เรียนรู้ปฏิปทาพระเถระ ผู้นำพระพุทธศาสนาก้าวสู่โลกยุคใหม่

เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้ออกจากทุกข์ในสังสารวัฏ

“ปูชา จ ปูชนียานํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ.

ขอนอบน้อมแด่ครู พระอุปัฌชาย์ อาจารย์

ผู้ให้ชีวิตในพระศาสนาของพระพุทธองค์ ด้วยเศียรเกล้าฯ”

วิถีแห่งผู้นำ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร)

๑๐๐. ยุทธศาสตร์ในการทำงานของพระธรรมทูตอาสา

เรียบเรียงโดย พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง)

สำหรับบทนี้ ผู้เขียนสรุป ๑๒ ยุทธศาสตร์ในการวางรากฐานการทำงานของพระธรรมทูตอาสาจากแนวความคิดของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) สู่ภาคการปฏิบัติมากว่า ๒๐ ปี นับเป็นแสงแห่งจิตวิญญาณความมั่นคงพระพุทธศาสนา  แสงสุดท้าย ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ถ่ายทอดจิตวิญญาณความรักในพระพุทธศาสนา ผ่านพระธรรมทูตอาสา เพื่อให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ในการช่วยเหลือผู้คนให้พ้นทุกข์และพบกับความสันติสุขภายในใจนั่นเอง

๑๐๐. ยุทธศาสตร์ในการทำงานของพระธรรมทูตอาสา

              ยุทธศาสตร์ในการทำงานของพระธรรมทูตอาสา  ตามดำริของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์  ดังนี้

๑.การเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์  เป็นการส่งเสริมการปรองดองของคนในพื้นที่  สร้างเครื่องมือและกระบวนการสันติสุขแนวทางสันติวิธี  และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่  บนพื้นฐานความแตกต่างทางอัตลักษณ์และประสานทำความเข้าระหว่างองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และสร้างจิตสำนึกและสร้างค่านิยม  คุณค่าในการอยู่ร่วมกันในสังคมสันติสุข

๒.การสร้างความเป็นธรรมในสังคม  เพิ่มโอกาสให้พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ได้ปฏิบัติศาสนกิจตามปกติ  การกระจายการให้บริการและดูแลชาวพุทธอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง  และสร้างเสริมศักยภาพของวัดให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้ง ๖ ด้าน

๓.การสร้างชุมชนเข้มแข็ง  สร้างศักยภาพให้ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง  สามารถพึ่งพาตนเองได้ พัฒนาระบบการบริหารจัดการของเศรษฐกิจชุมชน  สร้างกลไกและกระบวนการเรียนรู้  ในการมีส่วนร่วมของชุมชน  โดยสร้างเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ให้เกิดการเรียนรู้และความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เสริมสร้างวิธีการกระตุ้นหรือจุดประกายให้ชุมชนมีการเคลื่อนไหวในทางสร้างสรรค์ที่จะช่วยพัฒนางานชุมชน  สนับสนุนให้นำวิธีการทำงานร่วมกันแบบที่เรียกว่า “สหการ” (สหการ คือ รูปแบบของความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) มาใช้  หรือวิธีประสานกำลังกันแบบสมาคมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญหาของท้องถิ่น  ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน  และส่งเสริมกิจกรรมการต่อต้านความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชุมชน

๔.การส่งเสริมคุณภาพชีวิต  จัดให้มีสวัสดิการ  การสงเคราะห์  การดูแลด้านสุขภาพอนามัย  และการบริหารจัดความเสี่ยงแบบบูรณาการ

๕.วิถีพุทธวิถีไทย  การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในพื้นที่เสี่ยงภัย  ชุมชนชาวพุทธชุมชนเข้มแข็ง  วัดเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม  และดำรงความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา

๖.การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพพระธรรมทูตอาสา  ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ให้มีคุณภาพ  ส่งเสริม  สนับสนุนกิจกรรมการฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษของเครือข่ายพระธรรมทูตอาสา เตรียมความพร้อมของธรรมทูตอาสาก่อนการปฏิบัติงาน  และพัฒนาบุคลากรขององค์กรชาวพุทธ  ทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม  จริยธรรม

๗.การพัฒนาการศึกษาวิจัยทางพระพุทธศาสนา  ส่งเสริม สนับสนุนการงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา  ส่งเสริมพัฒนาแนวทางและกระบวนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมีประสิทธิภาพ

๘.การส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา  ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา อนุรักษ์  ฟื้นฟูประเพณีทางศาสนา วัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๙.การประชาสัมพันธ์และการเผยแผ่  การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และการประชาสัมพันธ์เชิงลึก

๑๐.การบริหารจัดการ  องค์กรชาวพุทธ  องค์กรคณะสงฆ์  และหน่วยงานของรัฐร่วมแก้ไขปัญหา วางระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ  จัดตั้งกองทุนชาวพุทธเพื่อสนับสนุนกิจกรรมใน ๕  จังหวัดชายแดนภาคใต้  เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการกองทุน  จัดตั้งสำนักงานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้  และจัดหา  ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาอาคารสถานที่  วัสดุครุภัณฑ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

๑๑.การพัฒนาเมืองพุทธ และพื้นที่เฉพาะ  สนับสนุนให้ออกกฎหมายเพื่อกำหนดพื้นที่เฉพาะในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา  ส่งเสริมให้ชาวพุทธกลับถิ่น  และรัฐมีมาตรการอย่างชัดเจนในการปกป้องชาวพุทธ

๑๒.ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา  พัฒนาความเชื่อมโยงการทำงานขององค์กรชาวพุทธทั่วโลก พัฒนาและส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหาภัยทางศาสนา  จัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เปิดประตูและพัฒนาความร่วมมือการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกับประเทศมาเลเซีย ในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้

              นับเป็นแสงแห่งจิตวิญญาณความมั่นคงพระพุทธศาสนา  แสงสุดท้าย ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ถ่ายทอดจิตวิญญาณความรักในพระพุทธศาสนา ผ่านพระธรรมทูตอาสา อันเป็นอมตะวาจาที่จะตรึงใจเหล่าพุทธบุตร ผู้ทำหน้าที่พระธรรมทูตอาสา ไปตราบนานเท่านาน

ร่องรอยความทรงจำแห่งอดีต บอกเล่าปฏิปทาในการครองตน ครองคน ครองงาน เพื่อจรรโลงความดีงาม ตามครรลอง “วิถีแห่งผู้นำ”

วิถีแห่งผู้นำ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) ๑๐๑. ยุทธศาสตร์ในการทำงานของพระธรรมทูตอาสา เรียบเรียงโดย พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here