ต่อยอดความดี
ตอบแทนคุณของพระองค์และแผ่นดิน
เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท
ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ / กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม /สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
แม้กาลเวลาจะผ่านมานานเท่าไหร่ ถ้าหากเรามีความประทับใจในเรื่องอะไร หรือบุคคลใด บุคคลนั้นก็จะอยู่ในใจของเราตลอดไป
ย้อนหลังไปเมื่อครั้งพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงทำกิจกรรมเยี่ยมพระ พบปะโยม แล้วได้เดินทางไปที่ชุมชนแห่งหนึ่ง ไปเจอป้าเสริม แก้วสุข บ้านของป้าเปิดร้านขายของชำ มองดูภายนอกก็ไม่ต่างจากร้านทั่วไป แต่เมื่อเข้าไปด้านในทำให้เห็นฝาเรือนติดพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ เต็มไปหมด
ป้าเสริมเมื่อเห็นพระสงฆ์ที่ไม่คุ้นหน้ามาก็ดีใจ ตั้งใจนำเสนอเรื่องราวความประทับเมื่อครั้งที่ได้รับเสด็จให้ฟัง ป้าบอกว่า ยังจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่มีวันลืม ย้อนหลังไปเมื่อปี ๒๕๒๔ ณ ชุมชนบาโงไอซา หรือชาวบ้านเรียกว่า ชุมชนหลังเขาแห่งนี้ ซึ่งอยู่ในตำบลบุกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ชายแดนเป็นถิ่นทุรกันดารมาก ไม่มีถนนที่สะดวกสบาย ไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนอย่างในปัจจุบัน
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาที่หมู่บ้านเพื่อเยี่ยมประชนชน ระหว่างที่เสด็จผ่านมาที่บ้านของป้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเข้ามาในบ้านแล้วตรัสถามว่า อยากได้อะไร ป้าก็กราบทูลไปว่า อยากได้ไฟฟ้า”
“หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อพระองค์เสด็จกลับไป ชุมชนบาโงไอซาก็เริ่มมีไฟฟ้าใช้ มีถนนที่ดีใช้ การที่พระองค์ได้ให้อะไรกับชุมชนในทุกพื้นที่ เป็นการให้ที่ตรงกับความต้องการ
“เป็นการให้ที่ได้ศึกษาสำรวจความต้องการจากประชาชนมาก่อน เป็นการให้ที่บำบัดทุกข์บำรุงสุข การให้ของพระองค์จึงอยู่ในใจของประชาชนอย่างไม่มีวันลืม”
ป้าเสริมเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ในบริเวณที่พระองค์เสด็จเข้ามาในบ้านไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงทุกพื้นที่ แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในบริเวณนั้น คือพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ เมื่อติดแล้วไม่เคยปลดออกเลย มีแต่ติดเพิ่มขึ้น ทุกๆ โอกาสที่ได้รับมา
ป้าเสริมได้ฝากไว้ว่า ชีวิตนี้มีโอกาสทำความดีอะไรถวายพระองค์ท่าน อะไรที่ทำได้ก็จะทำ จนกว่าจะไม่มีลมหายใจ ถือว่าเป็นการตอบแทนคุณของพระองค์ ตอบแทนคุณของแผ่นดิน
ทราบว่าที่ผ่านมามีการส่งลองกองมาแจกประชาชนที่สนามหลวง ป้าเสริมก็เป็นผู้หนึ่งที่ยกสวนผลไม้ถวายพระองค์ นั่นก็คือหนึ่งความดีที่พระสกนิกรของพระองค์ในทุกพื้นที่ได้ทำถวายพระองค์
ขอเล่าถึงการเดินตามรอยทางแห่งความดีอีกที่หนึ่ง สืบเนื่องจากการจัดอบรมโครงการเยาวชนอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลที่ผ่านมา แล้วมีผู้มีจิตศรัทธาคุณจิตสงบ ตระกูลโชคชัย ได้ถวายหนังสือ ภาพเล่าพุทธประวัติ จำนวน ๖๐๐ เล่ม แด่คณะพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อบริจาคเข้าห้องสมุด มอบให้กับเยาวชน รวมถึงการนำไปทำกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ยังมีผู้มีจิตศรัทธา คุณรุ่งนภา ปัญญาวรากร คุณวิไล พชรโชค พร้อมครอบครัว ได้บริจาคเสื้อให้กับเครือข่ายเยาวชนจิตอาสาและเครือข่ายชาวพุทธ จังหวัดละ ๑๐๐ ตัว รวม ๕๐๐ ตัว โดยตัวเสื้อนั้นได้ปักโลโก้ เป็นใบโพธิ์สี่ใบล้อมกัน มีมือสองมือรองรับ แล้วมีรวงข้าวรองรับอีกที โดยคุณโยมได้ให้ความหมายว่า รวงข้าว หมายถึง แผ่นดินไทย ที่รองรับพระพุทธศาสนามีความอุดมสมบูรณ์ มือ หมายถึงมือบรรพบุรุษที่อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา สืบเนื่องมา ใบโพธิ์ แทนหัวใจชาวพุทธที่ต้องประสานช่วยเหลือกัน
ทั้งหมดนั้นก็เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ การทำความดีที่มีพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างนั้น เป็นความดีที่ต่อยอดความดี
เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนเดินทางไปร่วมประชุมเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาที่วัดนาม่วง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา แล้วได้ฟังเรื่องราวการทำความดีของเด็กๆ ทุกเย็นวันพฤหัสบดีเด็กๆ มาทำวัดสวดมนต์เย็น และสวดบทพระสะหัสสะนัย* ซึ่งเป็นบทหนึ่งในพระอภิธรรมปิฎกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาและเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
คุณโยมท่านหนึ่งที่อำนวยความสะดวกการทำกิจกรรมเล่าให้ฟังว่า คุณครูจะพานักเรียนที่มีความสะดวกและสมัครใจ ซึ่งส่วนใหญ่ตัวเล็กๆ มาร่วมสวดมนต์แปลในช่วงเวลา ๑๘.๐๐ น. จนถึงเวลา ๒๐.๓๐ น. ก็จะพักทานน้ำปานะ หลังจากนั้นก็จะเริ่มสวดบทพระสะหัสสะนัย จบแล้วก็ค่อยแผ่เมตตา กราบลาพระรัตนตรัย ทำภารกิจส่วนตัวเข้านอนที่วัด รุ่งขึ้นก็สวดมนต์ทำวัตรย่อๆแล้วก็กลับบ้านเตรียมตัวไปโรงเรียน
คุณโยมเล่าให้ฟังแล้ว กลัวพระจะนึกภาพไม่ออกก็เลยเดินไปหยิบภาพกิจกรรมมาให้ดู ผู้เขียนมองดูภาพเห็นเสื้อที่เด็กๆใส่ สีขาวบ้าง สีดำบ้าง จำได้ว่าสีดำเป็นเสื้อที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคมา ก็เลยถามว่าที่นี่เด็กได้เสื้อกี่ตัว คุณโยมก็เล่าให้ฟังว่า เสื้อสำหรับเด็กพระอาจารย์ท่านให้มา ๑๕ ตัว คุณครูตั้งกติกากับเด็กๆไว้ว่า ถ้าใครมาทำวัตรสวดมนต์เย็นแล้วนอนที่วัด ครบ ๗ ครั้ง ก็รับเสื้อไปเลย หมดแล้วหมดเลย
ผู้เขียนได้ฟังแล้วก็อยากจะชื่นชมคุณครู ที่รู้จักสร้างคุณค่าของการให้ ทำให้การให้ในครั้งนี้สำคัญไม่แพ้คุณค่าของความดีที่เด็กๆได้ลงมือทำ ขอนำมาแบ่งปันเล่าเรื่องนี้ให้ทุกท่านฟัง เป็นความสุขใจที่ได้ยิน แม้อาตมาจะไม่ใช่เจ้าของเสื้อ แต่ก็ยังรู้สึกดี การเดินทางจากกรุงเทพฯลงมาสงขลา แล้วได้ยินการทำดีอย่างนี้ ทำให้ความรู้สึกดีนี้กลับตามมาถึงกรุงเทพฯด้วย
การทำความดี ที่ใช้ความดีต่อความดี สร้างความสุขใจให้ทุกครั้งเมื่อนึกถึง ผู้เขียนเห็นเด็กทำความดีแล้วก็ถึงโยมแม่ อยากจะให้โยมแม่ได้เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญด้วย เพราะโยมแม่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปสวดมนต์นั่งสมาธิที่วัดเหมือนเด็กๆ ก็เลยนำปัจจัยที่โยมแม่ได้ทำบุญไว้กับพระลูกชาย และปัจจัยที่กัลยาณมิตรได้ทำบุญไว้ เป็นเจ้าภาพน้ำปานะมอบกำลังใจให้เด็กๆในการทำความดีถวายพระองค์ท่านต่อไป ขอทุกท่านจงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ขอให้บุญรักษา ธรรมคุ้มครอง …
“ต่อยอดความดี ตอบแทนคุณของพระองค์ และแผ่นดิน” เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม /สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ จากคอลัมน์ จาริกบ้าานจารึกธรรม หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๓
*หมายเหตุ : บทพระสะหัสสะนัย เป็นบทหนึ่งในพระอภิธรรมปิฎกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาและเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
พระสะหัสสะนัย
สุทธิกะปะฏิปะทา
(กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา)
กะตะเม ธัมเม กุสะมา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภัญญัง ทุกขาปะฏิปะทัง
ขิปปาภิกญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภัญญัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุขาปะ-
ฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป
โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
สุญญะตะมูละกะปะฏิมา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธา-
ภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภัญญัง สุญญะตัง ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
สุญญะตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
อัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะ-
ณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหายนายะ ปะฐะ-
มายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง
ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิ-
ปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ
อิเม ธัมมา กุสะลา
อะธิปะติ
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหา-
นายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะหัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิตเตยยัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ
อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารนัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง (อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง
วิมังสาธิปัตเตยยัง อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิ-
ปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง) ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
ธรรมวิจัย : บทพระสะหัสสะนัย เป็นบทหนึ่งในพระอภิธรรมปิฎกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาและเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๑. ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ความหมายคือ ปฏิบัติลำบาก เข้าถึงได้ช้า อาจหมายถึง บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรมแต่เหตุต่างๆ ไม่เกื้อหนุนให้ปฏิบัติธรรม แต่ก็มีความเพียรในการปฏิบัติไม่ย่อท้อ ความทุกข์และความเนิ่นช้ามีหลายสาเหตุ จึงต้องมีครูบาอาจารย์คอยแนะนำในเบื้องต้น ยิ่งไปกว่านั้น อาจต้องกลับมาทบทวนเรื่องการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ด้วย และฝึกสมาธิให้ถูกต้อง ปัญญาในการเห็นธรรมจึงจะก่อเกิดในที่สุด แม้ว่าจะเข้าถึงธรรมได้ช้า และต้องใช้ความเพียรเป็นเวลานานก็ตาม แต่ก็มีโอกาสบรรลุธรรม
๒. ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ความหมายคือ ปฏิบัติลำบาก แต่เข้าถึงได้เร็ว หมายถึง บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรมแต่เหตุต่างๆ ไม่เกื้อหนุนให้ปฏิบัติธรรม แต่พอปฏิบัติก็สามารถเข้าถึงได้ไว หรือจะตีความว่า การปฏิบัติลำบากก็จริงอยู่ อาจมีวิบากที่ต้องใช้ไปก่อน แต่ก็มีความเพียรไม่ย่อท้อ จนวิบากกรรมเจือจาง และหมดลง อริยมรรคก็เปิด ก็เข้าถึงธรรมได้ไว
๓. สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ความหมายคือ ปฏิบัติสะดวก แต่เข้าถึงได้ช้า หมายถึง บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรม มีเหตุอันเหมาะสม เกื้อกูลแก่การประพฤติธรรม มีที่สัปปายะอย่างยิ่ง แต่พอปฏิบัติธรรมก็เข้าถึงได้ช้า ต้องใช้ความเพียรอยู่นาน หรืออาจหมายถึงว่า มีผู้เกื้อหนุนการปฏิบัติให้ปฏิบัติอย่างสะดวกสบาย ควาามสบายอาจบดบังทุกขสัจ ทำให้เพลิน จนกระทั่งมีความเพียรอย่างไม่ย่อท้อ ก็สามารถเข้าถึงธรรมได้
๔. สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ความหมายคือ ปฏิบัติสะดวก เข้าถึงได้เร็ว หมายถึง บุคคลผู้ที่ปฏิบัติธรรม มีเหตุอันเหมาะสม เกื้อกูลแก่การประพฤติธรรม มีที่สัปปายะอย่างยิ่ง และเวลาปฏิบัติธรรมก็สามารถเข้าถึงได้เร็ว อาจหมายถึงว่า การบำเพ็ญเพียรบารมี ๑๐ มาจนเต็มรอบแล้ว ไม่มีวิบากกรรมใดๆ มาตัดรอนอีก จึงเข้าถึงกระแสธรรม จนบรรลุธรรมได้ง่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็อาจเป็นเพราะบำเพ็ญบารมีธรรมมาหลายภพชาติแล้วก็เป็นได้