จากหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ดำเนินการจัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร , หนังสือ “พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ : เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์เพื่อชีวิตดีงาม ” เรียบเรียงโดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม) และ จากบทความเรื่อง “๑๗๐ ปี สงกรานต์ ‘มหาสมัยสูตร’ ” คอลัมน์ หัวใจไทย โดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ นสพ.คมชัดลึก

ความเป็นมาและอานุภาพ “มหาสมัยสูตร” พระพุทธมนต์เหนือยุคสมัย โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ในขณะนั้น กับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ในขณะนั้น กับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

มหาสมัยสูตร

เพื่อให้เทวดาประชุมกันในเหตุการณ์ที่สำคัญ

พระสุตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค และสุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค

บทนำเข้าสู่เรื่อง

ก่อนหน้าที่คนไทยกำหนดเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ พิธีสวดมหาสมัยเป็นพิธีสวดมนต์ใหญ่ประจำปี เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ของคนไทย ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญที่ทางบ้านเมืองจะต้องร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ สำหรับประชาชนในท้องถิ่น พอถึงวันสงกรานต์ ต่างก็จัดให้มีพิธีสวดมหาสมัยขึ้นในหมุ่บ้านหรือชุมชนของตนเช่นกัน แตกต่างกันไปตามความนิยมของที่นั้นๆ นอกจากนั้น เมื่อถึงฤดูฝนใหม่ ก่อนจะลงนาหว่านไถ คนไทยยังนิยมพระมาสวดมหาสมัยสูตร เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนลงมือหว่านไถในฤดูกาลใหม่อีกด้วย

         

จากหนังสือ "ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร" เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ดำเนินการจัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
จากหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ดำเนินการจัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

          พิธีเจริญพระพุทธมนต์มหาสมัยสูตรที่วัดสระเกศ สืบเนื่องมาตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เสกน้ำพระพุทธมนต์ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ที่บริเวณสระน้ำวัดสะแก ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดสระเกศในปัจจุบัน

          จากนั้นจึงประกอบพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก ก่อนปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์ผ่านพิภพเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ภายหลังเมื่อพระองค์ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทรงเปลี่ยนนาม “วัดสะแก” เป็น “วัดสระเกศ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้ต้องตามสถานที่ที่พระองค์ประกอบพิธีมูรธาภิเษก วัดสระเกศจึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และราชวงศ์จักรี

          คณะสงฆ์วัดสระเกศได้ยึดถือและรักษาประเพณีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อประกอบพิธีทำน้ำพระพุทธมนต์ในวาระที่สำคัญ ตามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ สืบต่อมา

          ครั้นถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ มหาสมัยสูตรขึ้น โดยโปรดให้ประกอบพิธี ณ พระวิหารพระอัฏฐารส วัดสระเกศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นเทศกาลปีใหม่ ตามธรรมเนียมโบราณของชาวไทย เพื่อนำน้ำพระพุทธมนต์ไปแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนนำไปประพรมบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ตลอดจนการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่ออวยชัยให้เกิดสิริมงคลแก่กันและกัน มีความร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป

แต่เนื่องจากมหาสมัยสูตรมีเนื้อความยาว จึงไม่นิยมสวดเต็มสูตร จะตัดสวดเฉพาะตอนที่ว่าด้วยการประชุมของท้าวจตุโลกบาล อันแสดงถึงการได้รับการคุ้มครองจากทิศทั้ง ๔ เมื่อเสร็จพิธีชาวบ้านก็จะนำน้ำพระพุทธมนต์ไปประพรมให้ลูกหลาน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย เรือกสวน ไร่นา ข้าวของเครื่องใช้ ยวดยานพาหนะ ตลอดจนสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข

          การที่รัชกาลที่ ๓ โปรดให้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ มหาสมัยสูตร ณ พระวิหารพระอัฏฐารส เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า พระอัฏฐารส เป็น “พระพุทธรูปเกี่ยวกับเหตุการณ์ในมหาสมัยสูตร สืบเนื่องมาจากพระประยูรญาติของพระพุทธองค์เกิดความแตกแยกกันอย่างรุนแรง จนถึงขั้นยกกองทัพมาประจันหน้าจะทำสงครามกัน เพราะแบ่งผลประโยชน์เรื่องน้ำไม่ลงตัว พระพุทธองค์จึงเสด็จมาห้ามทัพ ทำให้สงครามแย่งน้ำยุติลง เกิดความสงบสุขแก่ประชาชนทั้งสองพระนคร”

พระอัฏฐารส ประดิษฐานที่พระวิหาร พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระอัฏฐารส ประดิษฐานที่พระวิหาร พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

          สำหรับ พระอัฏฐารส เป็น พระพุทธรูปยืน ศิลปะสกุลช่างสมัยสุโขทัยตอนต้น อายุไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปี หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ โดยไม่มีการเชื่อมต่อ มีความสูงถึง ๒๑ ศอก ๒ นิ้ว นับว่าเป็นการหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย และนับว่าเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องจากเดิมประดิษฐานอยู่ที่ วัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็น วัดประจำพระราชวังจันทน์

โดยมีคติการสร้าง พระอัฏฐารส จากคติ พุทธธรรม ๑๘ ประการของพระพุทธเจ้า ปรากฏอยู่ในสุมังคลวิลาสินี อรรถกถา พระสุตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ดังนี้ ๑. พระตถาคตไม่มีกายทุจริตฯ ๒. พระตถาคตไม่มีวจีทุจริตฯ ๓.พระตถาคตไม่มีมโนทุจริตฯ ๔.พระพุทธเจ้าทรงมีญาณรู้อดีตปรุโปร่งฯ ๕. พระพุทธเจ้าทรงมีญาณรู้อนาคตปรุโปร่งฯ ๖.พระพุทธเจ้าทรงมีญาณรู้ปัจจุบันปรุโปร่งฯ ๗.พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำงานทั้งปวงด้วยความรอบรู้ ฯ ๘.พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเจรจาปราศรัยทุกอย่างด้วยความรอบรู้ฯ ๙.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ทรงพระดำริตรึกตรองทุกอย่างด้วยความรอบรู้ ๑๐.ไม่มีความเสื่อมฉันทะฯ ๑๑.ไม่มีความเสื่อมจากความเพียรพยายามฯ ๑๒.สติสัมปชัญญะไม่มีเสื่อม ๑๓. ไม่มีการเล่นฯ ๑๔.ไม่มีพลั้งเผลอฯ ๑๕.ไม่มีพลาดฯ ๑๖.ไม่มีผลุนผลันฯ ๑๗.ไม่มีย่อท้อฯ ๑๘.ไม่มีอกุศลจิตฯ (จากหนังสือ ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) กองทุนพุทธานุภาพ จัดพิมพ์ ฉบับธรรมทาน)

          ต่อมารัชกาลที่ ๓ มีพระราชดำริที่จะให้มีพระอัฏฐารสไว้ประจำพระนคร จึงโปรดให้อัญเชิญพระอัฏฐารสจากวัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก มาประดิษฐานไว้ ณ พระวิหาร วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

มื่อครั้งย้ายพระอัฏฐารสมากรุงเทพนั้น ได้ล่องแพมาตามคลองน้ำ เนื่องจากพระอัฏฐารสมีขนาดใหญ่จึงกดทับแพให้จมน้ำมองเห็นเฉาะองค์พระ คนก็ลืออันว่าพระลอยน้ำ ผ่านมาถึงไหน ประชาชนสองฝากฝั่งที่ทราบข่าวก็มารอรับเป็นจำนวนมาก จนมาถึงท่าที่จะขึ้นที่กรุงเทพ ปรากฏว่ามีประชาชนหลั่งไหลมาดูพระลอยน้ำและมาช่วยกันชักพระขึ้นเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าคนที่มาเหลือจะคณานับได้ จนเป็นคำพูดติดปากว่า มีคนถึงสามแสนคน  ย่านที่ชักพระอัฏฐารสขึ้นจากท่าน้ำเรียกว่า “ย่านสามแสน”  ต่อมา จึงกลายเป็น “สามเสน”  ซึ่งเป็นชื่อย่านในปัจจุบัน

          ธรรมเนียมการสร้างพระอัฏฐารส พระพุทธรูปยืนไว้ประจำพระนคร ก็เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม ป้องกันความแตกแยกของคนในชาติ ให้คนในชาติเกิดความรักความสามัคคี และให้ประเทศชาติสถิตสถาพรมั่นคงยั่งยืนนาน ประหนึ่งพระพุทธปฏิมากรทรงยืนสถิตสถาพรเป็นนิรันดร์

พระอัฏฐารส ประดิษฐานที่พระวิหาร พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระอัฏฐารส ประดิษฐานที่พระวิหาร พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ต่อมา ทางราชการบ้านเมืองกำหนดวันขึ้นปีใหม่ จากวันสงกรานต์ไปใช้ตามความนิยมของสากล เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ พิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยก็ลดความสำคัญลง และเริ่มเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของคนไทย

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) ให้จัดมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์รับปีใหม่ หรือที่เรียกว่า สวดมนต์ข้ามปีขึ้น ในปีพ.ศ.๒๕๔๗ โดยถือตามคตินิยมปีใหม่แบบสมัยปัจจุบัน  และทางวัดได้นำน้ำพระพุทธมนต์บทมหาสมัยสูตรมาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาพิธี  ตามธรรมเนียมเทศกาลปีใหม่โบราณของชาวไทยด้วย

มหาสมัยสูตรจึงเป็นพระสูตรสำคัญในการเปลี่ยนผ่านศักราชใหม่แบบสากลไปแล้วในปัจจุบันนี้ ซึ่งน่าจะได้มีการพลิกฟื้นการสวดมหาสมัยสูตรและการสวดมนต์ข้ามปีในช่วงปีใหม่ไทย หรือสงกรานต์กันด้วย เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสกลับไปหารากของเราดังเช่นที่บูรมหากษัตริย์ไทย บูรพาจารย์ และบรรพบุรุษได้สานประเพณีอันเป็นสิริมงคลไว้อย่างงดงาม

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในปีพ.ศ.๒๕๕๙
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในปีพ.ศ.๒๕๕๙

เพราะความเชื่อที่ว่ามหาสมัยสูตรนี้เป็นที่รักของเทวดา เมื่อสวดพระสูตรนี้แล้ว เหล่าเทวดาทั้งหลายก็จะประชุมกันฟังพระสูตร เมื่อเหล่าเทวดาประชุมกัน สิ่งที่ไม่ดีก็จะถอยร่นออกไป เป็นการกันเอาสิ่งที่ไม่ดีออกไปด้วย

อานุภาพการป้องกัน

มหาสมัยสูตร เป็นสูตรว่าด้วยสมัยเป็นที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพ ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะมีการประชุมใหญ่ของเหล่าเทวดาทั้งหลายเช่นนี้เพียงครั้งเดียว เทวดาทั้งหลายจึงพากันคิดว่า พวกเราจะฟังพระสูตรนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมหาสมัยสูตรจบ เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฏิได้บรรลุพระอรหัต พระสูตรนี้จึงเป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา

เทวดาทั้งหลายต่างก็คิดว่าเป็นพระสูตรของตน เมื่อสวดพระสูตรนี้จะทำให้เหล่าเทวดาทั้งหลายประชุมกัน เมื่อเทวดาประชุมกัน ก็จะทำให้สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายถอยห่างออกไป เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ดี ไม่ให้เข้ามาใกล้ตัวเรานั่นเอง

พระอรรถกถาจารย์จึงแนะนำว่า “มหาสมัยสูตรนี้เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าวมงคลกถา ควรสวดพระสูตรนี้ “

หมายความว่า ในสถานที่สำคัญที่จะประกอบกิจใหม่ หรือในสถานที่ใดต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ เมื่อจะสวดมงคลกถาในสถานที่เช่นนี้ ควรสวดมหาสมัยสูตรนี้

เนื่องจาก มหาสมัยสูตร เป็นสูตรใหญ่ จึงไม่นิยมสวดในงานบุญทั่วๆ ไป แต่จะนิยมนำไปสวดเฉพาะในพิธีที่เกี่ยวข้องกับความอยู่เย็นเป็นสุขของทางบ้านเมืองเป็นหลัก

การเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ กราบขอบพระคุณ ภาพจาก สำนักงาน ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
การเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ กราบขอบพระคุณ ภาพจาก สำนักงาน ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ในบทขัดตำนาน ท่านได้ประพันธ์เป็นคาถาแสดงอานุภาพมหาสมัยสูตรไว้ดังนี้

ทุลละภังทัสสะนังยัสสะ สัมพุทธัสสะ อะภิณหะโส
โลกัมหิอันธะภูตัสมิง ทุลละภุปปาทะสัตถุโน ฯ
สักเกสุ กะปิละวัตถุสมิง วิหะรันตัง มะหาวะเน
ตันทัสสะนายะสัมพุทธัง ภิกขุสังฆัญจะ นิมมะลัง
ทะสะธาสังคะเณยยาสุ โลกะธาตูสุ เทวะตา
อะเนกาอัปปะเมยยาวะ โมทะมานา สะมาคะตา
ตาสังปิยังมะนาปัญจะ จิตตัสโสทัคคิยาวะหัง
ยังโสเทเสสิสัมพุทโธ หาสะยันโตติ เม สุตัง
เทวะกายัปปะหาสัตถังตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส ฯ

คำแปล

“ขอเชิญเหล่าเทวดาทั้งหลาย ทั้งภุมมเทวดา และมิใช่ภุมมเทวดา ผู้มีจิตสงบถึงพระสรณตรัยว่าเป็นที่พึ่ง ผู้ขวนขวายในการยึดถือเอาแต่สิ่งที่นับว่าเป็นคุณประโยชน์อยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ ผู้อยู่ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี รวมทั้งเหล่าเทวดาทั้งหลาย ที่เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบแล้วเหล่านั้น ซึ่งสถิตอยู่ ณ ภูเขาหลวงชื่อเมรุราช ซึ่งเป็นภูเขาแท่งทึบล้วนแล้วด้วยทองอันประเสริฐ จงพร้อมเพรียงกันมาฟังคำของพระมุนีเจ้าผู้ประเสริฐ ซึ่งเป็นคำล้ำเลิศประกอบด้วยเหตุผล กันเถิด

ขอบรรดายักษ์และทวยเทพกับทั้งพรหมทั้งหลาย ในทุกห้วงจักรวาลทั่วทุกตน จงพร้อมใจกันอนุโมทนาบุญที่ทำให้สมบัติทั้งปวงสำเร็จได้ ซึ่งพวกเราทั้งหลายได้กระทำกันแล้ว จงชื่นชมยินดีในพระศาสนาอย่าได้ประมาท ในการทำหน้าที่คุ้มครองรักษาอย่างดียิ่ง

“ขอความเจริญจงมีแก่พระศาสนา และแก่ชาวโลกตลอดกาลทุกเมื่อ อนึ่งเล่า ขอเหล่าเทวดาทั้งหลาย จงคุ้มครองรักษาพระศาสนาและชาวโลก กาลทุกเมื่อด้วยเถิด

“ขอทุกท่านพร้อมด้วยบริวารทั้งหลายของตนๆ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์ จงมีความสบายใจพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวง

“ขอเหล่าเทวดาทั้งหลาย จงรักการคุ้มครองป้องกัน ภัยจากพระราชา จากโจร จากมนุษย์ จากไฟ จากน้ำ จากปีศาจ จากหลักตอ จากขวากหนาม จากนักษัตรร้าย จากโรคในชนบท จากอสัทธรรม จากสิ่งที่มองไม่เห็น จากอสัตบุรุษ จากภัยต่างๆ อันเกิดจากช้างดุ ม้าดุ เนื้อดุ วัวดุ สุนัขดุ แมงป่อง งูปี่แก้ว เสือเหลือง หมี เสือดาว หมู ควาย ยักษ์ รากษส เป็นต้น จากโรคต่างๆ หรือจากอุปัทวะนานาประการ

“การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้เป็นพระศาสดาที่มีการอุบัติขึ้นได้ยาก ในโลกอันมืดมนเป็นประจำ เป็นของหาได้ยาก เหล่าเทวดาในโลกธาตุที่นับได้ ๑๐ ส่วน มีจำนวนมากประมาณมิได้เลย ต่างรื่นเริงบันเทิงใจมาประชุมกัน เพื่อเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระอวค์นั้น ผู้ประทับอยู่ในป่ามหาวัน กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และพระภิกษุสงฆ์ ผู้ปราศจากมลทิน

“พระสูตรใดอันเป็นที่รักที่ชอบใจ และนำมาซึ่งความปลื้มใจของเทวดาเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำให้เหล่าเทพปลื้มใจ แสดงไว้แล้ว ขอพวกเราพากันสวดพระสูตรนั้นเถิด เพื่อความรื่นเริงใจของเหล่าเทวดาทั้งหลาย”

พระอัฏฐารส ประดิษฐานที่พระวิหาร พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ฺ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระอัฏฐารส ประดิษฐานที่พระวิหาร พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ฺ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

มหาสมัยสูตร

เอวัมเม   สุตังฯ   เอกัง   สะมะยัง ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสะมิง  มะหาวะเน   มะหะตา   ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุ สังฆัญจะฯ อะถะโข จะตุนนัง สุทธาวาสะกายิกานัง เทวานัง   เอตะทะโหสิ ฯ

อะยัง โข ภะคะวา   สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสะมิง มะหาวะเน มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ   สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ   ทะสะหิ จะโลกะธาตูหิ   เทวะตา  เยภุยเยนะ สันนิปะตะตา โหนติ ภะคะวันตัง   ทัสสะนายะ   ภิกขุสังฆัญจะ ยันนูนะ   มะยัมปิ  เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะเมยยามะ อุปสังกะมิตะวา ภะคะวะโต สันติเก ปัจเจกะ คาถา ภาเสยยามาติ ฯ

อะถะโข ตา เทวะตา เสยยะถาปิ นามะ พะละวา ปุริโส สัมมิญชิตัง วา พาหัง ปะสาเรยยะ ปะสาริตัง วา   พาหัง สัมมิญเชยยะ เอวะเมวะ สุทธาวาเสสุ เทเวสุ อันตะราหิตา ภะคะวะโต ปุระโต ปาตุระหังสุ ฯ อะถะโข ตา เทวะตา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตะวา เอกะมันตัง อัฏฐังสุ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข เอกา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ ฯ
มะหาสะมะโย ปะวะนัสะมิง เทวะกายา สะมาคะตา อาคะตัมหะอิมัง ธัมมะสะมะยัง ทักขิตาเยวะ อะปะรา ชิตะสังฆันติ อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวันโต สันติเก อิมัง   คาถัง   อะภาสิ ตัตระ ภิกขะโว สะมาทะหังสุง จิตตัง อัตตะโน อุชุกะมะกังสุ  สาระถีวะเนตตานิคะเหตะวาอินทะริยานิ รักขันติ ปัณฑิตาติฯ

อะถะโข อะปะรา   เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ ฯ เฉตะวา ขีลัง   เฉตะวา ปะลีฆัง อินทะขีลัง โอหัจจะมะเนชา เต จะรันติ สุทธา วิมะลา  จักขุมะตา สุทันตา สุสู นาคาติ ฯ อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ เย เกจิ พุทธัง สะระณัง คะตา เส นะ เต คะมิสสันติ อะปายะภูมิง
ปะหายะ มานุสัง เทหัง เทวะกายัง ปะริปูเรสสันตีติ ฯ

อะถะโข   ภะคะวา   ภิกขู   อามันเตสิ เยภุยเยนะ ภิกขะเว ทะสะสุ โลกะธาตูสุ เทวะตา สันนิปะติตา โหนติ ตะถาคะตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ เยปิ เต ภิกขะเว อะเหสุง อะตีตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมา สัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานัง  เอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา อะเหสุง เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ เยปิ เต ภิกขะเว ภะวิสสันติ อะนาคะตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานัง เอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา ภะวิสสันติฯ

เสยยะถาปิ   มัยหัง   เอตะระหิ   อาจิกขิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ กิตตะยิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง   นามานิ เทสิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ ตังสุณาถะ สาธุกัง มะนะสิ กะโรถะ ภาสิสสามีติ เอวัม ภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ ฯ

สิโลกะมะนุกัสสามิ   ยัตถะ   ภุมมา   ตะทัสสิตา เย สิตา คิริคัพภะรัง ปะหิตัตตา  สะมาหิตา ปุถู   สีหาวะสัลลีนา โลมะหังสาภิสัมภุโน โอทาตะมะนะสา สุทธา วิปปะสันนะมะนาวิลา ภิยโย ปัญจะสะเต ญัตะวา วะเน กาปิละวัตถะเว ตะโต   อามันตะยิ  
สัตถา   สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว   เต   จะ อาตัปปะมะกะรุง สุตะวา พุทธัสสะ สาสะนัง เตสัมปาตุระหุ   ญานัง อะมะนุสสานะ ทัสสะนัง อัปเปเก สะตะมัททักขุง สะหัสสัง อะถะ สัตตะริง   สะตัง เอเก สะหัสสานัง
อะมะนุสสานะมัททะสุง อัปเปเกนันตะมัททักขุง   ทิสา   สัพพา ผุฎา อะหุง ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ วะวักขิตะวานะ จักขุมา ตะโต   อามันตะยิสัตถา   สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว เย โวหัง กิตตะยิสสามิ คิราหิ อะนุปุพพะโส ฯ

สัตตะสะหัสสาวะ   ยักขา ภุมมา กาปิละวัตถะวา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

ฉะสะหัสสา เหมะวะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ อิจเจเต   โสฬะสะ สะหัสสา  ยักขา   นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา
อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

เวสสามิตตา   ปัญจะสะตา   ยักขา   นานัตตะวัณณิโน   อิทธิมันโต   ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

กุมภิโร ราชะคะหิโก  เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง  ภิยโย นัง สะตะสะหัสสัง ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ กุมภิโร ราชะคะหิโก โสปาคะ สะมิติง วะนัง ฯ

ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา   ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา  ยะสัสสิ   โส ฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

ทักขินัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา  ยะสัสสิ   โสฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะมันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสฯ  ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

อุตตะรัญจะ   ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ ยักขานัง อาธิปะติมะหาราชา ยะสัสสิ   โสฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

ปุริมะทิสัง ธะตะรัฎโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง ฯ จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ   วะเน กาปิละวัตถะเว ฯ เตสัง มายาวิโน ทาสา อาคู วัญจะนิกา สะฐา มายา กุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิฏู จะ วิฏุโต สะหะ จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ เทวะสูโต จะ มาตะลิ จิตตะเสโน จะ คันธัพโพ   นะโฬราชา   ชะโนสะโภ อาคู ปัญจะสิโข เจวะ ติมพะรู
สุริยะวัจฉะสา เอเต จัญเญ จะราชาโน คันธัพพา สะหะ ราชุภิโมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

อะถาคู นาภะสา   นาคา   เวสาลา สะหะตัจฉะกา กัมพะลัสสะตะรา อาคู ปายาคา สะหะ   ญาติภิ ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ อาคู นาคา ยะสัสสิโน เอราวะโณ มะหานาโค โสปาคา สะมิติง วะนัง ฯ

เย นาคะราเช สะหะสา หะรันติ ทิพพา ทิชาปักขิ วิสุทธะจักขู เวหาสะยา เต วะนะมัชฌะปัตตา จิตรา สุปัณณา อิติ เตสะนามัง อะภะยันตะทา นาคะราชา นะมาสี   สุปัณณะโต   เขมะมะกาสิ พุทโธ สัณหาหิ วาจาหิ อุปวะหะยันตา (อ่าน =อุเปา-หะ-ยัน-ตา)
นาคา สุปัณณา สะระณะมะกังสุ พุทธัง ฯ

ชิตา วะชิระหัตเถนะ   สะมุททัง อะสุรา สิตา ภาตะโร วาสะวัสเสเต อิทธิมันโต  ยะสัสสิโน กาละกัญชา มะหาภิสมา อะสุรา ทานะเวฆะสา เวปะจิตติ สุจิตติ   จะ ปะหาราโท นะมุจี สะหะ สะตัญจะ พะลิปุตตานัง สัพเพ เวโรจะนามะกา สันนัยหิตะวา พะลิง เสนัง ราหุภัททะมุปาคะมุง สะมะโยะทานิ ภัททันเต ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

อาโป   จะ เทวา   ปะฐะวี จะ เตโช วาโย ตะทาคะมุง วะรุณา วารุณา เทวา โสโม จะ ยะสะสา สะหะ เมตตากะรุณากายิกา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

เวณฑู จะ  เทวา  สะหะลี จะ อะสะมา จะ ทุเว ยะมา จันทัสสู ปะนิสา เทวา  จันทะมาคู  ปุรักขิตา สุริยัสสูปะนิสา เทวา สุริยะมาคู ปุรักขิตา นักขัตตานิ ปุรักขิตะวา อาคู มันทะพะลาหะกา วะสูนัง วาสะโว เสฏโฐ สักโก ปาคะ ปุรินทะโท ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

อะถาคู   สะหะภู   เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ อุมมา   ปุปผะนิภาสิโน วะรุณา   สะหะธัมมา   จะ อัตจุตา จะ อะเนชะกา สูเลยยะรุจิรา   อาคู   อาคู วาสะวะเนสิโน
ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน   อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

สะมานา มะหาสะมานา มานุสา มานุสุตตะมา ขิฑฑาปะทูสิกา อาคู อาคู มะโนปะทูสิกา  อะถาคู หะระโย เทวา เย จะ โลหิตะวาสิโน ปาระคา มะหาปาระคา   อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ มานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต   ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

สุกกา   กะรุมหา อะรุณา อาคู เวฆะนะสา สะหะ โอทาตะคัยหา ปาโมกขา อาคู   เทวา วิจักขะณา สะทามัตตา หาระคะชา มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน ถะนะยัง อาคา ปะชุนโน   โย   ทิสา อะภิวัสสะติ ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน   อิทธิมันโต  
ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

เขมิยา  ตุสิตา  ยามา กัฏฐะกา จะ ยะสัสสิโน ลัมพิตะกา ลามะเสฏฐา โชตินามา จะ   อาสะวา นิมมานะระติโน อาคู อะถาคู ปะระนิมมิตา ทะเสเต ทะสะธา กายา   สัพเพ   นานัตตะวัณณิโน   อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

สัฏเฐเต   เทวะนิกายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน นามันวะเยนะ อาคัญฉุง เยจัญเญ สะทิสา สะหะ ปะวุตถะชาติ มักขีลัง โอฆะติณณะมะนาสะวัง ทักเขโมฆะตะรัง นาคัง จันทังวะ อะสิตาติตัง สุพรัหมา ปะระมัตโต จะ ปุตตา อิทธิมะโต สะหะ สะนังกุมาโร ติสโส จะโส ปาคะ สะมิติง วะนัง ฯ

สะหัสสะพ๎รัหมะโลกานัง   มะหาพรัหมาภิติฏฐะติ   อุปะปันโน ชุติมันโต ภิสะมากาโย  ยะสัสสิโส ทะเสตถะ อิสสะรา อาคู ปัจเจกะวะสะวัตติโน เตสัญจะ มัชฌะโต อาคา หาริโต ปะริวาริโต เต จะ สัพเพ อะภิกกันเต สินเท เทเว สะพรัหมะเก มาระเสนา อะภิกกามิ ปัสสะ กัณหัสสะ มันทิยัง เอถะ คัณหะถะ พันธะถะ ราเคนะ พันธะมัตถุ   โว   สะมันตา ปะริวาเรถะ มา โว มุญจิตถะ โกจิ นัง อิติ ตัตถะ
มะหาเสโน กัณหะเสนัง อะเปสะยิ ปาณินา ตะละมาหัจจะ สะรัง กัตะวานะ เภระวัง ยะถา ปาวุสสะโก เมโฆ ถะนะยันโต สะวิชชุโก ตะทา โส ปัจจุทาวัตติ สังกุทโธ อะสะยังวะเส ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ วะวักขิตวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิ
สัตถา สาวะเก สาสะเน ระเต มาระเสนา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว เต  จะ อาตัปปะมะกะรุง   สุตะวา พุทธัสสะ สาสะนัง วีตะราเคหิ ปักกามุง เนสัง โลมัมปิ  อิญชะยุง สัพเพ วิชิตะสังคามา ภะยาตีตา ยะสัสสิโน โมทันติ สะหะ ภูเตหิ สาวะกา เต ชะเนสุตาติ ฯ

พระอุโบสถ และ พระวิหาร พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร  ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ฺ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระอุโบสถ และ พระวิหาร พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ฺ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

คำแปลมหาสมัยสูตร

ข้าพเจ้า (หมายถึง พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐาก และทำหน้าที่ในการทรงจำพระสูตรทั้งปวงด้วย )ได้สดับมาอย่างนี้


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ได้มีเทพจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ มาประชุมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคและเยี่ยมชมภิกษุสงฆ์ ฯ

เทพชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ได้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ มีเทพจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ มาประชุมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคและเยี่ยมชมพระภิกษุสงฆ์ ทางที่ดีพวกเราก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกล่าวคาถาองค์ละคาถา ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่นกัน

ลำดับนั้น ิเทพเหล่านั้นหายไปจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสมาปรากฏเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนคู้ออกหรือคู้แขนเข้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร เทพองค์หนึ่งกล่าวคาถาว่า “การประชุมครั้งใหญ่ในป่าใหญ่ มีหมู่เทพมาประชุมกันแล้ว พวกเราพากันมาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อได้เห็นหมู่ท่านชนะมาร”

จากนั้น เทพองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ว่า “ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น มีจิตมั่นคง ทำจิตของตนให้ตรง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ไว้เหมือนสารถีผู้กำบังเหียนขับรถม้า”

เทวดาอีกองค์หนึ่งกล่าวคาถานี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก ถอนกิเลสดุจเสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไม่หวั่นไหว บริสุทธิ์ ปราศจากมลทินทั่วไป เป็นผู้อันพระภาคผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ (หมายถึง มีพระจักษุ ๕ คือ ๑ .มังสจักษุ ตาเนื้อ ๒.ทิพยจักษุ ตาทิพย์ ๓. ปัญญาจักษุ ตาปัญญา ๔.พุทธจักษุ ตาพระพุทธเจ้า ๕.สมันตจักษุ ตาเห็นรอบ ) ทรงฝึกดีแล้วเหมือนช้างหนุ่ม ฯ”

เทวดาอีกองค์หนึ่งกล่าวคาถานี้ว่า “เหล่าชนผู้นับถือใดพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จักไม่ไปอบายภูมิ ครั้นละกายมนุษย์แล้ว ก็จะทำให้หมู่เทพเพิ่มจำนวนมากขึ้นเต็มที่”

การประชุมของเทวดา

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ มาประชุมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเยี่ยมตถาคตและภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาได้มาประชุมกันเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตกาล ก็มีจำนวนมากเท่าที่ประชุมกันิเพื่อเฝ้าเราในบัดนี้เช่นกัน พวกเทวดาที่มาประชุมกันเพื่อเฝ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล ก็มีจำนวนมากเท่าที่ประชุมกันเพื่อเฝ้าเราในบัดนี้ เราจักบอกชื่อพวกเทวดา พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัส

ภุมมเทวดา

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถานี้ว่า “เราจักกล่าวเป็นร้อยกรอง ภุมมเทวดาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พวกภิกษุก็อาศัยอยู่ที่นั้น ภิกษุเหล่าใดอาศัยซอกเขา มีความมุ่งมั่น มีจิตใจตั้งมั่น พวกเธอมีจำนวนมาก เร้นอยู่ราวกับพญาราชสีห์ ข่มความขนพองสยองเกล้าลงเสียได้ มีจิตผุดผ่องหมดจดผ่องใส ไม่ขุ่นมัว”

พระศาสดาทรงทราบว่ามีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป อยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ จึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนา มาตรัสว่า ” ภิกษุทั้งหลาย หมู่เทพมุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น” พวกภิกษุทูลรับสนองพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความเพียร จึงมีญาณทำให้เห็นพวกอมนุษย์ปรากฏขึ้น ภิกษุบางพวกเห็นอมนุษย์ ๑๐๐ ตน บางพวกเห็น ๑๐๐๐ ตน บางพวกเห็น ๗๐,๐๐๐ ตน บางพวกเห็น ๑๐๐,๐๐๐ ตน บางพวกเห็นมากมายจนไม่สามารถนับได้ อมนุษย์อยู่กระจายไปทั่วทุกทิศ

พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงทราบเหตุนั้นทั้งหมด จึงตรัสเรียกพระสาวกผู้ยินดีในพระศาสนามาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย หมู่เทพมุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทพนั้น เราจะบอกพวกเธอด้วยวาจา ตามลำดับ

ยักษ์ ๗,๐๐๐ ตน เป็นภุมมเทวดาอาศัยอยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์ มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างก็มีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

ยักษ์ ๖,๐๐๐ ตน อยู่ที่เขาหิมพานต์ มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างก็มีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของพระภิกษุทั้งหลาย

ยักษ์ ๓,๐๐๐ ตน อยู่ที่เขาสาตาคีรี มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์
มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างก็มีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย


ยักษ์เหล่านั้นรวมเป็น ๑๖,๐๐๐ ตน มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

ยักษ์ ๕๐๐ ตน อยู่ที่เขาเวสสามิตตะ มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

กุมภีร์ยักษ์ผู้รักษากรุงราชคฤห์ อยู่ที่เขาเวปุลละ มียักษ์ ๑๐๐,๐๐๐ ตน เป็นบริวาร มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างก็มีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

ท้าวจตุโลกบาล

ท้าวธตรัฏฐ ปกครองทิศตะวันออก เป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรของเธอก็มีจำนวนมาก ต่างมีพลังมาก มีชื่อว่า “อินทะ” มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างก็มีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของพระภิกษุทั้งหลาย

ท้าววิรุฬหก ปกครองทิศใต้ เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรของเธอก็มีจำนวนมาก ต่างมีพลังมาก มีชื่อว่า “อินทะ” มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

ท้าววิรูปักษ์ ปกครองทิศตะวันตก เป็นอธิบดีของพวกนาค เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก ต่างมีพลังมาก มีชื่อว่า “อินทะ” มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดี มุ่งมายังป่าอันที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

ท้าวกุเวร ปกครองทิศเหนือ คอยู่ด้านทิศอุดร เป็นอธิบดีของพวก ยักษ์ เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก ต่างมีพลังมาก มีชื่อว่า “อินทะ” มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

ท้าวธตรัฏฐเป็นใหญ่ในทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก เป็นใหญ่ในทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์เป็นใหญ่ในทิศตะวันตก ท้าวกุเวรเป็นใหญ่ในทิศเหนือ ท้าวจตุมหาราชนั้น มีแสงสว่างรุ่งเรืองส่องไปโดยรอบทั่วทั้ง ๔ ทิศ ได้ยืนอยู่ในเขตกรุงกบิลพัสดุ์ ฯ

พวกบ่าวผูัรับใช้ของท้าวจตุมหาราช เป็นพวกมีมายา หลอกลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ ก็มาด้วย พวกบ่าวผู้รับใช้ที่มีมายา ชื่อกุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิฏู วิฏุตะ จันทนะ กามเสฏฐะ กินนุฆัณฑุ และ นิฆัณฑุ ก็มาด้วย และท้าวเทวราชทั้งหลายผู้มีชื่อว่าปนาทะ โอปมัญญะ เทพสารถีชื่อว่า มาตลิ จิตตเสนะ (เป็นชื่อเทพบุตรของพวกคนธรรพ์ ๓ องค์ คือ ๑.จิตตะ ๒.เสนะ ๓.จิตตเสนะ ) นโฬราชะ ชโนสภะ ปัญจสิขะ ติมพรุ (เป็นเทวราชาของเทพคนธรรพ์ เทพคนธรรพ์นั้นเป็นเทพนักดนตรี เทพนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสวรรค์คือ ปัญจสิขเทพบุตร) สุริยวัจฉสาเทพธิดา เทวราชเหล่านั้นและคนธรรพ์ ต่างก็มีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

อนึ่ง เหล่านาคที่อยู่ในสระชื่อนาภสะ และที่อยู่ในกรุงเวสาลีมา พร้อมด้วยพวกนาคตัจฉกะ นาคกัมพละ และนาคอัสสดรก็มา นาคที่อยู่ในท่า ชื่อปายาคะ พร้อมด้วยหมู่ญาติ นาคที่อยู่ในแม่น้ำยมุนา นาคที่เกิดในสกุลธตรัฏฐ ผู้มียศก็มา พญาช้างเอราวัณก็มายังป่าที่ประชุมของพระภิกษุทั้งหลายฯ

เหล่าครุฑผู้เป็นทิพย์ มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ สามารถจับนาคได้อย่างฉับพลัน บินมาทางอากาศท่ามกลางป่า ชื่อว่า จิตรสุบรรณ เวลานั้น นาคราชทั้งหลาย ไม่ได้มีความกลัว เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงทำให้ปลอดภัยจากครุฑ นาคกับครุฑเจรจากันด้วยวาจาอันไพเราะ ต่างมีพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

พวกอสูรอาศัยอยู่ในสมุทร เป็นผู้พ่ายแพ้่ต่อพระอินทร์ ผู้มีวชิระเป็นอาวุธ อสูรเหล่านั้นมีฤทธิ์ มียศ เป็นพี่น้องของท้าววาสวะ คือ พวกอสูรกาลกัญชะ มีกายใหญ่น่ากลัวมาก พวกอสูรทานเวฆสะ อสูรเวปจิตติ อสูรสุจิตติ อสูรปหาราทะ และพระยามารมุจีก็มาด้วย

บุตรพลิอสูร ๑๐๐ ตน มีชื่อว่าไวโรจนะ ทุกตนต่างสวมเกราะเข้มแข็งเข้าไปใกล้อสุรินทราหู แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงมีแต่ความเจริญ บัดนี้ เป็นสมัยที่ท่านควรเข้าไปสู่ป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย ฯ

เทวนิกาย ๖๐

ในเวลานั้น เทพ ๑๐ หมู่ ชื่ออาโป ปฐวี เตโช วาโย วรุณะ วารุณะ โสมะ ยสสะ เมตตาและกรุณา (หมายถึง เหล่าเทพที่เกิดด้วยอำนาจเมตตาฌานและกรุณาฌานที่เคยบำเพ็ญมา) เป็นผู้มียศก็มาด้วย

เทพ ๑๐ หมู่เหล่านี้ แบ่งเป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

เทพ ๑๐ หมู่ คือ เวณฑู สหลี และเทพ ๒ หมู่ คือ อสมะ ยมะ ก็มา เทพผู้อาศัยมณฑลแห่งพระจันทร์ มีจันทเทพบุตรนำหน้ามา เทพผู้อาศัยมณฑลแห่งพระอาทิตย์ มีอาทิตย์เทพบุตรนำหน้ามา เทพพวกมันทวลาหก (หมายถึงเทพ ๓ องค์คือ ๑. วาตวลาหกเทพบุตร ๒.อัพภวลาหกเทพบุตร ๓. อุณหวลาหกเทพบุตร ) มีนักษัตรเทพบุตรนำหน้ามา แม้พระอินทร์ผู้เป็นท้าวสักกะ ผู้เป็นท้าววาสวะปุรินททะ ซึ่งประเสริฐกว่าเหล่าเทพวสุ (เทพผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์สมบัติ) ก็มา

หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ แบ่งเป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม ต่างก็มีความยินดี มุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

เทพ คือ สหภู ผู้รุ่งเรืองดุจเปลวไฟ อริฏฐกะ โรชะ ผู้มีผิวพรรณดังผักตบ วรุณะ สหธรรม อัจจุตะ อเนชะกะ สุเลยยะ รุจิระ และวาสวเนสีก็มา เทพ ๑๐ หมู่เหล่านี้ แบ่งเป็น ๑๐ พวก ทั้งหมด ล้วนมีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

เทพ คือ สมานะ มหาสมานะ มานุสะ มานุสุตตมะ ขิฑฑาปทูสิกะ มโนปทูสิกะ หริ โลหิตะวาสี ปารคะ และมหาปารคะ ผู้มียศก็มา หมู่เทพ ๑๐ หมู่ เหล่านี้ แบ่งเป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

เทพ คือ สุกกะ กรุมหะ อรุณะ เวฆนสะ โอทาตคัยหะ ผู้เป็นหัวหน้า
วิจักขณะ สะทามัตตะ หารคชะ มิสสกะผู้มียศ และ ปชุนนเทวบุตร ผู้บันดาลให้ฝนตกทั่วทุกทิศก็มา เทพ ๑๐ หมู่เหล่านี้ แบ่งเป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างก็มีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

เทพ คือ เขมิยะ เทพชั้นดุสิต เทพชั้นมายา และเทพพวกกัฏฐกะ
มียศ เทพพวกลัมพีตกะ เทพพวกลามเสฏฐะ เทพพวกโชติ เทพพวกอาสวะ และเทพพวกชั้นนิมมานรดี เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีก็มา เทพ ๑๐ เหล่านี้ แบ่งเป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

เทพ ๖๐ เหล่านี้ ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่างๆ กัน มาตามกำหนด ชื่อหมู่เทพ และเทพเหล่าอื่น ผู้มีผิวพรรณและชื่อเช่นนั้นก็มาพร้อมกัน ด้วยคิดว่า “พวกเราจะพบพระนาคะ (เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ประเสริฐเพราะไม่ทำความชั่ว)
ผู้ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ไม่มีกิเลสดุจตะปู ก้าวข้ามโอฆะ คือกิเลสได้แล้ว ไม่มีอาสวะ พ้นโอฆะได้แล้ว ล่วงพ้นธรรมฝ่ายต่ำ ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ”

พรหมนิกาย

สุพรหมและปรมัตตพรหม ผู้เป็นบุตร (บุตรในที่นี้ หมายถึงพุทธบุตรที่เป็นอริยสาวกผู้เป็นพรหม) ของพระพุทธเจ้าผู้มีฤทธิ์ ก็มาด้วย สนังกุมารพรหม และติสสพรหม ก็มายังป่าที่ประชุมของ
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวมหาพรหม ๑,๐๐๐ องค์ ปกครองพรหมโลก ท้าวมหาพรหมนั้น อุบัติขึ้นในพรหมโลก มีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา พรหม ๑๐ องค์ ผู้เป็นใหญ่กว่าพรหม ๑,๐๐๐ องค์ มีอำนาจต่างกันไปองค์ละอย่าง ก็มา มหาพรหมชื่อหาริตะ มีบริวารแวดล้อมก็มาท่ามกลางพรหม ๑,๐๐๐ องค์นั้น


เมื่อเสนามารมาถึง พระศาสดาได้ตรัสบอกกับเทพทั้งหมดเหล่านั้น พร้อมทั้ง พระอินทร์ และพระพรหม ผู้ประชุมกันอยู่ว่า “ท่านจงดูความโง่เขลาของกัณหมาร พญามารได้ส่งเสนามารไปในที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพ พร้อมทั้งกำชับว่า พวกท่านจงไปจับหมู่เทพผูกไว้ด้วยราคะ จงล้อมไว้ทุกด้าน อย่าปล่อยให้ผู้ใดหลุดพ้นไปได้ ” แล้วก็เอาฝ่ามือตบแผ่นดิน ทำเสียงน่ากลัว เหมือนเมฆที่บันดาลฝนให้ตก ฟ้าแลบร้องคำรามอยู่ แต่เวลานั้น พญามารก็ไม่อาจทำให้ใครตกอยู่ในอำนาจได้ จึงเกรี้ยวโกรธกลับไป

พระศาสดาผู้มีพระจักษุทรงทราบเหตุนั้นทั้งหมด ทรงกำหนดได้แล้ว จึงตรัสเรียกพระสาวกผู้ยินดีในพระศาสนามาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เสนามารมุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขา” ภิกษุทั้งหลาย ทูลสนองพระดำรัสสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว พากันทำความเพียร มารและเสนามารหลีกไปจากเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะ ไม่อาจแม้ทำขนของภิกษุเหล่านั้นให้ไหว

( พญามารกล่าวสรรเสริญว่า) หมู่พระสาวกของพระพุทธเจ้าชนะ สงครามแล้วทั้งสิ้น ล่วงพ้นความกลัวได้แล้ว มียศปรากฏในหมู่ชน บันเทิงอยู่กับด้วยพระอริยเจ้าในพระศาสนาของพระทศพล ฯ

จบมหาสมัยสูตร

จากหนังสือ "ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร" เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ดำเนินการจัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
จากหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ดำเนินการจัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
และจากหนังสือ "พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ : เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์เพื่อชีวิตดีงาม " เรียบเรียงโดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม)
และจากหนังสือ “พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ : เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์เพื่อชีวิตดีงาม ” เรียบเรียงโดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม)

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ในขณะนั้น กับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ในขณะนั้น กับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here