วันนี้วันพระ วันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙
ศึกษาปฏิปทาพระเถระแแห่งยุคสมัยในกึ่งพุทธกาล
ผู้สร้างพระสงฆ์เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้ออกจากทุกข์ในสังสารวัฏได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกที่ส่งพระธรรมทูตจาริกธรรมมายังแผ่นดินสุวรรณภูมิ
“ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ.
ขอนอบน้อมแด่ครู พระอุปัฌชาย์ อาจารย์
ผู้ให้ชีวิตในพระศาสนาของพระพุทธองค์ ด้วยเศียรเกล้าฯ”
สำหรับสองตอนนี้ผู้เขียนสรุปผลงานทางด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ พาดำเนิน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในเวลาต่อมา และจุดกำเนิดวันสามเณร อันเชื่อมโยงไปถึงการบรรพชาของพระราหุล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวันสำคัญนี้
ร่องรอยความทรงจำแห่งอดีต
บอกเล่าปฏิปทาในการครองตน ครองคน ครองงาน
เพื่อจรรโลงความดีงาม ตามครรลอง “วิถีแห่งผู้นำ”
วิถีแห่งผู้นำ
: สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร)
๖๒. งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๖๓. กำเนิดวันสามเณร
เรียบเรียงโดย พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง)
๖๑.งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ได้แสดงพระธรรมเทศนาภายในพระอุโบสถวัดสระเกศฯ ภายในพรรษาและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นประจำ ได้แสดงธรรมทางสถานีวิทยุ ๙๑๙ ในรายการ “ของดีจากใบลาน” และเป็นองค์อุปถัมภ์วัดไทยในต่างประเทศหลายประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เยอรมนี ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ เป็นต้น
ผลงานประเภทหนังสือ
-ธรรมะสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนา
-ดีเพราะมีดี
-การนับถือพระพุทธศาสนา
-ปาฐกถาธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
-โอวาทพระธรรมเทศนาและบทความสมเด็จพระพุฒาจารย์
-การดำรงตน
-คุณสมบัติ ๕ ประการ เป็นต้น
๖๒. กำเนิดวันสามเณร
เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานวันสามเณรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเริ่มมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ เป็นการจัดกิจกรรมเฉพาะสามเณรภายในวัดสระเกศฯ เพื่อเป็นเวทีให้สามเณรได้แสดงความสามารถ และฝึกทักษะการทำงานร่วมกันในรูปแบบองค์กร และในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ ได้มีการนิมนต์สามเณรจากวัดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานครเข้าร่วมกิจกรรม อันถือเป็นการกำเนิด “วันสามเณร” อย่างเป็นทางการ จนเป็นที่นิยมแพร่หลายไปตามวัดต่างๆ ถึงปัจจุบัน
“อายุยังน้อยต้องเรียน
เรียนอะไรก็ได้ที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย
อย่าอยู่เฉยๆ
เพราะพระเณรจะต้องรับภารธุระพระศาสนา
แต่หลวงพ่อแก่แล้ว
คนแก่จะทำอะไรได้
แค่ให้หายใจอยู่เฉยๆ ก็ยังแย่แล้ว”
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)