หนังสือ "ลูกผู้ชายต้องบวช" โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ อุปถัมภ์การจัดพิมพ์โดย บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จนกว่าหนังสือจะหมด
หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ อุปถัมภ์การจัดพิมพ์โดย บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จนกว่าหนังสือจะหมด

หนังสือที่ลูกผู้ชายทุกคนต้องอ่าน

ลูกผู้ชายต้องบวช

เรียนรู้ชีวิตลูกผู้ชาย ภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

เพื่อเรียนรู้ชีวิตพระภิกษุที่สมบูรณ์

ญาณวชิระ

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร ) ในขณะนั้น เจ้าของนามปากกา "ญาณวชิระ" ผู้เขียน "ลูกผู้ชายต้องบวช" และหนังสือธรรมะอีกมากมาย อาทิ พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ , หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , มหาสมัยสูตร, ทศชาติ : ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ฯลฯ
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร ) ในขณะนั้น เจ้าของนามปากกา “ญาณวชิระ” ผู้เขียน “ลูกผู้ชายต้องบวช” และหนังสือธรรมะอีกมากมาย อาทิ พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ , หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , มหาสมัยสูตร, ทศชาติ : ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ฯลฯ
บรรพชาสามเณรเอิร์ต ปี พ.ศ.๒๕๕๙
บรรพชาสามเณรเอิร์ต ปี พ.ศ.๒๕๕๙

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช

โดย ญาณวชิระ

บรรพ์ที่  ๒

ความเข้าใจเรื่องการบวช

(ตอนที่ ๙)  วิธีการบวชในพระพุทธศาสนา

การบวชในตอนต้นพุทธกาลยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน โดยพระพุทธองค์เป็นผู้บวชให้ เนื่องจากพระสงฆ์ยังมีจำนวนไม่มาก  เมื่อมีผู้ออกบวชมาก และจำนวนพระสงฆ์มากขึ้น  จึงทรงมอบอำนาจการบวชให้สงฆ์เป็นผู้ตัดสิน ต่อมาการบวชจึงมีรูปแบบที่ชัดเจนและรัดกุมยิ่งขึ้น  ในพระพุทธศาสนามีการอุปสมบท  ๓  วิธี  คือ

๑. การบวชด้วยพิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา  

  การอุปสมบทด้วยการเปล่งวาจาว่า   “ท่านจงเป็นพระภิกษุเถิด”   วิธีนี้พระพุทธองค์เป็นผู้บวชให้ด้วยพระองค์เอง  ในต้นพุทธกาล          

ภายหลังการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า  พระองค์ได้ออกเทศน์สั่งสอนประชาชน  จนมีผู้ศรัทธาขอบวชด้วยเป็นจำนวนมาก   แต่สมัยนั้นยังไม่มีรูปแบบการบวชเป็นพระภิกษุที่ชัดเจน

พระพุทธองค์จึงตรัสเพียงว่า

“ท่านจงเป็นพระภิกษุเถิด” 

พระพุทธดำรัสนี้จึงเป็นพิธีอุปสมบทในยุคต้นพุทธกาล  แต่อย่างไรก็ตาม  พระพุทธดำรัสนี้มี ๒ แบบ คือ

      • สำหรับผู้ขอบวชที่ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว พระพุทธองค์ตรัสว่า  “ขอท่านจงเป็นพระภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์”  พอจบวาจานี้ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุ

      •  สำหรับผู้ขอบวชที่ยังไม่ได้บรรรลุพระอรหัต พระพุทธองค์ตรัสว่า  “ขอท่านจงเป็นพระภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบเถิด”   

พอจบวาจานี้ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุ  เพราะผู้ขอบวชที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัต  ยังต้องมีหน้าที่ประพฤติพรหมจรรย์  โดยมีการบรรลุธรรมเป็นเป้าหมาย

  พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

“เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” 

สำหรับผู้ขอบวชที่ยังไม่ได้บรรลุธรรม   ยังมีภาระต้องปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระอรหัต อันเป็นที่สุดแห่งการประพฤติพรหมจรรย์

๒. การบวชด้วยการให้ไตรสรณคมน์   

คือ การบวชด้วยการเปล่งวาจาขอถึงสรณะ ๓  คือ  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ว่าเป็นที่พึ่ง  โดยผู้ขอบวชตั้งใจปฏิญาณว่า 

พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิฯ 

ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิฯ  

สังฆังสะระณัง  คัจฉามิฯ 

  คำแปล 

ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก 

ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก 

ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก  

จบการเปล่งวาจาขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกครบ ๓ วาระ  การอุปสมบทก็เป็นอันสำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์บริบูรณ์  วิธีนี้ทรงอนุญาตให้พระสาวกเป็นผู้บวชให้กุลบุตรที่มาขอบวช  ภายหลังทรงยกเลิกพิธีบวชแบบไตรสรณคมน์  และอนุญาตให้ใช้เป็นพิธีบวชสามเณร  โดยสามเณรรูปแรกที่ได้รับการบวชแบบไตรสรณคมน์  คือ สามเณรราหุล

สามเณรราหุลจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา โดยมีพระสารีบุตรเป็นองค์อุปัชฌาย์

๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา 

คือ  การอุปสมบทที่สงฆ์ร่วมกันให้การอุปสมบทด้วยวิธีสวดประกาศกรรม ๔ จบทั้งญัตติ การอุปสมบทแบบญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา  เป็นการอุปสมบทโดยผ่านมติสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงมอบอำนาจให้สงฆ์เป็นผู้มีอำนาจในการที่จะให้การอุปสมบทแก่กุลบุตร  มิใช่มอบอำนาจให้พระสาวกรูปใดรูปหนึ่ง   และเป็นวิธีที่ใช้อุปสมบทมาจนถึงปัจจุบัน

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ล้อมกรอบ

หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน โดยสถาบันพัฒนาพระวิทยากร อุปถัมภ์การจัดพิมพ์โดย บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด ติดต่อรับได้เป็นธรรมบรรณาการ (ฟรี) ที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จนกว่าหนังสือจะหมด

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here