มีเด็กน้อยคนหนึ่งอยู่ชั้น ป. ๓ เล่าให้ฟังว่า …

เมื่อสัปดาห์ก่อนแม่ของเธอนั้นประสบอุบัติเหตุจนขาหัก เธอไม่มีโอกาสไปเฝ้าแม่ที่โรงพยาบาล และเมื่อแม่ออกจากโรงพยาบาลก็ได้ทำอะไรหลายๆ อย่าง เช่น ป้อนข้าวแม่ ซักผ้า เตรียมน้ำให้แม่อาบ ฯลฯ

เธอไม่ได้ทำเองทุกอย่างเพราะที่บ้านมีพี่ๆ และญาติมาช่วยกัน แต่ว่าเด็กน้อยก็ได้มีโอกาสช่วยด้วย ทำให้เธอรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตนเองได้ทำ จึงถามว่า “รู้จักคำว่ากตัญญูไหม?”  ซึ่งเธอไม่รู้จักตอบไม่ได้ว่าหมายถึงอะไร แต่ความรู้สึกและสิ่งที่เธอได้สะท้อนออกมาด้วยความคิดที่ว่า แม่เป็นคนที่มีพระคุณและเราเป็นลูกจะต้องดูแลท่าน

ถ้าเป็นข้อสอบเธออาจจะตกด้านความรู้ (knowledge)  แต่ว่า ด้านทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมที่จะมีต่อไปในอนาคต (attitude) และด้านทักษะ (skill) คือเธอสามารถที่จะทำหน้าที่ได้อย่างดี ถือว่าผ่าน และอาจจะอยู่ในระดับที่ดีมากด้วยซ้ำ  

และเช้าวันนั้นเธอพึ่งจะไปช่วยยายขายของแทนแม่ เธอรู้สึกชอบขายของมากเพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เธอได้เงิน จะได้เป็นค่าใช้จ่ายในบ้านและถ้าป่วยก็จะมีค่ายา เธออยากมีร้านค้าเป็นของตัวเอง

ครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของสิ่งดีงามที่สุดในชีวิต โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

ครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของสิ่งดีงามที่สุดในชีวิต

โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

อนาคตจะเป็นอย่างไรไม่รู้สำหรับเด็กน้อย แต่เมื่อเห็นสภาพความเอาใจใส่และดูแลกันและกันของครอบครัว ก็ทำให้รู้สึกได้ถึง ความหวังที่อบอุ่นทำให้ครอบครัวจน ๆ แต่ก็มากล้นด้วยความรักและความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ และนี่คือจุดเริ่มต้นของชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า

ด็กน้อยผู้รักแม่ทุกวัน และครอบครัวที่อาจจะไม่สมบูรณ์ แต่พ่อแม่ก็พยายามบ่มเพาะสิ่งดีงามให้แก่ลูก ๆ อุปสรรคอาจจะมีแต่ก็มั่นใจว่า ชีวิตนี้เราจะดีขึ้นแน่นอน

ผู้เขียนมักจะย้ำอยู่เสมอว่า ครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของสิ่งดีงามที่สุดในชีวิต แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องมีทุกอย่างพร้อม แค่คนในครอบครัวพบความรักที่มีต่อกัน แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับความดีด้านอื่นๆ ตามมา

บางอย่างเราจึงไม่จำเป็นต้องเน้นไปที่การสอนมากจนเกินไป สอนให้รู้ อาจจะสู้ทำให้ดูไม่ได้ เพราะถ้าเราเน้นไปที่การสอนก็จะตามมาด้วยการสั่ง รวมเป็นสั่งสอน ด้วยหวังให้เด็กสยบยอมมากกว่าจะให้เขาได้ศึกษาและพัฒนาปัญญาจากความรู้สึกภายในของตนเอง

โดยเฉพาะเด็กยุคใหม่ ที่ไม่เชื่อใครเลย แม้แต่พ่อแม่ ไม่ต้องพูดถึงพระสงฆ์ เพราะเราเป็นแค่ผู้ให้ข้อมูลคนหนึ่งเท่านั้น ถ้าไม่รู้จักกันจริงๆ บอกเลยว่า พระแทบจะพูดอะไรไม่ได้เลย ตราบใดที่เขาไม่ได้รู้สึกว่าเราเป็นพระอาจารย์ ขนาดเดินผ่านเขายังไม่ไหว้เลย แต่ถ้าเจอพระอาจารย์ของเขาแม้ไกลๆ ก็ยังร้องเรียกและวิ่งไปหา  เขาพร้อมที่จะฟังก็ต่อเมื่อเขามีความรู้สึกดีต่อเรา มันเป็นไปโดยธรรมชาติ

ความเชื่อใจ ไว้วางใจ เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้  โดยเฉพาะภายในครอบครัว เราจะต้องทำให้ลูก ๆ เกิดความเชื่อใจ และไว้วางใจต่อพ่อแม่  สิ่งที่พ่อแม่ในช่วงที่เด็กยังเล็กอยู่ก็คือ ทำให้เขารู้สึกดีและมีความสุขกับพ่อแม่ ให้เขามีความคิดหรือทัศนคติเชิงบวกต่อครอบครัว ซึ่งเราจะไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการสอน แต่จะทำได้ด้วยการ

ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และเย็นให้เขาสัมผัส”

“กุศลจิต” ของเด็กจะไม่เกิดจากการสั่งสอน เพราะการรับรู้และกระบวนการคิดของเขายังไม่มากพอที่จะไตร่ตรองด้วยเหตุผล แต่เป็นการเติบโตตามสัญชาตญาณและการซึมซับจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขาเอง  

 เหมือนเด็กน้อยที่เล่าไว้ในเบื้องต้น เขาซึมซับความรู้สึกที่ดีจากพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว  สัญชาตญาณถูกบ่มเพาะด้วยความรักความอบอุ่น พูดง่ายๆ ก็คือ จิตใจได้ถูกกล่อมเกลา จนมีความอ่อนโยนและงดงามตามธรรมชาติของวัย เราจึงจะเห็นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็กนั้นสดใสและบริสุทธิ์เสมอ เพราะเขาซึมซับความรักจากคนรอบๆ ตัว

แต่ถ้าเด็กคนไหนอยู่ในครอบครัวที่ขาดความรักต่อกัน หรือถูกกระทำรุนแรงจากครอบครัว เสียงหัวเราะและรอยยิ้มจะหายไป

ถ้ายิ่งถูกกดดันทางความรู้สึกมากท่าไหร่  ก็จะมีเสียงร้องไห้ และเมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นคนเงียบเก็บตัว และไม่มีทักษะทางสังคม อารมณ์แปรปรวน เข้ากับคนอื่นไม่ค่อยได้ ความอิจฉาถูกก่อตัวขึ้นมา เห็นคนอื่นดีกว่าตนไม่ได้  นำไปสู่การมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อไป “อกุศลจิต” ได้เกิดขึ้นแล้ว 

ที่กล่าวมานี้ล้วนมีตำราและงานวิจัยและชี้ไปทิศทางเดียวกัน คือ ความรักความอบอุ่นของครอบครัว คือ จุดเริ่มต้นของพัฒนาการที่ดีสำหรับเด็กในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านอารมณ์และจิตใจ

อย่ารอให้ลูกมากราบแล้วค่อยบอกรัก บางทีอาจจะกอดลูกและบอกรักลูกก่อนก็ได้ ไม่ต้องรอให้เขาเป็นคนดีที่สุดแล้วค่อยภูมิใจในตัวเขา ขอให้ภูมิใจในตัวเขาแม้เพียงเพราะเขายืนได้ด้วยตัวเองเท่านั้นก็ได้ เพราะถ้าพ่อแม่เห็นคุณค่าในตัวเขา เขาจะเห็นคุณค่าในตัวเอง

โชคดีที่มีพระ

หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒

ครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของสิ่งดีงามที่สุดในชีวิต”

โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here