เนื่องด้วย วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ กลุ่มเพื่อชีวิตดีงามร่วมกับ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร จัดโครงการ บริการวิชาการถวายความรู้พระวิทยากร พระพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน ณ ศาลาหลวงพ่อโชคดี วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้ คือ ในช่วงปิดเทอมใหญ่ของทุกปี คณะสงฆ์จะมีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชน ด้วยการจัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ในแต่ละปีมีจำนวนมาก และดำเนินการครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ในประเทศไทย ถือว่าเป็นงานประจำปีที่มีความสำคัญ และเป็นโอกาสที่เยาวชนจะได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งอาจจะอาสาบรรพชาเป็นสามเณรศาสนทายาทสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาต่อไปด้วย

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ท่านเป็นแรงบันดาลใจของกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม และกลุ่มใต้ร่มพุทธรรม โดยการสนับสนุนการทำงานเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา การอบรมธรรมะให้กับประชาชนมาโดยตลอด
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ท่านเป็นแรงบันดาลใจของกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม และกลุ่มใต้ร่มพุทธรรม โดยการสนับสนุนการทำงานเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา การอบรมธรรมะให้กับประชาชนมาโดยตลอด

            แต่บุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นพระวิทยากร และพระพี่เลี้ยงสามเณร มีจำนวนน้อย และขาดประสบการณ์ความรู้ที่จะถ่ายทอดธรรมะพื้นฐานให้กับเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้หลายโครงการมีสามเณรบวชแต่ขาดพระช่วยสอนและดูแลอย่างดูต้องเหมาะสม

สถาบันพัฒนาพระวิทยากรได้เล็งเห็นจุดนี้ จึงได้จัดโครงการบริการวิชาการ ถวายความรู้พระวิทยากรและพระพี้เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน โดยใช้พระวิทยากรจากกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม ที่มีประสบการณ์ความรู้ด้านการเป็นพระวิทยากรและพระพี่เลี้ยงโครงการสามเณรทรูปลูกปัญญาธรรม จะได้นำมาถ่ายทอดและแบ่งปันองค์ความรู้ที่มีให้กับพระวิทยากรและพระพี่เลี้ยงโครงการสามเณรภาคฤดูร้อนฯ แห่งอื่นๆ เพื่อจะได้เป็นแนวทางและสร้างเสริมศักยภาพให้กับพระวิทยากรและพระพี่เลี้ยงให้มีหลักการ วิธีการและแนวทางในการสอน ดูแลสามเณรอย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนให้สูงสุดต่อไป

            โดยสถาบันพัฒนาพระวิทยากร ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริมพัฒนาทักษะพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา  ให้มีศักยภาพเพียงพอต่อการทำงาน จึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการบริการวิชาการ ถวายความรู้พระวิทยากร พระพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน ขึ้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพพระสงฆ์ พระวิทยากรและพระพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน ในครั้งนี้ให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป

มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อถวายความรู้ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการดูแลสามเณร ให้แก่พระสงฆ์ที่จะทำหน้าที่เป็นพระวิทยากร และพระพี่เลี้ยง ในโครงการสามเณรภาคฤดูร้อนประจำปี ๒๕๕๖๓ และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของการทำหน้าที่เป็นพระวิทยากรและพระพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน

โดยมีระยะเวลาการอบรม ๖ ชั่วโมง แบ่งเป็น ภาคเช้า ๒.๓๐ ชั่วโมง ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๑.๐๐ น. และ ภาคบ่าย ๓.๓๐ ชั่วโมง เวลา ๑๒.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น.

สำหรับ รูปแบบการอบรม เป็นรูปแบบสัมมนาเชิงปฏิบัติการ มีการบรรยายให้ความรู้  ใช้สื่อประกอบการบรรยาย บทบาทสมมุติ ถอดบทเรียนสะท้อนความคิดเห็น และฝึกปฏิบัติ ทักษะ เทคนิคที่ใช้สำหรับการอบรมสามเณร

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม : เป็นพระภิกษุ แม่ชี และสามเณร ที่จะทำหน้าที่เป็นพระวิทยากร พระพี่เลี้ยงในโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ที่พร้อมเข้ารับการอบรมครบชั่วโมงการอบรม จำนวน  ๒๐ รูป/ท่าน

ซึ่งตามกำหนดการเดิม คือวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ศาลาหลวงพ่อโชคดี วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

โดยมีวิทยากร ดังนี้

พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท
ประสบการณ์โครงการสามเณรทรูปลูกปัญญา

  • นักธรรมชั้นเอก
  • เปรียญธรรม ๕ ประโยค
  • ปริญญาตรี พธ.บ. สาขาวิชารัฐศาสตร์ (การบริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปริญญาโท ศศ.ม. สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

และ พระอาจารย์เชิดศักดิ์ สิริจนฺโท 
ประสบการณ์โครงการสามเณรทรูปลูกปัญญา

พระอาจารย์เชิดศักดิ์ สิริจนฺโท 
  • ป.ตรี คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา (พธ.บ.) ม.จ.ร
  • ป.โท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (วท.ม.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ท่านเป็นแรงบันดาลใจของกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม และกลุ่มใต้ร่มพุทธรรม โดยการสนับสนุนการทำงานเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา การอบรมธรรมะให้กับประชาชนมาโดยตลอด
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ท่านเป็นแรงบันดาลใจของกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม และกลุ่มใต้ร่มพุทธรรม โดยการสนับสนุนการทำงานเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา การอบรมธรรมะให้กับประชาชนมาโดยตลอด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

พระสงฆ์ที่จะทำหน้าที่เป็นพระวิทยากร และพระพี่เลี้ยง ในโครงการสามเณรภาคฤดูร้อนประจำปี ๒๕๕๖๓ ได้รับ ความรู้ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการดูแลสามเณร เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมของตนเอง และได้ความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของพระวิทยากรและพระพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน ตลอดจนเกิดเครือข่ายและสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง พระวิทยากรและพระพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน

แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(COVID-19) กำลังระบาด จึงขอเลื่อนการจัดออกไปจนกว่าสถานการของโรคระบาดจะคลี่คลายลง

และเพื่อให้เป็นไปตาม “ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มาตรการระยะเร่งด่วน สำหรับการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสCOVID-19 ”   ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์ของโรคระบาดเข้าสู่ภาวะปกติ จะดำเนินการแจ้ง วันและเวลา ในการจัดโครงการฯ ให้ทราบต่อไป

แม้ว่า โครงการ บริการวิชาการถวายความรู้พระวิทยากร พระพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน ณ ศาลาหลวงพ่อโชคดี วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดโดย กลุ่มเพื่อชีวิตดีงามร่วมกับ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร จะเลื่อนออกไป จากสถานการณ์โควิด ๑๙ ระบาด ในช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาที่จะได้ปฏิบัติธรรมดูสภาวะจิตใจของเราว่าหวั่นไหวไปกับสถานการณ์โรคระบาดอย่างไรบ้าง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้เราท่านพลิกวิกฤติเป็นโอกาสในการเจริญสติ สมาธิ จนกว่าจะเกิดปัญญาดวงตาเห็นความจริงของโลกธรรมทั้งหลายที่ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ มีแต่ทุกข์ และไม่มีอะไรเป็นของเราสักอย่างเดียว

จึงขอน้อมนำ “เพชรจากพระไตรปิฎก” จาก คัมภีร์พระวิทยากร “หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม” ที่ถอดรหัสจากการอบรมพระเณร และฆราวาสญาติโยมทั่วประเทศมากว่า ๒๐ ปี จนก่อเกิดเป็นหลักสูตรพระวิทยากรที่มีชีวิต จับต้องได้ นำไปปรับใช้ได้ทุุกการอบรม และการทำค่าย หรือนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ก็ได้ อีกทั้งสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพก็ได้ มาเล่าสู่กันฟัง โดยทีมพระวิทยากรจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ที่เติบโตอย่างมั่นคงจากการเกื้อกูลของ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ มากว่า ๒๐ ปี

กว่าจะมาเป็นคัมภีร์พระวิทยากรที่มีชีวิต

“หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม”

ตอนที่ ๑ “ขุดเพชรจากพระไตรปิฎก”

จากคอลัมน์ “วิปัสสนาบนหน้าข่าว” (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ. คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง ขุดเพชรจาก “พระไตรปิฎก” ถอดรหัสบูรพาจารย์
สู่ มรกดธรรม “คัมภีร์พระวิทยากร” โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิตอล
ที่ถอดรหัสจากพระไตรปิฎก และ บูรพาจารย์ ตามรอยพระพุทธเจ้า อย่างลุ่มลึกและมีนัยสำคัญที่จะนำผู้คนไปสู่ความพ้นทุกข์ได้จริง
ในคำนำจากใจคณะทำงานร่างหลักสูตรเล่าถึงความเป็นมาว่า …


จากการออกแบบหลักสูตรอย่างสมสมัย ถอดบทเรียนจากการฝึกอบรมนักเรียนระดับประุถม มัธยม และประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยพระวิทยากรกลุ่ม เพื่อชีวิตที่ดีงาม ด้วยหลักไตรสิกขาโดยกระบวนการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม หลังจากนั้น ราวปีพ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชกิจจาภรณ์ ได้ปรารภให้ทางกลุ่มเรื่องคู่มือการอบรมค่าย จนแล้วเสร็จเป็นรูปเล่ม ก่อนที่จะใช้อบรมจนถึงปัจจุบัน


“ในช่วงเวลานั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ได้ส่งพระวิทยากรลงไปฝึกอบรมพระสงฆ์ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และประชาชน รวมถึงเยาวชน ในพื้นที่จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๖ แต่การฝึกอบรมพระสงฆ์ในด้านกระบวนการเผยแผ่ยังมีอย่างต่อเนื่อง จนเกิดโครงการพระวิทยากรพระวิทยากรกระบวนธรรมขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๕๙ ที่ผ่านมา “

พระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ  ในขณะนั้น กับพระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ป.ธ.๙ ดร. และกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม
พระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ ในขณะนั้น กับพระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ป.ธ.๙ ดร. และกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม


โดยพระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการโครงการ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้คณะทำงานร่างหลักสูตร โดยมีพระมหาดร.ขวัญชัย กิตติเมธี และคณะกรรมการอีกหลายท่าน ช่วยกันร่างหลักสูตรจนแล้วเสร็จ ประกอบกับการนำเนื้อหาร้างหลักสูตร การอบรมค่าย ทุกมิติ ที่จะทำให้ผู้คนเข้าใจตนเองอันเป็นฐานรากที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และสังคม อีกทั้งยังสามารถนำไปช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย ผ่านกิจกรรมต่างๆ ในเล่มนี้ ที่ได้ถอดบทเรียนมาอย่างมีนัยสำคัญในการที่จะทำให้ผู้เรียนรู้ พ้นทุกข์ ตั้งแต่เบื้องต้น คือ เรื่องปากท้อง ไปจนถึง พระนิพพานเลยทีเดียว


ทั้งหมดนี้จากการทำงานอย่างมีอุดมการณ์ของ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ต้นแบบ พระวิทยากร ที่สร้างพระวิทยากรต่อไปไม่สิ้นสุด เพื่อช่วยเหลือคนทุกข์ให้พ้นภัยในวัฏสงสาร

การฝึกอบรม “พระวิทยากรกระบวนธรรม” รุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
การฝึกอบรม “พระวิทยากรกระบวนธรรม” รุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ


หลังจากการฝึกอบรม “พระวิทยากรกระบวนธรรม” รุ่นที่ ๒ จบลงระหว่างวันที่ ๑๘-๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ซึ่งใช้เวลาอบรมทั้งสิ้น ๘ วัน ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ พระมหาดร.ขวัญชัย กิตฺติเมธี พระวิทยากร ประธานกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนาพระมหากษัตริย์ ได้สรุปบทเรียนไว้อย่างน่าสนใจว่า มีงานหนังสือมากมายในโลกใบนี้ ทั้งหมดล้วนเขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าส่งทอดความคิดจากรุ่นสู่รุ่น และแต่ละความคิดนั้นยังได้ต่อเติมและส่งต่อจิตวิญญาณของผู้เขียนไปพร้อมกันด้วย


“ถ้าจะกล่าวถึงคัมภีร์สำคัญในด้านการพระพุทธศาสนาก็คือ พระไตรปิฎก ทั้งเนื้อหาและภาษาสอนเรื่องทุกข์และความดับทุกข์เป็นสำคัญ แต่การอ่านและศึกษาคัมภีร์นี้จำเป็นต้องอาศัยการตีความแบบผู้มีศรัทธาบ้าง แบบผู้มีปัญญาบ้าง หากเมื่อใดที่ผู้ศึกษาพบทางพ้นทุกข์ นั่นจึงจะถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของการศึกษาอย่างแท้จริง แต่หากยังไม่พ้นทุกข์ ผู้ศึกษาก็อาจได้รับผลของการตีความคำสอนนั้นแตกต่างกันไป ไม่มากก็น้อย”


นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ท่านเจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พัฒนาหลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรมขึ้นมาจากการถอดรหัสหลักธรรมจากพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกออกมาให้เข้าใจง่ายในการปฏิบัติจิตตภาวนา ผสานกับบทเรียนการเผยแผ่ธรรมของสี่บูรพาจารย์ที่เป็น “ต้นแบบ ต้นธรรม” คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) , พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) ,

หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


คัมภีร์พระวิทยากร “หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม” จึงเกิดขึ้น จากการปรารภของพระราชกิจจาภรณ์ เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๐ เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งได้ถ่ายทอดให้กับพระวิทยากรรุ่นแรกๆ นำโดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย ,พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป, พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม และ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท พระวิทยากรผู้ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งด้านอบรมและบรรยายธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์ เยาวชน และประชาชน ในนามกลุ่มเพื่อชีวิตดีงามตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๖๐ โดยมีหลักการสร้างพระวิทยากรจากจิตวิญญาณ รุ่นต่อรุ่น ใจต่อใจว่า

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น


“…ถ้าผมอยากจะสร้างพระวิทยากรผู้เสียสละอย่างพวกท่านขึ้นมาอีกเป็นคนที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ผมจะต้องทำอย่างไร พวกท่านลองเขียนและสร้างให้ผมสักหน่อย เพราะผมไม่มีความสามารถแบบนี้ แต่ผมมีจิตวิญญาณที่จะสร้างให้มีพระแบบพวกท่านที่มีจิตวิญญาณนักเสียสละแบบนี้ให้มากขึ้น เพราะพระพุทธศาสนาจำเป็นต้องอาศัยการเผยแผ่ที่เสียสละเพื่อต่อลมหายใจพระพุทธศาสนาให้ยาวนานที่สุด”

พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ป.ธ.๙ ,ดร. ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ป.ธ.๙ ,ดร. ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร


พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ป.ธ.๙ ,ดร. อธิบา่ยว่า เมื่อได้รับหลักการมาเช่นนี้ ก็ตระหนักในสิ่งนี้ว่าดี การค้นหาความจริงในชีวิตย่อมจะมีการเข้าใจผิดและถูกตามประสบการณ์จึงจำต้องอาศัยกัลยาณมิตรคอยชี้นำทางอยู่เสมอๆ และมีความจำเป็นต้องอาศัยการบอกต่อประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น


“แม้สิ่งที่สอนนั้นยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดแห่งความทุกข์อย่างแท้จริง แต่ก็ถือเป็นการเรียนรู้แบบพี่สอนน้อง เพื่อให้น้องได้เรียนรู้ความผิดพลาด ความสำเร็จบนหนทางที่พี่ได้เคยเดินเคยผ่านมาแล้ว ควรได้ส่งมอบเป็น มรดกธรรม ทั้งแง่ความรู้และจิตวิญญาณที่พี่มีให้น้องได้นำไปต่อเติมเสริมจากนี้ไปไม่สิ้นสุด”


หลังจากที่พระมหาขวัญชัย ได้ฟังความคิด อุดมการณ์ของอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ แล้วท่านกับทางทีมงานจึงได้ร่างหลักสูตรโดยได้นำแนวทางการจัดโครงการที่ผ่านมา เช่น โครงการพระวิทยากรกระบวนการพัฒนางานกระบวนธรรม เป็นต้น

ซึ่งริเริ่มโดยพระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท มาปรับปรุงเนื้อหาให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการอบรมพระวิทยากรกระบวนธรรม” แล้วเริ่มทำการอบรมในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ที่วัดสามพระยา จ.กรุงเทพมหานคร ใช้เวลาทั้งสิ้น ๑๒ วัน


“ตลอดระยะเวลาการอบรม มีทีมงานอีกชุดช่วยทำวิจัยและประเมินผลของหลักสูตรดังกล่าว จนได้พบจุดอ่อนและจุดแข็งในการอบรม เป็นที่มาของการเขียนหลังสูตรแบบสมบูรณ์ขึ้นจนเสร็จในปลายปี พ.ศ.๒๕๕๙ และได้นำมาใช้อบรมในโครงการอบรมพระวิทยากรกระบวนธรรม รุ่น ๒ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ใช้เวลาอบรมทั้งสิ้น ๘ วัน ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ”

การฝึกอบรม “พระวิทยากรกระบวนธรรม” รุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
การฝึกอบรม “พระวิทยากรกระบวนธรรม” รุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ

คัมภีร์พระวิทยากร หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม ได้ถูกส่งมอบให้ผู้เข้าอบรมจึงไม่ใช่แค่หนังสือที่มีตัวหนังสือให้อ่านแล้วได้ความรู้เท่านั้น แต่กลับเป็นตัวหนังสือที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณของพระวิทยากรที่เสียสละ ทุ่มเท ชัดเจน และใส่ใจกับทุกภาระงานที่รับผิดชอบ และตอนนี้ได้ถูกส่งต่อจิตวิญญาณไปสู่รุ่นน้อง และจะส่งต่อกันไปไม่สิ้นสุด นั่นคือจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนาที่จะสืบต่อกันไปไม่จบสิ้น


ดังที่ท่านเจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์กล่าวว่า เมื่อภาคทฤษฎีจากการอบรม เสร็จแล้ว ต่อไปเป็นภาคปฏิบัติการ โดยในภาคปฏิบัติการนี้ พระวิทยากรที่ผ่านภาคทฤษฎีทุกรูปจะต้องลงพื้นที่ในภูมิของตน นำทฤษฎีตามหลักสูตรที่ได้ฝึกอบรมมาไปลงมือปฏิบัติจริง ตามโรงเรียน ชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง
“จากนั้น ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ก็จะส่งพระวิทยากรที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไปประเทศอินเดีย ให้ดูดซับศรัทธา อุดมการณ์ และปณิธานบนแผ่นดินพุทธภูมิ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเผยแผ่ ต่อไป จึงจะชื่อว่าจบหลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรมสมบูรณ์”

กว่าจะมาเป็นคัมภีร์พระวิทยากรที่มีชีวิต “หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม” ตอนที่ ๑ “ขุดเพชรจากพระไตรปิฎก” โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here