น้ำใจบนแผ่นดินพหุวัฒนธรรม

เขียนโดย พระปลัดนรุตม์ชัย อภินนฺโท

ประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา

น้ำใจบนแผ่นดินพหุวัฒนธรรม เขียนโดย พระปลัดนรุตม์ชัย อภินนฺโท  ประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา จากคอลัมน์ จาริกบ้านจารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ )
น้ำใจบนแผ่นดินพหุวัฒนธรรม เขียนโดย พระปลัดนรุตม์ชัย อภินนฺโท ประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา จากคอลัมน์ จาริกบ้านจารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ )

สำนักสงฆ์ราชญาณเวที อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนเล็กๆ ของสังคมพหุวัฒนธรรมมาช้านาน  ด้วยอาศัยความเข้าใจ และความสามัคคีของทุกคนในชุมชน

เมื่อไม่นานมานี้ เครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา ปัตตานี และยะลา พร้อมทั้งชาวบ้านที่เป็นชาวไทยพุทธ ชาวไทมุสลิม และตำรวจตะเวนชายแดนประมาณ  ๕๐ คน ร่วมกันจัดกิจกรรมเปิดป้ายศูนย์ประสานงานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา (หน่วยอำเภอเทพา สำนักสงฆ์ราชญานเวที) และลงชุมชนเยี่ยมครอบครัวชาวพุทธและมุสลิม การเปิดป้ายครั้งนี้ ได้รับความเมตตาจากพระครูพลปุญญาภิบาล เจ้าคณะอำเภอเทพา (ธ) เป็นประธานสงฆ์

กิจกรรมในภาคเช้าเริ่มด้วยพิธีทางศาสนา เมื่อประธานจุดธูปเทียนเสร็จ ก็บูชาพระรัตนตรัยไหว้พระรับศีล ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาท กรวดน้ำรับพร กราบลาพระรัตนตรัย หลังจากนั้นผู้นำศาสนาทั้งสองเป็นตัวแทนเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา มอบเครื่องอุปโภค บริโภค และยารักษาโรค แก่ชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิม จำนวน ๑๕  ครอบครัว

ผู้เขียนพูดคุยกับผู้นำศาสนาอิสลามหรือโต๊ะอิหม่าม  ถามถึงความเป็นอยู่และอาชีพของคนแถวนี้  โต๊ะอิหม่ามเล่าว่า บ้านของผมอยู่ไม่ไกล  เข้าไปในหมู่บ้านด้านข้างสำนักสงฆ์  ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพกรีดยางพารา  มีบางครอบครัวที่ยึดอาชีพออกทะเล  หาปลา ปู หอยตามบรรพบุรุษ และมีอาชีพเสริมคือทำการเกษตรปลูกพืชผัก  แตงโม แตงกวา ฟักทอง ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้เขียนฟังแล้วก็พยักหน้ายิ้ม  เพราะระหว่างทางนั่งรถมาเห็นร้านขายแตงโม ฟักทอง เต็มสองข้างทาง  อิหม่ามเล่าถึงวิถีชีวิตของคนที่นี่ว่า

ชุมชนของเรามีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมาช้านาน เวลาชาวพุทธมีกิจกรรมอะไร  พี่น้องมุสลิมก็มาช่วยเหลือ  เวลาพี่น้องมุสลิมมีอะไร พี่น้องชาวพุทธก็จะมาช่วยเหลือ เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

“ พี่น้องชาวไทยพุทธเจ็บไข้ได้ป่วยไม่มีรถไปโรงพยาบาล ก็ได้ไหว้วานช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ชุมชนเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน”

จากนั้นอิหม่ามถามผู้เขียนว่า  อยู่วัดที่ไหน  จึงตอบว่า อาตมาอยู่ที่วัดเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ คุณโยมรู้จักหรือเปล่า  อิหม่ามยิ้มให้แล้วก็พยักหน้าด้วย บรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น แล้วคณะเราก็เข้าไปในครัวเจอคณะแม่ครัวกำลังจัดเตรียมอาหารสำหรับถวายเพลพระ  

สิ่งที่อาตมาประทับใจคือ แม่ครัวที่เตรียมอาหารส่วนมากเป็นชาวมุสลิม อาตมาถามคณะแม่ครัวว่า วันนี้ทำกับข้าวอะไรบ้าง แม่ครัวท่านหนึ่งก็ว่า เยอะค่ะท่าน วันนี้ที่นี้เปิดป้าย มีคนมาเยอะ เราจะต้องเตรียมกับข้าวถวายพระและเลี้ยงชาวบ้านไว้เยอะหน่อย

ผู้เขียนพูดคุยกับ พระอาจารย์สวัสดิ์ จิตฺตทนฺโต ประธานที่พักสงฆ์ราชญาณเวที ท่านเล่าว่า  ในช่วงเวลาหนึ่งสำนักสงฆ์ไม่มีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษาเป็นเวลานานหลายปี นับแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้น  ก็ได้มาจำพรรษาและทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนเรื่อยมา

“อยู่ช่วงแรกๆ มีความลำบากเป็นอย่างมาก เพราะยังไม่รู้จักใคร มีครอบครัวชาวพุทธที่ใส่บาตรประจำ ๑ ครอบครัว ใส่บ้างไม่ใส่บ้างก็ไม่เกิน ๕ ครอบครัว และก็มีชาวมุสลิม ๑ ครอบครัวที่คอยช่วยเหลือนำอาหารเช้าเพลมาถวาย หรือบางครั้งก็มาช่วยไปซื้อของที่จำเป็นไว้ให้

“ปัจจุบันได้รับการอำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทางมากขึ้น เพราะได้รับการปวารณาช่วยเหลือจากตำรวจตะเวนชายแดนที่ตั้งหน่วยใกล้ๆ สำนักสงฆ์”

หลังจากที่คณะสงฆ์ฉันเพลเสร็จ ญาติโยมรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว ก็ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมผู้สูงอายุ  ผู้พิการในเขตตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา ทางคณะได้มอบสิ่งของอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค แก่ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม จำนวน ๓๐  ครอบครัว ชาวบ้านผู้สูงอายุผู้พิการต่างยิ้มแย้ม เมื่อได้เจอกับพระและอิหม่ามเดินมาด้วยกัน

เราพูดคุยกัน ถามถึงสารทุกข์สุขดิบ ตามประสาญาติพี่น้อง ซึ่งเป็นอีกความรู้สึกหนึ่งที่ผู้เขียนมีความสุขมากๆ ที่เราทั้งสองศาสนาได้ทำกิจกรรมร่วมกันพูดคุย แสดงความรู้สึก ความเป็นห่วงกัน  หลังจากนั้นทางคณะเดินทางกลับ ก่อนกลับชาวบ้านได้บอกกับพวกเราว่า  ขอขอบคุณทุกท่านมาก ที่มาเยี่ยม แล้วยังมีของมาให้อีกด้วย ครั้งหน้ามาอีกแวะมาฉันข้าวที่บ้านด้วยนะ  

ถ้าผู้เขียนไม่ได้มาสัมผัส ก็คงไม่ได้รู้ถึงความอบอุ่น และความรู้สึกดีๆ ที่มีให้กัน ในท่ามกลางของสังคมใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่หลายคนคิดว่ามีความขัดแย้ง แต่ก็ยังมีชุมชนเล็กๆ ที่มีความอบอุ่น ช่วยซึ่งกันและกัน เป็นสังคมแห่งพหุวัฒนธรรมอย่างแท้จริง

น้ำใจบนแผ่นดินพหุวัฒนธรรม เขียนโดย พระปลัดนรุตม์ชัย อภินนฺโท ประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา
น้ำใจบนแผ่นดินพหุวัฒนธรรม เขียนโดย พระปลัดนรุตม์ชัย อภินนฺโท ประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา

น้ำใจบนแผ่นดินพหุวัฒนธรรม เขียนโดย พระปลัดนรุตม์ชัย อภินนฺโท ประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดสงขลา จากคอลัมน์ จาริกบ้านจารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ )

หน้าพระไตรสรณคมน์  นสพ. คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐
หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ. คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here