จิรํ ติฏฺฐตุ พุทธสาสนํ ฯ

ขอพระพุทธศาสนาจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

ญาณวชิระ

 หนังสือ "ลูกผู้ชายต้องบวช"  โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ  /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้  / แบบปก - รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/  ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ  จนกว่าหนังสือจะหมด
หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

ทำไม… ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๑๔)

การจัดเตรียมอัฐบริขาร

และเครื่องใช้สำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่

โดย ญาณวชิระ

พิธีเตรียมบรรพชน อุปสมบท "นวกะโพธิ รุ่นที่ ๗"  ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พิธีเตรียมบรรพชน อุปสมบท “นวกะโพธิ รุ่นที่ ๗” ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พิธีเตรียมบรรพชา อุปสมบท "นวกะโพธิ รุ่นที่ ๗" ปีพ.ศ.๒๕๖๑   ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พิธีเตรียมบรรพชา อุปสมบท “นวกะโพธิ รุ่นที่ ๗” ปีพ.ศ.๒๕๖๑ ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

            อัฐบริขาร แปลว่า บริขาร ๘ อย่าง การจัดเตรียมอัฐบริขารและเครื่องใช้สำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่  ควรปรึกษาพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส หรือพระสงฆ์ที่ได้รับมอบหมาย จะได้จัดให้ถูกต้องเหมาะสมตามกำหนดระยะเวลาที่บวช เนื่องจากเครื่องใช้บางอย่างไม่จำเป็น  ไม่มีก็สามารถบวชได้

๑. บริขารที่จำเป็น เรียกว่า  อัฐบริขาร  หรือบริขาร ๘  เป็นข้อกำหนดทางพระวินัยที่ขาดไม่ได้คือ สบง จีวร สังฆาฏิ ประคตเอว บาตร มีดโกน เข็ม ธมกรก (กระบอกกรองน้ำ) อธิบายในรายละเอียด ดังนี้

พิธีอุปสมบท "นวกะโพธิ รุ่นที่ ๗" ปีพ.ศ.๒๕๖๑  ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พิธีอุปสมบท “นวกะโพธิ รุ่นที่ ๗” ปีพ.ศ.๒๕๖๑ ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

            (๑) ไตรครอง  ผ้าไตรครองประกอบด้วยผ้า  ๓  ผืนหลัก คือ  ๑. จีวร ๒. สังฆาฏิ  ๓. สบง    (และผ้าประกอบไตรครอง    ๔  ผืน    คือ   ๑. ผ้ากราบ ๒. ผ้าอังสะ ๓. ผ้ารัดอก ๔. รัดประคต)

(๒) บาตร (พร้อมฝาและเชิงบาตร)  ถลกบาตร  สายโยง  ถุงตะเคียว (ตาข่ายคลุมบาตรและสายโยงสำหรับใช้สะพาย)

  (๓) มีดโกน สมัยโบราณมีหินลับมีดประกอบเข้ามาด้วย  แต่ปัจจุบันหินลับมีดไม่จำเป็น  เนื่องจากนิยมใช้ใบมีดโกนสำเร็จรูป

  (๔) ประคตเอว

   (๕) เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็ม และด้าย

  (๖) กระบอกกรองน้ำ  เรียกว่า ธมกรก

สำหรับ มีดโกน เข็มเย็บผ้า กล่องเข็ม  ด้าย  และกระบอกกรองน้ำ (ธมกรก) ให้ใส่ลงไปในบาตร

            ในสมัยปัจจุบัน บริขารทั้ง ๘ อย่างนี้ บางอย่างอาจจะดูเกินความจำเป็น  เช่น ธมกรก (กระบอกกรองน้ำ) พระภิกษุแทบจะไม่ได้ใช้   เนื่องจากมีกระบอกกรองน้ำแบบสมัยใหม่ แต่ก็เป็นข้อกำหนดทางพระวินัย  เป็นแบบแผนข้อปฏิบัติสำหรับผู้จะบวชใหม่ จะต้องมีบริขารครบจึงจะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้   อัฐบริขารทั้ง ๘ ข้างต้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นขาดไม่ได้

. บริขารที่ไม่จำเป็น เพราะไม่เกี่ยวกับข้องกับพิธีการบวช แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่จำเป็นสำหรับการดำนินชีวิตของพระภิกษุ ในพิธีอุปสมบทบริขารเหล่านี้จะมีก็ได้ไม่มีก็ได้  สามารถประกอบพิธีอุปสมบทได้  หรือภายหลังจากอุปสมบทแล้ว จะจัดหามาถวายก็ได้ 

ต่อไปนี้จะแนะนำเครื่องใช้สำหรับพระภิกษุใหม่   เครื่องใช้ดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่าง  แต่ให้เลือกที่คิดว่าจะได้ใช้จริง  เช่น มุ้ง ในเมืองกรุงไม่จำเป็น เพราะกุฏิส่วนมากติดมุ้งลวด  ส่วนในภูมิภาคหรือชนบท อาจพิจารณาตามความเหมาะสม เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีความเป็นอยู่แตกต่างกันไป

๑ .ไตรอาศัย ประกอบด้วยผ้า ๓ ผืน คือ จีวร ๑ สบง ๑ อังสะ ๑ (บางทีก็มีผ้าอาบ  เพิ่มเข้ามา) , ๒. เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง ๓. ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า ๔. หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมะ โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก ๕. ขันอาบน้ำ สบู่ และกล่องสบู่ แปรงสีฟัน   และยาสีฟัน   ผ้า กระดาษชำระ ๖. ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน พัดลม ๗. กระโถน ๘. สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ และ ๙ .อาสนะนั่ง

พิธีบวชนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พิธีบวชนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

            ในที่นี้ขอแนะนำเครื่องใช้ที่พระภิกษุได้ใช้จริง คือ ไตรอาศัย ประกอบด้วย จีวร ๑ สบง ๑ อังสะ ๑ ใช้เป็นผ้าสำหรับผลัดเปลี่ยน ในกรณีบวชน้อยวันจะมีเฉพาะสบงกับอังสะก็ได้ นอกจากนั้นก็มีผ้าอาบ  เสื่อ หมอน ผ้าห่ม  ย่าม ผ้าเช็ดตัว   ร่ม รองเท้า หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมะ ขันอาบน้ำ สบู่  กล่องสบู่   แปรงสีฟัน   ยาสีฟัน

สำหรับ ตาลปัตร โคมไฟอ่านหนังสือ  ไฟฉาย  นาฬิกาปลุก มุ้ง พัดลม แก้วน้ำ กระติกน้ำร้อน จานข้าว ช้อนส้อม   ถ้าทางวัดไม่มี  ควรจัดหามาถวายภายหลัง

บริขารเหล่านี้ควรปรึกษาพระอุปัชฌาย์   หรือพระสงฆ์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลนาค  เพราะหากไปปรึกษาร้านค้า เขาก็จัดให้ทุกอย่าง เนื่องจากพ่อค้าแม่ค้า ย่อมต้องการขายสินค้าอยู่แล้ว ของบางอย่างไม่จำเป็น แถมยังต้องมาเป็นภาระทางวัดที่จะต้องจัดเก็บอีกด้วย  ผู้บวชจึงควรพิจารณาให้เหมาะสม

โปรดติดตามตอนต่อไป …

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๑๔ ) “การจัดเตรียมอัฐบริขาร และเครื่องใช้สำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่” โดย ญาณวชิระ

ญาณวชิระ คือ นามปากกาของพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น
ญาณวชิระ คือ นามปากกาของพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น

ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของ ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ท่านเขียนหนังสือธรรมะมากมาย แต่ละเล่มล้วนเต็มไปด้วยสารัตถะแห่งธรรมที่เข้าใจง่าย และนำมาปฏิบัติแก้ทุกข์ได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับ คณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร , หลักแห่งการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ , มหาสมัยสูตร ,การ์ตูนแอนนิเมชั่น เรื่อง ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุ ,ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย, ประทีปแห่งแม่น้ำมูล , ทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ,ตำนานภูเขาทอง , ลูกผู้ชายต้องบวช , สมาธิเบื้องต้นสำหรับชาวบ้าน ,หนึ่งหน้าประวัติศาสตร์แห่งการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ,บามิยัน ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อันรุ่งเรือง และมืดมนยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา, สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ , พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นมาของพระอภิธรรม เป็นต้น

หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here