โชคดีที่มีสติ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
โชคดีที่มีสติ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

 

 จะมีโชคดีอะไรเท่า “โชคดีที่มีสติ”

 

 

พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

 

 

โชคดีที่มีสติ”

หนังสือที่บอกทางออกจากวังวนของ “ความคิด”

ด้วยการ “รู้สึกตัว” 

 

“สติมโต สทา ภทฺทํ”  ผู้มีสติย่อมเป็นผู้เจริญทุกเมื่อ

พระพุทธพจน์กล่าว ไว้อย่างนั้น เป็นจริงแท้ จะมีโชคดีอะไรเท่า “โชคดีที่มีสติ”

ปัญหาก็คือว่า จะพบตัวสติ จะสร้างสติให้เกิดมีได้อย่างไร นี่ล่ะ เป็นสิ่งจะชวนกันอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่บอกเทคนิคการฝึก “ความรู้สึกตัว” อย่างต่อเนื่องจนสติมา ปัญญาเกิด ก็พร้อมใช้ในการต่อกรกับกิเลสน้อยใหญ่ได้อย่างแน่นอน (ถ้าฝึกจริงๆ ผลย่อมเกิดจริง) 

พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป แห่งวัดธรรมาภิรตาราม (วัดสะพานสูง) บางซื่อ กรุงเทพฯ ท่านเป็นพระวิทยากรที่มีความสามารถมากมายในการถอดรหัสธรรม นำมาถ่ายทอดผ่านการภาวนาผสานกับการสอนเยาวชนในค่ายธรรมะมากมายจนก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาชีวิตที่ผู้อ่านสามารถนำมาใคร่ครวญและนำไปใช้ได้ทันทีทันใด เวลาเกิดทุกข์ไม่ต้องวิ่งไปหาใคร แต่เมื่อใดที่กลับมาอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อย่างมีสติจดจ่อสักพัก ปัญญาจะเกิดมีพร้อมใช้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที

จริงหรือไม่ต้องหามาอ่านกันดู

ดังเช่น ตอนหนึ่งในเรื่อง “เปลี่ยนคีย์ของชีวิต (สติ รักษาโรคซึมเศร้า)”

พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

พระมหาประสิทธิ์ เล่าว่า … ผู้เขียนเป็นอีกคนหนึ่งซึ่งเคยมีเสียงเพลงเป็นน้ำรดดินแล้งทำให้ความรู้สึกมันชุ่มชื่นขึ้นมาบ้าง  โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์สะเทือนความรู้สึก ความสนุกในวัยเด็กไม่ได้เตรียมให้เราพร้อมที่จะเจอเรื่องเหล่านี้  และก็ไม่เคยมีใครบอกให้เรารู้ว่าวันหนึ่งโลกใบเล็กของเรามันจะเปลี่ยนไป  ยังดีที่ไม่ได้ถลำไปไกลเกินรั้งไว้   มาบวชเณรพบพระธรรมะและความเมตตาของหลวงพ่อเสียก่อน ไม่เช่นนั้น ก็ยากจะคาดเดา

       “นักร้องที่ผู้เขียนชอบฟังตอนเด็กๆ ผู้ที่เคยสร้างแรงบันดาลใจในวัยรุ่นและเติมพลังให้ในวันท้อ พวกเขากลับปลดปลงตนเองจากโลกไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยอัตวินิบาตกรรม  ก่อนหน้านั้นก็ไม่ค่อยเข้าใจถึงกับทำใจยาก  เหมือนถูกเขาหักหลังว่า ทำไมในเมื่อเขาให้เราสู้ตัวเองกลับยอมแพ้   เมื่อผู้เขียนมีธรรมะเป็นที่พึ่ง  ช่วยให้เข้าใจอะไรหลายๆ อย่างชัดขึ้น  แม้จะไม่ทั้งหมดแต่ก็เพียงพอที่จะไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งที่เข้ามากระทบมากนัก  การประคับประคองใจให้ก้าวผ่านคืนวันอันลำบากจึงทำได้ไม่ต้องพึ่งเพลงเหมือนตอนวัยรุ่น

     …ถ้าเขาคนนั้นเคยมีประสบการณ์อดีตอันเลวร้าย หรือกำลังผจญกับปัญหาอันกลัดกลุ้มหาทางออกไม่เจอ  และไม่รู้จะไปปรึกษากับใคร  ก็จะยิ่งส่งผลต่อจิตใจและระบบความคิด  นำไปสู่ความรู้สึกเศร้าเกินกว่าจะอธิบายให้ใครเข้าใจได้  … สภาวะที่กล่าวมาไม่ได้อธิบายอาการของคนใดคนหนึ่ง  แต่เปรยโดยรวมถึงความคิดความรู้สึกบางอย่างของคนที่กำลังมีเศร้ามากๆ  จนถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้า  หรืออาจแค่อารมณ์เศร้าบางช่วงของชีวิตเท่านั้น   ทักษะการจัดการอารมณ์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนยุคใหม่ 

           การจัดการอารมณ์และดูแลความรู้สึกของตนเองอย่างเหมาะสม พระมหาประสิทธิ์กล่าวต่อมาว่า  จำเป็นมากสำหรับคนทุกยุคสมัย  เพราะไม่ว่ายุคไหนๆ ใจของคนก็ยังคงมีความทุกข์อยู่   โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยุคนี้ที่มีอะไรๆ ต่อมิอะไรถาโถมเข้ามาในชีวิต  จึงทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย

           “ความซึมเศร้า  ท้อแท้  หดหู่ ภาษาพระเรียกว่า  ถีนมิทธะ  ซึ่งเกิดจากจิตปรุงแต่ง  พูดง่ายๆ คือคิดไปเองว่า ตัวเองเหนื่อยท้อ  ทำไม่ได้  ตัวเองไม่มีค่า  หดหู่เมื่อรู้สึกว่าคนอื่นไม่เห็นค่าของตน  ทำให้พลังในการเผชิญสถานการณ์ในชีวิตดูเป็นเรื่องยากมาก  เลยไม่อยากจะทำอะไร  ตรมจมความเศร้าเกินกว่าจะพาตัวเองออกมาได้ “

           ท่านอธิบายว่า วิธีแก้ความซึมเศร้าก็คือ

๑) ต้องปลุกตัวเองให้ตื่น  กระตุ้นตัวเองด้วยใจอยู่เสมอ  ยิ้มและเคลื่อนไหวร่างกายให้เหมาะสม  เช่น การออกกำลังกายเป็นหมู่คณะ มีสติกับการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะวิ่ง เล่นกีฬา เต้นแอโรบิค ไม่ต้องคิดถึงอดีต อนาคต อยู่กับปัจจุบันขณะ แค่วิ่ง  แค่รู้สึกตัว ยิ้มหัวเราะไปกับเพื่อนๆ เท่านั้น

) หลีกเลี่ยงเพื่อนที่มีอาการคล้ายกัน   พระท่านว่า คบคนเช่นไรย่อมเป็นคนเช่นนั้น  เพื่อนที่ชอบชวนพูดเรื่องที่หดหู่ หรือชวนไปเสี่ยงกับสารเสพติดและสถานบันเทิงกลางคืน  สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย  อาจจะแย่กว่าเดิมหรือเพิ่มปัญหาใหม่ด้วยซ้ำ

๓) ลองเปลี่ยนวิถีชีวิต  เราไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้  ถ้าเรายังคิดเหมือนเดิม  ทำเหมือนเดิมอยู่  ถ้าเราอยากให้สิ่งต่างๆ ในชีวิตเรามันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  บางครั้งเราต้องตัดสินใจที่จะทำสิ่งใหม่  คิดใหม่ทำใหม่  

บางทีเราอาจจะไม่ยังไม่ต้องคิดถึงจุดสุดท้าย (IN THE END) แต่สำคัญคือต้องมีสติ  ระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน (HERE AND NOW) ไม่ว่าจะอย่างไรฝึกที่จะบอกตัวเองเอง (TALKING  TO YOURSELF) ให้สู้เข้าไว้  ยิ้มไว้โลกนี้ไม่สิ้นหวัง (LIFE IS BEAUTIFUL)

ถ้าเราเปลี่ยนโลกไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลก แต่เราจะทำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าไม่เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อตนเองเสียก่อน  จงตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง (self-esteem) และลมหายใจที่เรายังมีอยู่  เพราะมันคือสิ่งที่บ่งบอกว่า  “ความหวังยังคงมีอยู่เสมอ”

ดังนั้น คำแนะนำเบื้องต้นของท่านก็คือ  เราคงไม่ต้องรอให้ตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า  แต่การฝึกซ้อมใจในขณะปกติอยู่นี่แหละ  จึงจะเป็นภูมิคุ้มใจไม่ให้ทุกข์ได้ดีที่สุด เพราะ…

“เพลงใหม่ยังคงใช้โน้ตตัวเดิมเล่น  แค่เปลี่ยนคีย์บ้างก็เท่านั้น 

ชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นอาจเปลี่ยนแค่ความคิดเก่าที่ยังเศร้าอยู่ 

ขยับให้รู้สึกตัวและรู้สึกดีสักหน่อย 

บางทีความเศร้าอาจจะหายไปในโน้ตตัวถัดไปนี่เอง ”

สำหรับที่มาของ “โชคดีที่มีสติ” เล่มนี้ พระมหาประสิทธิ์ เขียนไว้ในคำนำตอนหนึ่งว่า เป็นการรวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ในคอลัมน์ “โชคดีที่มีพระ” หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๙-พ.ศ.๒๕๖๐ ทุกวันพฤหัสบดี ซึ่งหลายคนที่อ่าน ก็ได้สะท้อนให้ฟังในมุมที่ดี ทั้งเข้าใจง่าย และ ใช้ได้จริง จึงมั่นใจว่า จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านอย่างแน่นอน …

โชคดีที่มีสติ เขียนโดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
โชคดีที่มีสติ เขียนโดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

 

 

โชคดีที่มีสติ โดย พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป
โชคดีที่มีสติ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

 

 

 

 

“สติมโต สทา ภทฺทํ”  ผู้มีสติย่อมเป็นผู้เจริญทุกเมื่อ

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here