จากหนังสือ “อาศรมบ้านดอกแดง : แสงสว่างแรกแห่งชุมชนบนดอยสูง” โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

สู่สารคดีสั้นชุด “ปกาเกอะญอ : นักบุญแห่งขุนเขา” โดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส

“ปกาเกอะญอ นักบุญแห่งขุนเขา” (ตอนที่ ๔) บวชป่า เยือนผาแดงใต้ โดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส iPONG CH ช่อง You Tube จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร และ อาศรมพระบัณฑิตอาสา บ้านดอกแดง https://www.youtube.com/channel/UCgN539G9QLZqWSAivR_Jdvg

พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ดร., กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม ผู้ก่อตั้งอาศรมพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาบ้านดอกแดง ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ดร., กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม ผู้ก่อตั้งอาศรมพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาบ้านดอกแดง ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ในตอนนี้ เริ่มต้นด้วยการสนทนาธรรมกับ พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ดร. กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม ผู้ก่อตั้งอาศรมพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาบ้านดอกแดง ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ถึงความเป็นมาที่โครงการ ธรรมสัญจรเยี่ยมพระพบปะโยม ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง โดย สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้เดินทางไปถึง จากการฟังรายการวิทยุ “ปรมัตถธรรมนำชีวิต” ออกอากาศทางสถานีวิทยุยานเกราะ พล ม.๒ คลื่น ๙๖๓ MHz.เวลา ๒๐.๒๐-๒๑.๐๐ น.

พระมหาฐานันดร เล่าว่า …ต่อมา ทางโครงการ ก็ขึ้นมาและเราก็เดินทางต่อไปยังหมู่บ้านผาแดงใต้ เนื่องจากเมื่อ ๕ ปีที่แล้ว ได้จัดรายการวิทยุ และมีผู้ฟังมาถาม จากนั้นทีมงานก็ลงไปเยี่ยม จากนั้นญาติโยมก็มาเยี่ยมที่อาศรมแห่งนี้

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

“มาครั้งแรกก็นั่งมอร์เตอร์ไซด์เข้าไปด้วยความลำบากมาก เพราะยังไม่มีรถ ถนนสองข้างทางยังเป็นดิน เป็นโคลน เมื่อลงไปแล้ว ก้ไปสร้างธรรมศาลาให้เขาได้ไหว้พระสวดมนต์ จากนั้น เราก็ลงไปเยี่ยมเรื่อยๆ เราก็คิดว่า ขนาดทางลำบากอย่างนี้ ชาวบ้านก็อุตส่าห์มา แม้มาด้วยความยากลำบาก ถนนก็ลำบากก็ยังมา แสดงว่าชาวบ้านเขามีแรงศรัทธาจริงๆ ก็ได้สนทนากับชาวบ้าน เดิมเขาก็นับถือผี นับถือบรรพบุรุษ เมื่อได้ฟังธรรมะ ได้ฟังแนวทางการใช้ชีวิตแบบพระพุทธศาสนา

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

อย่างเดิมเขาเคยเชื่อประเพณีมัดมือ เลี้ยงผีต่างๆ บางอย่างก็ต้องใช้สุรา หลายอย่าง

มีอยู่ครอบครัวหนึ่ง ผู้นำและลูกสาวของเขาชื่อแตงโม หลังจากได้ฟังรายการวิทยุ จากอาศรมวัดดอกแดง จากการที่เขาเคยทำพิธีที่ต้องใช้เหล้า เมื่อได้ฟังวิทยก็ได้แนวทางที่สนใจ มีปัญหาก็ถามทางหน้าไมค์ ในที่สุดเขาก็เลิกพิธีและมานับถือพระพุทธศาสนา

จากนั้นทางสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ก็นำวิทยุมามอบให้กับชาวบ้านเพื่อฟังธรรม


สิ่งที่พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ดร.เห็นได้ชัดก็คือ ชาวบ้านเลิกทำพิธีที่เกี่ยวข้องกับ “สุรา”

จากนั้นก็เข้าไปช่วยชาวบ้านสร้างหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งศาลา เพราะเราไม่สามารถสร้างเป็นอาศรมได้ เมื่อเราลงไปเยี่ยมเดือนละครั้ง หรือสองเดือนครั้ง ชาวบ้าน็ได้มาร่วมกันทำพิธีตรงนั้น

“การไปจาริกแต่ละที่ ก็จะมีการบวชป่าด้วย ก็จะไปเล่าเรื่องการอนุรักษ์ป่า ว่าบ้านเราอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำ เป็นแหล่งอากาศที่ดี เราควรจะดูแลรักษา สิ่งใดที่กินความจำเป็นไม่เหมาะไม่ควรกับบ้านเรา อย่านำเข้าไป พยายามมองเห็นสิ่งที่เรามีอยู่

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

“ลงไปอยู่ในเมือง ไปเรียนในกรุง ข้าวก็ต้องซื้อ น้ำก็ต้องซื้อ ไฟก็ต้องซื้อ ทุกอย่างต้องซื้อ..แต่เราอยู่บนดอยนี้ ข้าวก็ไม่ต้องซื้อ น้ำก็ไม่ต้องซื้อ อากาศไม่ต้องซื้อ เพราะมีอากาศดี มีแหล่งธรรมชาติอยู่แล้ว จึงควรจะรักษาให้ดี เพราะไม่สามารถประเมินด้วยเงินทองได้ ”

โปรดติดตามตอนต่อไป …

พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ,พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส และ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโน ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ,พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส และ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโน ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

อาศรมบ้านดอกแดง : แสงสว่างแรกแห่งชุมชนบนดอยสูง (ตอนที่ ๔ )

ปลูกพระพุทธศาสนาไว้ในใจ เป็นต้นไม้ใหญ่ให้พึ่งพา

โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโน

จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ สนใจหนังสือติดต่อได้ที่ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร โทร. ๐๘๖-๗๖๗-๕๔๕๔

 พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโน ผู้เขียน
พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโน ผู้เขียน

หลังจากได้ขึ้นไปปฐมนิเทศบนยอดดอย ๓๖๐ องศาแล้ว วันรุ่งขึ้นก่อนออกเดินทางลงชุมชนมีโอกาสได้นั่งคุยกับพระมหา ดร.ฐานันดร เขมปญฺโญ ใต้ร่มไม้ใกล้อาศรมท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น มีเพียงแสงแดดอ่อน ๆ ที่ทอแสงผ่านต้นไม้พอทำให้ร่างกายได้อบอุ่น ท่านเล่าให้ฟังว่า

พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ดร.
พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ดร.

ย้อนหลังไปพอจำความได้ หมู่บ้านดอกแดงในวันนี้ อยู่ท่ามกลางป่าเขา ไม่มีถนนตัดผ่าน ไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนอย่างทุกวันนี้ ผู้คนมี ๔๗ ครอบครัว ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าจำพวกนก กระรอก เก้ง กวาง ยังมีมาก อยากได้ฟืนก็เพียงเดินไปหารอบหมู่บ้าน อยากได้อาหารป่าก็ไม่ต้องไปหาที่ไกล บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านมีหมด กลางหมู่บ้านชาวบ้านขุดบ่อน้ำ ๒ บ่อ สำหรับใช้ประโยชน์ดื่มกิน

           ในปี ๒๕๒๑ เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน พักเที่ยงก็กลับไปรับประทานอาหารในบ้าน พอตกเย็น ก็แบ่งหน้าที่กันทำงานกับพี่ชาย ๒ คน ทำหน้าที่ตำข้าวบ้าง ตักน้ำดื่มน้ำใช้บ้าง หรือออกไปช่วยพ่อเลี้ยงควายที่ทุ่งนาบ้าง ช่วยแม่ทำอาหารบ้าง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ผู้เป็นแม่ทำหน้าที่หาฟืนและอาหารเป็นประจำทุกวัน ผู้เป็นพ่อออกไปเลี้ยงควายที่ทุ่งนาซึ่งไกลจากบ้านประมาณ ๕ กิโลเมตร ชีวิตก็เป็นเช่นนี้ทุกวัน

           จนถึงอายุ ๙ ขวบ ผมกับพี่ชาย ๒ คนได้ออกไปช่วยพ่อเลี้ยงควายตามปกติ จนถึงค่ำในเวลาประมาณ ๖ โมงเย็น ก็มีชายฉกรรจ์จำนวน ๘ คนเดินมาที่เถียงนาบอกว่า หลงทางมา หิวข้าวมาก ผู้เป็นพ่อก็เตรียมฟืนมาก่อไฟ ทำข้าวปลาอาหารให้กินจนอิ่ม กินอิ่มแล้ว ๒ คนก็ขึ้นมาบนเถียงนา ซึ่งผมกับพี่ชายทั้ง ๒ คนนั่งอยู่ เขาหาท่อนฟืนที่อยู่แถวนั้นกระหน่ำตีพี่ชายทั้ง ๒ คนจนแน่นิ่งไป ด้วยความเป็นเด็กผมก็มองหน้าเขา เขาก็เอาด้ามจอบตีที่ท้ายทอยหลายครั้ง ขณะนั้นก็ได้ยินเสียงของพ่อถูกทำร้าย แล้วผมก็ไม่รู้สึกตัวอะไรอีกเลย

           ตื่นขึ้นมาอีกครั้งประมาณ ๒ ทุ่มกว่า มองดูพี่ชายทั้ง ๒ คนเลือดอาบทั่วตัวแดงไปหมด ปลุกเรียกอย่างไรก็ไม่ตื่น ลงบันไดไปด้านล่างเห็นพ่อนอนจมกองเลือด เรียกพ่ออย่างไรก็ไม่ตื่น ก็ได้แต่วิ่งขึ้นวิ่งลงบนเถียงนา ทำอะไรไม่ถูก จนประมาณเกือบ ๕ ทุ่ม พี่ชายคนหนึ่งก็ฟื้นขึ้นมา พี่ชายก็ไปอุ้มพ่อมาใกล้ ๆ กองไฟ บนหน้าผากของพ่อถูกกากบาท ใบหูทั้งสองข้างก็ถูกกากบาทด้วยมีดเป็นแผลลึก คอโดนมีดแทงเลือดอาบทั่วตัว เป็นแผลที่ไม่น่าดูเป็นอย่างมาก

           ประมาณตี ๒ พี่ชายก็วิ่งกลับไปบ้าน ไปเรียกให้คนมาช่วย ส่วนผมก็อยู่เฝ้าพ่อ ชาวบ้านมาถึงก็ไม่มีใครกล้าเข้ามา เขาคิดว่าโจรยังอยู่ พูดโต้ตอบกับผมไปมาพอรู้ว่าโจรไปแล้ว ชาวบ้านก็เข้ามา แม่ก็มาถึงประมาณตี ๕ พอแม่มาถึง พ่อสิ้นใจตรงนั้น เขาก็พาผมกับพี่ ๆ กลับบ้าน เรื่องการจัดการงานศพก็เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ศพของพ่อก็เอาไว้อย่างนั้น ไม่มีใครเฝ้า ญาติพี่น้องก็มาเตรียมงานที่บ้าน รอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชันสูตรศพ ตำรวจมาในวันที่ ๒ ชันสูตรเสร็จหลังจากนั้นก็ทำพิธีฝังพ่อที่ทุ่งนาเลย

           เหตุการณ์เหล่านี้ในชีวิตผมไม่เคยลืม โจรทั้ง ๘ คนฆ่าพ่อผม ทำร้ายพี่ชาย ทำร้ายผมเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด แล้วขโมยควายไป ๘ ตัว ในความคิดของผมคิดว่า โตขึ้นจะต้องฆ่าแก้แค้นให้ได้ หลังจากนั้นชีวิตของผมก็ขึ้นโรงขึ้นศาลตลอด โจร ๘ คน ๖ คนถูกจับติดคุก ๒ คนมีญาติเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในพื้นที่และเป็นเจ้าของรถที่นำมาขนควายต่อสู้คดีนานถึง ๒๐ ปีถึงปิดคดีได้

           การเดินทางไปขึ้นศาลเป็นพยานมันลำบาก ผมไปทุกครั้งที่ศาลนัดร่วม ๒๐ ปี ด้วยความจน หลายครั้งที่ผมกับแม่ต้องนั่งรถโดยสารคันเดียวกันกับญาติของผู้ต้องหาไปที่ศาล เราไปในฐานะของพยานฝั่งโจทย์ เขาไปในฐานะของญาติจำเลยที่ติดคุกแล้ว บางครั้งเจอหน้ากัน นั่งรถคันเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้คุยอะไรกันมาก มันมีแต่ความเจ็บปวดที่อยู่ในใจ อภัยก็ไม่ได้

           พอปี ๒๕๒๙ มีโอกาสได้บวชเณร ได้ฟังครูบาอาจารย์เล่าเรื่องในทางพระพุทธศาสนาให้ฟังเล่าเรื่องการให้อภัย เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ท่านก็สอนตามปกติ เล่าเรื่องในธรรมบทให้ฟัง

           (๑) พระภิกษุกลุ่มหนึ่งนั่งเรือไปในมหาสมุทรแล้วเรือหยุดนิ่ง คนขับเรือก็ทำฉลากให้จับ ฉลากไปตกที่ภริยาของคนขับเรือถึงสามครั้ง คนขับเรือให้คนในเรือช่วยจับหญิงกาลกิณีโยนลงน้ำ ก่อนจะโยนกล่าวว่า ประโยชน์อะไรที่จะให้เธอลอยอยู่เหนือน้ำ ช่วยกันเอากระสอบทรายมัดติดตัว โยนลงไปในน้ำ พระภิกษุกลับไปกราบทูลถามพระศาสดา พระศาสดาตรัสเล่าให้ฟัง หญิงคนนี้ในอดีตชาติ เดินไปส่งข้าวสามีที่ปลายนา แล้วมีสุนัขเดินตาม เด็กวัยรุ่นเห็นสุนัขเดินตามก็แซวว่า หญิงสาวมีสามีเดินตาม แกโกรธมาก ไปถึงทุ่งนาหลังจากให้สามีทานข้าวแล้วก็ถือหม้อข้าว เรียกสุนัขตามไป สุนัขก็คิดว่าจะให้อาหาร หญิงสาวเอาเชือกด้านหนึ่งผูกที่คอสุนัข ด้านหนึ่งผูกที่หม้อแล้วบรรจุทรายให้เต็ม แล้วโยนหม้อลงแม่น้ำ ถ่วงสุนัขลงไปในแม่น้ำตายในตรงนั้น

           (๒) พระภิกษุกลุ่มหนึ่งเดินทางไปประกาศพระศาสนาสัญจรไปในหมู่บ้าน ในระหว่างนั้นเกิดไฟไหม้ ไฟโหมหนักส่งเสวียนหม้อซึ่งมีลักษะเป็นวงกลมไฟติดไหม้ พุ่งขึ้นสู่อากาศ มีกาตัวหนึ่งบินมาชนเสวียนหม้อ เอาคอสวมเข้าไป ไฟจึงไหม้กาตัวนั้นตาย พระพุทธองค์ตรัสว่า กาตัวนี้เคยเป็นชาวนา ฝึกโคดื้อเพื่อใช้งานไถ ฝึกอย่างไรโคก็ไม่ทำตาม ทั้งตีแทงด้วยปฏัก โคก็ไปหน่อยหนึ่งแล้วก็หยุด จึงมัดฟางเป็นวงกลมสวมใส่คอโคจุดไฟเผา โควิ่นชนแผ่นดินไฟก็ไม่ดับถูกไฟคลอกตาย

           (๓) พระภิกษุกลุ่มหนึ่งเดินธุดงค์ไปในป่าแล้วไปพักในถ้ำแห่งหนึ่งประตูของถ้ำปิดเอง ใครมาช่วยเปิดอย่างไรก็เปิดไม่ได้ จนครบเจ็ดวันประตูเปิดเอง พระพุทธองค์ตรัสเล่าให้ฟังว่า อดีตชาติเป็นเด็กเลี้ยงโค ไปเจอตัวเงินตัวทองวิ่งเข้าไปในจอมปลวก ทุกคนก็เอาใบไม้ไปปิดทุกช่อง หลังจากนั้นก็เลี้ยงโคไปตามปกติ จนครบเจ็ดวันผ่านมาพอดี นึกได้ก็เลยไปเปิดเจอตัวเงินตัวทองผอมโซออกมา หลายคนบอกจะฆ่า แต่ก็มีคนห้ามไว้แล้วก็เลยปล่อยไป

           พอฟังเรื่องเหล่านี้แล้วทำให้มีความรู้สึกว่านี่แหละคือแสงสว่างของชีวิต

การไม่จองเวรเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์

เพราะว่าการเป็นคดีความ ชีวิตไม่มีความสุขเลย บวชเณร บวชพระแล้วก็ต้องไปศาล แต่พอบวชแล้ว ใจก็อภัยได้แล้ว แต่อัยการเขาก็ทำหน้าที่ฟ้องไปตามปกติ จนคดีปิดในปี ๒๕๔๔

           ในช่วงที่ทำงานเผยแผ่บนดอย มีหลายครั้งที่ต้องไปงานสลากภัตที่วัดบ้านของลุงผู้ที่เป็นผู้ต้องหาฆ่าพ่อ ลุงก็ไม่กล้ามาสู้หน้าเรา มีความหวาดกลัว ลุงคิดว่าเราจะมาแก้แค้น ไปฆ่าเขา ไม่มีความสุข แม้จะผ่านมา ๓๐ กว่าปีแล้ว เพื่อน ๆ ของลุงมาเล่าให้ฟัง หลัง ๆ ผมก็ไปหาลุงที่บ้านบอกว่า เรื่องผ่านมานานแล้ว คนตายก็ตายไปแล้ว ลุงก็อายุมากแล้ว มีโอกาสได้สร้างกุศลก็สร้าง หลัง ๆ ลุงก็มีความคลายกังวลลง ไม่มีความหวาดกลัว เพราะพระพุทธศาสนาแท้ ๆ ทำให้ผมได้เข้าใจเรื่องของการให้อภัย เป็นการปลูกพระพุทธศาสนาไว้ในใจ เป็นต้นไม้ใหญ่ให้คนได้พึ่งพา

พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ,พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส และ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโน ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พระมหาฐานันดร เขมปญฺโญ ,พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส และ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโน ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here