทางด้านศาสนามาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๙ โดยในสมัยนั้น รัฐบาลอินเดียจัดงานพุทธชยันตี ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ โดยได้มีการบูรณะสังเวชนียสถานทั้ง ๔ และพุทธสถานทุกแห่ง พร้อมทั้งมีการสร้างที่พักสำหรับผู้จาริกบุญไว้ในที่นั้นๆ และในเวลานั้นได้เชิญให้ประเทศพุทธศาสนาทั้งหลายมาสร้างวัดของตนในที่จัดสรรให้ใกล้พุทธคยา ซึ่งรัฐบาลไทยได้สร้างวัดขึ้นด้วย คือวัดไทยพุทธคยา (Wat Thai Buddhagaya) และมีส่งพระสงฆ์ไทยไปประจำตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นต้นมา

พระภิกษุนวกะโพธิ์ รุ่นที่ ๖ ณ วัดไทยพุทธคยา สาธารณอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พระภิกษุนวกะโพธิ์ รุ่นที่ ๖ ณ วัดไทยพุทธคยา สาธารณอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

 โดยนับเป็นผลที่สืบต่อกันมาระหว่างพระพุทธศาสนาในอินเดียกับไทยที่สืบสายสัมพันธ์กันมาจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นการเชื่อมโยงความเชื่อระหว่างกันและผลที่งอกงามจากความเชื่อเดียวกันนั้นได้เผยแผ่ไปยังภูมิภาคต่างๆ ในประเทศอินเดีย

หากมองจากมุมมองชาวไทย ทำให้เห็นว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในแง่ของพระพุทธศาสนา

แม้พระพุทธศาสนานั้นจะมีอยู่ในหลากหลายประเทศ แต่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้นนับว่าชาวต่างชาติให้ความสนใจอย่างมาก เพราะเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๒ มูลนิธิชาวพุทธอังกฤษที่ลอนดอนประเทศอังกฤษได้นิมนต์พระโพธิญาณเถระที่เรียกกันทั่วไปว่าอาจารย์ชา แห่งวัดหนองป่าพง อุบลราชธานี ให้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ พ.ศ.๒๕๒๐ ต่อมา พระสุเมโธ (ขณะนั้น) ปัจจุบันที่พระราชสุเมธาจารย์ เป็นศิษย์ติดตามไปด้วย และมอบหมายให้ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในกรุงลอนดอน

ได้เป็นผู้นำในการตั้งวัดป่าจิตตวิเวก (Wat Pah Cittaviveka Chithurst Forest Monastery) ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้ตั้งวัดขึ้นใหม่อีกแห่งใกล้ลอนดอนชื่อว่า วัดอมราวตี (Amaravati Buddhist Centre) และมีการเปิดสาขาเพิ่มตามลำดับ ท่านสุเมโธถือเป็นลูกศิษย์พระสายต่างประเทศรุ่นแรกของหลวงพ่อชา เป็นการนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในประเทศที่ไม่มีพระพุทธศาสนา โดยเกิดจากความศรัทธาของเจ้าของประเทศนั้นเอง

ความมั่นใจในพระพุทธศาสนาจึงทำให้เห็นเป็นผลสะท้อนผ่านมุมมองของชาวต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาและเผยแผ่ออกไป เช่นที่มีพระชาวต่างชาติได้สรุปคำสอนในพระพุทธศาสนาไว้ในแง่ที่ว่า

“ไม่มีสงครามศักดิ์สิทธิ์ ในทรรศนะพระพุทธศาสนา การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การเบียดเบียนผู้อื่นด้วยเจตนา ผู้กระทำจะต้องรับกรรมทั้งสิ้น จนกว่าจะหลุดพ้นจากวัฏสงสาร การฆ่าในนามศาสนา ยิ่งกระทำมิได้ในพระพุทธศาสนา…การฝึกสมาธิ สำคัญมากในพระพุทธศาสนา แม้ว่าศาสนาอื่นๆ ก็มีสอนให้คนมีสมาธิ แต่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอน วิปัสสนา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้รู้แจ้งว่า ทุกสรรพสิ่ง เมื่อมีการเกิด ย่อมมีการดับ…”

และยังมีอีกหลายข้อ ที่จริงถ้าเราชาวพุทธไทยพูดกันเองก็อาจจะดูน่าเชื่อถือประมาณหนึ่ง แต่พอมีพระชาวต่างชาติมาพูดไม่ใช่ว่าพูดได้ดีกว่าเรา หรือเก่งกว่าเราหรอก แค่ให้คนที่เขาอยู่ภายนอกมามองบ้างจะรู้ว่าพระพุทธศาสนานั้นเขายกย่องมากขนาดไหน และยิ่งประเทศไทยนั้นก็ล้วนได้รับการยอมรับและให้เกียรติจากต่างชาติเป็นอย่างมาก

แต่ถ้าจะว่าไป… ทำไมตอนนี้เราไม่รู้สึกว่าคนไทยเรายอมรับและให้เกียรติแบบนั้นบ้าง …

พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ป.ธ.๙ ดร. ผู้เขียน
พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ป.ธ.๙ ดร. ผู้เขียน

ท่องเที่ยวโลกกะธรรม ตอน “ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย ? ” โดย กิตติเมธี

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here