ถาม : ทำไมความคิดไม่ดีจึงมาก่อนความคิดดีๆ และ ทำไมจิตจึงปรุงแต่ความคิดไม่ดีได้มากมายมหาศาล แล้วความคิดไม่ดี จะนำไปสู่อะไร จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ความคิดดีๆ มาก่อน แล้วทำให้ความคิดไม่ดีหายไป

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี
พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ตอบปัญหาธรรม :

ตอบ : ความคิดไม่ดีในแง่นี้อาตมาจะขอมุ่งถึงความคิดที่ทำให้จิตเดือดร้อน ทุรนทุรายเป็นหลัก เพราะถ้าพิจารณาเรื่องความคิด จริงๆ แล้วเราแทบแยกไม่ออกระหว่างอันไหนคิดดีหรือคิดไม่ดี

“บางครั้งเราก็คิดว่าความดิดนี้ดีแล้ว

แต่เอาเข้าจริง

สิ่งที่เราคิดนั้นกลับทำให้จิตตัวเองทุรนทุราย”

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

เช่น คิดว่า ทำไมคนนั้นไม่ทำบุญบ้าง ทำไมพ่อหรือแม่ไม่สนับสนุนความคิดฉัน เป็นต้น หากพิจารณาแบบนี้ การคิดทุกแบบจึงแทบจะทำให้จิตดิ้นรน ทุรนทุรายทั้งสิ้น

เพราะความคิดมาจากจิตที่ถูกกระแสต่างๆ นำไปตลอดเวลา แต่กระแสที่ชักนำให้เราตามได้ง่ายสุดก็คือกระแสความอยาก (ตัณหา) กระแสความเห็น (ทิฏฐิ) กระแสกิเลส กระแสการประพฤติผิด (ทุจริต) กระแสความไม่รู้ (อวิชชา)

ลองนึกภาพของเด็กที่ถูกบังคับว่า ให้แต่งตัวแบบนี้ ให้พูดแบบนี้ ให้เดินแบบนี้ …ทุกครั้งที่เด็กถูกห้ามจะขัดขืน และพยายามทำสิ่งนั้น อาจด้วยเด็กไม่สนใจว่าอะไรถูกผิดมาตั้งแต่แรก แต่มองว่าเรามีอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ตามที่ใจต้องการ เด็กจึงเลือกทำตามใจมากกว่าจะทำตามผู้อื่น เพราะง่ายกว่า สะดวกกว่า ทำให้เรื่องถูกผิดเป็นเรื่องที่เด็กตัดสินใจเองไปตามอำนาจจิตใจเป็นหลัก จึงง่ายที่บอกว่า เราชอบจะพูดและทำอะไรตามใจตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้าบังคับให้ทำนั่นทำนี่ เราจะปฏิเสธทั้งที่เป็นเรื่องดีก็ตาม

ภาพถ่ายโดย หมอนไม้
ภาพถ่ายโดย หมอนไม้

เมื่อเป็นแบบนั้น พระพุทธองค์จึงทรงชี้ทางแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือ สร้างเครื่องมือมาทำงานร่วมกับความคิดก็คือ “สติ” คือการรู้สึกตัวตลอดเวลา ว่า

     “กระแสเหล่าใดในโลก

สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้

เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย

ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้”

            เราจึงมีหน้าที่ค้นหาความคิดของเราด้วยการระลึกรู้ตัวว่า กำลังคิดอะไร ดีหรือไม่ดี ให้ตรวจสอบด้วยปัญญา ด้วยการคิดแบบละเอียด (โยนิโส มนสิการ) และหากัลยาณมิตร เพื่อรับฟังคำแนะนำ ทำความเข้าใจสิ่งที่ดีนั้นบนฐานแห่งความเข้าใจ ไม่คิดไปเอง

            ตามที่พระพุทธโฆสาจารย์กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า “เริ่มจากสัญญาคือความจำได้ แล้วจึงทำความเข้าใจสิ่งนั้นว่าคืออะไร (วิญญาณ) ก่อนจะศึกษาในรายละเอียดว่ามาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร (ปัญญา)”

เหมือนกับเรากำลังเรียนรู้ ความคิดดีคืออะไร มีประโยชน์อะไร ถ้าไม่มีประโยชน์ก็วางลง ถ้ามีประโยชน์ก็คิดให้ละเอียดว่าจะทำอย่างไรจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

แต่ที่สำคัญต้องเข้าใจว่า จุดมุ่งหมายของความดีคือการได้เห็นทุกคนได้รับสิ่งดี แต่หากเขาไม่ได้รับก็อย่าเพิ่งคิดว่าตนเองล้มเหลวหรือผู้อื่นไม่ดี ให้คิดว่าเราได้คิดและทำดีแล้ว ไม่ต่างจากพระพุทธองค์ที่ประสงค์ให้บุคคลได้บรรลุธรรมไม่ต่างกัน แต่ด้วยภูมิปัญญาแต่ละคนที่จะบรรลุได้มีเท่านั้น พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ตำหนิคนที่ยังไม่ได้บรรลุ แต่ทรงช่วยเหลือผู้ที่ช่วยได้เต็มกำลังความสามารถแล้ว

            สุดท้ายทุกอย่างที่คิด ให้ท่องไว้ว่า…แค่รับรู้ เข้าใจ และปล่อยวาง…

 พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

ขอขอบคุณภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงศ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงศ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

“ความคิดที่ทำให้ทุกข์ และทำให้จิตเดือดร้อน ? จะแก้ไขได้อย่างไร” ตอบปัญหาธรรม โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here