บนเส้นทางการประกาศพระศาสนาของพระพุทธองค์ ตั้งแต่ต้นพุทธกาลเป็นต้นมา เต็มไปด้วยการท้าทาย ท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐของแคว้นต่างๆ และการประกาศคำสอนของเจ้าลัทธิทั้งหลาย  ที่หมายเอาชนะพระพุทธองค์ และเหล่าพระสาวกด้วยการตั้งเรื่องขึ้นโต้วาทะ เพื่อหักล้างหลักคำสอน ทั้งใส่ความ ทั้งใช้เล่ห์เพทุบาย บ้างก็หมายเอาชีวิต บ้างก็มุ่งทำลายชื่อเสียง เพื่อตัดกำลังพระศาสนาให้อ่อนแอลง พระสาวกบางองค์ต้องจบชีวิตลงบนเส้นทางการประกาศพระศาสนา เช่น พระโมคคัลลานะ เป็นต้น

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร)

ธรรมนิพนธ์เรื่อง "ความเป็นมาของพระอภิธรรม" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๑ ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๑ ฉบับธรรมทาน

วันนี้วันพระ วันอังคารที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑

ศึกษาความเป็นมาของพระอภิธรรม

บทที่ ๑๔ (ตอนที่ ๑๕)

คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ : ว่าด้วยเรื่องหลักคำสอน

เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้
ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้

คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหลักคำสอน

จากนี้จะพูดถึง กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ ๕ แห่งพระอภิธรรมปิฎก คำว่า “กถา” แปลว่า ถ้อยคำ คำกล่าว คำอธิบาย หรือหลักคำสอน เช่น ธัมมกถา คำกล่าวแสดงหลักธรรม ทานกถา คำกล่าวแสดงการให้ทาน วาทกถา คำกล่าวแสดงวาทะ หรือคำประกาศลัทธิ ติรัจฉานกถา คำกล่าวที่ขวางทางสวรรค์และนิพพาน เป็นต้น ส่วนคำว่า “วัตถุ” แปลว่า เรื่อง ข้อความ คัมภีร์ หรือปกรณ์ เมื่อรวมคำทั้ง ๒ เข้าด้วยกันเป็น “กถาวัตถุ”  แปลว่า คำอธิบาย คัมภีร์ หรือ ปกรณ์ที่ว่าด้วยหลักคำสอน

คัมภีร์ “กถาวัตถุ” ในพระอภิธรรมปิฎกนี้ แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา แต่ก็ทรงแสดงหลักคำสอนของลัทธินอกศาสนาไว้เป็นตัวอย่างด้วย เพื่อจะได้รู้ว่า เรื่องไหนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องไหนเป็นคำสอนนอกศาสนาที่ผิดแผกแปลกปลอมเข้ามา เมื่อจะทรงแสดงกถาวัตถุ (เรื่องคำสอน) ไว้เป็นหลัก จึงทรงแสดงทั้งสองเรื่อง คือ เรื่องที่พระองค์ทรงสอนไว้เอง และเรื่องที่อาจารย์พวกอื่นสอนไว้ เพื่อจะได้เป็นข้อเปรียบเทียบ เหมือนเมื่อจะแสดงสีขาว ก็ต้องแสดงสีดำไว้ด้วย จะได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสีขาวกับสีดำว่าเป็นอย่างไร

ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๑ ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๑ ฉบับธรรมทาน

ในคัมภีร์กถาวัตถุก็เช่นกัน เรื่องที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า “สกวาที” แปลว่า คำสอนของเราเอง หมายถึง พระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่ประยุกต์ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เพิ่มเติม ไม่ตัดทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนา ครั้งที่ ๑ ซึ่งมีพระมหากัสสปะ เป็นประธาน

คำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระเถระท่านสอนกันมาเช่นไร ให้ยึดถือปฏิบัติตามนั้น ส่วนคำสอนนอกศาสนา ใช้คำว่า “ปรวาที” แปลว่า คำสอนของผู้อื่น หมายถึง อาจริยวาท คือ เป็นคำสอนของอาจารย์พวกอื่นว่าไว้ หรือคำสอนของภิกษุนิกายอื่น นอกจากนิกายเถรวาท ซึ่งนำความคิดลัทธินอกศาสนาเข้ามาเจือปนในพระพุทธศาสนา ในที่นี้ หมายถึง ภิกษุชาววัชชีบุตรที่ยกวัตถุ ๑๐ ประการมาเป็นเหตุ ทำให้เกิดการแยกนิกายไปตามความเห็น และลัทธินอกศาสนา เช่น พวกอัญเดียรถีย์ ที่มีความเห็นว่า บุคคล (คือ อัตตา สัตตะ และชีวะ) มีอยู่จริง เป็นของเที่ยง เป็นต้น

“พระพุทธองค์ทรงใช้เวลา ๑๐ วัน

ในการแสดงกถาวัตถุโปรดพระพุทธมารดา

ทรงแสดงโดยย่อ

และทรงนำกถาวัตถุมาตั้งหัวข้อ(มาติกา) ไว้เป็นพอตัวอย่าง

โดยมีพระสารีบุตรเป็นผู้ทรงจำไว้”

และมีพระสาวกทรงจำนำสืบๆ กันมา ต่อมา พระเถระ ได้แก่ พระโมคคัลลิบุตร ติสสะเถระ ได้ทำหน้าที่ขยายความมาติกาแห่งกถาวัตถุให้ละเอียดออกไป มีนัยพิสดารกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยตั้งเป็นคำถามโต้ตอบตามคำสอนในพระพุทธศาสนา เรียกว่า สกวาที จำนวน ๕๐๐ เรื่อง และเป็นคำสอนนอกศาสนา เรียกว่า ปรวาที อีกจำนวน  ๕๐๐ เรื่อง เพื่อต้องการที่จะทำลายทิฐิ คือ ความเห็นผิดของฝ่ายอื่นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคำสอนในพระพุทธศาสนา รวมกถาวัตถุทั้งที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าและคำสอนลัทธินอกศาสนา จำนวน ๑๐๐๐ เรื่อง

ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๑ ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๑ ฉบับธรรมทาน

กถาวัตถุที่พระพุทธองค์ทรงตั้งไว้เป็นมาติกา(หัวข้อ) ซึ่งพระสงฆ์นำมาใช้เป็นบทสวดในพิธีสวดพระอภิธรรมมี ดังนี้

ปฺคคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ? อามนฺตาฯ โย สจฺฉิกตฺโถ  ปรมตฺโถ, ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ? นเหวํ วตฺตพฺเพ, อาชานาหิ หิคฺคหํ, หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ, สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน ? เตน วตเร วตฺตพฺเพฯ โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ, ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ มิจฺฉาฯ

คำแปล

สกวาที ถามว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถอันยิ่ง กระนั้นหรือ ?

ปรวาที ตอบว่า ใช่ ฯ

สกวาที ซักต่อไปว่า สภาวะใดที่มีอรรถอันแจ่มแจ้ง และมีอรรถอันยิ่ง ปรากฎอยู่ ท่านเข้าไปหยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถอันยิ่งกระนั้นหรือ ?

ปรวาที กล่าวปฏิเสธว่า ไม่สมควรจะกล่าวอย่างนั้น

สกวาที กล่าวว่า ท่านรู้แต่พลั้งไป ถ้าว่า ท่านหยั่งรู้เห็นบุคคลได้โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และอรรถอันยิ่งได้แล้วไซร้ ?

เพราะเหตุนั้นแล ท่านก็ควรจะกล่าวว่า สภาวะใดมีอรรถที่แจ่มแจ้ง และมีอรรถอันยิ่ง ปรากฏอยู่ ข้าพเจ้าก็เข้าไปหยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยอรรถที่แจ่มแจ้งและโดยอรรถอันยิ่งได้ เพราะเหตุนั้น (ปัญหานี้ ท่านควรจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าไปหยั่งเห็นบุคคลโดยอรรถที่แจ่มแจ้งและโดยอรรถอันยิ่ง แต่ไม่สมควรจะกล่าวว่า สภาวะใดมีอรรถที่แจ่มแจ้ง และมีอรรถอันยิ่งปรากฏอยู่ ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นบุคคลนั้นโดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถอันยิ่ง ด้วยเหตุนี้ คำของท่าน) จึงผิดพลาด ฯ

บนเส้นทางการประกาศพระศาสนาของพระพุทธองค์ ตั้งแต่ต้นพุทธกาลเป็นต้นมา เต็มไปด้วยการท้าทาย ท่ามกลางการต่อสู่ทางการเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐของแคว้นต่างๆ และการประกาศคำสอนของเจ้าลัทธิทั้งหลาย  ที่หมายเอาชนะพระพุทธองค์และเหล่าพระสาวกด้วยการตั้งเรื่องขึ้นโต้วาทะ เพื่อหักล้างหลักคำสอน ทั้งใส่ความ ทั้งใช้เล่ห์เพทุบาย บ้างก็หมายเอาชีวิต บ้างก็มุ่งทำลายชื่อเสียง เพื่อตัดกำลังพระศาสนาให้อ่อนแอลง พระสาวกบางองค์ต้องจบชีวิตลงบนเส้นทางการประกาศพระศาสนา เช่น พระโมคคัลลานะ เป็นต้น

กถาวัตถุแห่งพระอภิธรรมปิฎก

จึงเป็นหนึ่งในวิธีการประกาศหลักคำสอนพระพุทธศาสนาในยุคนั้น

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน

วันนี้วันพระ วันอังคารที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑ ศึกษา “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” บทที่ ๑๔ (ตอนที่ ๑๕) คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ : ว่าด้วยเรื่องหลักคำสอน เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ความเป็นมาของพระอภิธรรม (ตอนที่ ๑๕) คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหลักคำสอน (๑) เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จากคอลัมน์ ธรรมโอสถ นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๙ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐
ความเป็นมาของพระอภิธรรม (ตอนที่ ๑๕) คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหลักคำสอน (๑) เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จากคอลัมน์ ธรรมโอสถ นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๙ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐

(จากคอลัมน์ ธรรมโอสถ นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๘๙ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ )

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here