“การเสียสละที่ยิ่งใหญ่ คือการยกหัวใจให้เป็นโพธิสัตว์ เป็นการสละลมหายใจของท่าน เพื่อต่อลมหายใจให้พระพุทธศาสนา ดังโอวาทธรรมที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) วัดสระเกศฯ มอบให้ไว้ว่า เราตายได้แต่พระพุทธศาสนาตายไม่ได้

เราตายได้แต่พระพุทธศาสนาตายไม่ได้

โอวาทธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) วัดสระเกศฯ

ขอขอบคุณภาพจาก กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ
พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

เพราะความสัมพันธ์ระหว่างแม่พ่อกับลูกนั้น มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างครูบาอาจารย์กับศิษย์ ก็มีความหมายต่อการเติบโตทางจิตวิญญาณเช่นนั้น

การที่จะก่อเกิดพุทธบุตรผู้มีอุดมการณ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสักรูปหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีพระอุุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ผู้ให้แนวทาง ให้ความคิด ให้สติปัญญา เพื่อบ่มเพาะตนเองให้ก้าวหน้าทางธรรมจนกระทั่งพึ่งตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้

ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เล่าว่า พระใบฎีกา ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร เป็นพระสงฆ์รุ่นแรกๆ ที่ผ่านการอบรมเป็นพระวิทยากรตามหลักสูตร “พระวิทยากรบรรยายธรรม” ที่มุ่งเน้นคืนพระสงฆ์ให้ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวฝึกอบรมโดย กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ในกำกับสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมฯ วัดสระเกศ มีท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์  ในขณะนั้น เป็นเลขานุการ 

คารวาลัย “พระใบฎีกา ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร” ต่อลมหายใจพระพุทธศาสนา “พระวิทยากรกระบวนธรรม” ผู้สละชีวิตเพื่อรักษาสามเณรน้อย

ขอขอบคุณ ภาพจาก กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

คำสดุดี พระใบฎีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร น้อมบูชาดวงจิตผู้เสียสละ โดย กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งเป็นวันประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลศพ พระใบฎีกา ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร (น.ธ.เอก,ป.ธ.๑-๒,พธ.บ.,พระธรรมวิทยากร)โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

โปรดประทานผ้าไตร ดอกไม้จันทน์ และหีบเพลิงให้เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาเชิญไปประกอบพิธีฌาปนกิจศพ พระใบฎีกา ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร (ไวยขุนทด) อดีตเลขานุการเจ้าคณะตำบลโนนไทย เขต ๑ ณ เมรุวัดโนนไทย ตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา
พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

โดยมี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแลสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี

รำลึกวันวาน…มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ตอนที่ ๓๗

โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) กับคณะสงฆ์ พระวิทยากรกระบวนธรรม
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม

ในการนั้น โยมแม่ประกอบ ไวขุนทด ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนตอนหนึ่งว่า“ลูกบอกแม่เสมอว่า เขาตายได้ แต่คนอื่นห้ามตาย แม่ก็เสียใจมาก ไม่นึกไม่คิด ในฐานะที่เป็นลูกแม่ ได้บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา แล้วลูกก็มาสิ้นลมหายใจสุดท้าย แม่ก็สุดๆ แทบจะรับไม่ได้ แต่ก็ต้องทำใจ แม่มาเห็นคนที่มาในงาน แม่ก็โอ… ลูกแม่ แค่เด็กบ้านนอกพื้นๆ แม่ก็นึกไม่ถึงว่า คนที่มาในงานก็มากันทั้งเจ้าใหญ่นายโตที่เราไม่เคยรู้จัก”

พระใบฎีกา ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร
พระใบฎีกา ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร

“คนเราเกิดมา เพื่อทำหน้าที่บางอย่าง

ซึ่งเราไม่รู้ว่าอะไร เราทำได้แค่ทำทุกหน้าที่ให้ดีที่สุด”

พระใบฎีกา ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร

“เช้าวันจันทร์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ พระรูปหนึ่ง ตัดสินใจใช้ร่างกายของตนยึดเหนี่ยวกับท้ายรถที่กำลังไหลลงจากภูเขา เพื่อเป็นเครื่องป้องกันมิให้สามเณรที่อยู่บนรถหกหายตกหล่นลงจากรถแม้แต่รูปเดียว นี่คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยหัวใจที่แข็งแกร่ง มิได้กริ่งเกรงถึงภยันตรายอันใกล้เข้ามาถึงที่จะเกิดกับตนโดยแท้ ในวินาทีนั้น อะไรคือปัจจัยทำให้ท่านตัดสินใจเช่นนั้น?

พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ เมตตาเขียนบทความ “ในโลกนี้มีอะไร ที่เราแลกได้ด้วยชีวิต?” หลังจากเกิดเหตุลงในนสพ.คมชัดลึก คอลัมน์ เย็นกายสุขใจ เมื่อวันพฤหัสที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ข้างต้น และอีกตอนหนึ่งว่า

“คนที่ทำความเพียรนั้น แม้จะต้องตายไปในขณะกำลังทำ ความเพียรพยายามอยู่ ก็จะไม่มีผู้ใดมาตำหนิติเตียนได้ เพราะได้ทำหน้าที่เต็มกำลังแล้ว”

 ( บทสนทนาที่พระมหาชนกตรัสตอบนางมณีเมขลา ในขณะที่ว่ายน้ำอยู่กลางทะเลมา ๗ วัน ๗ คืน)

ซ้าย พระใบฎีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ประธานกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม
คณะกรรมการอำนวยการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร และ พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ
.สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ วัดสระเกศ
จัดแสดงนิทรรศการ “การศึกษาคณะสงฆ์”
ในงานมหกรรมทางการศึกษา Edulife Expo ๒๐๑๘
ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑
ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น ๕ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

           “ไม่มีใครรู้ว่า ในวินาทีนั้นท่านคิดและตัดสินใจจากอะไร?

เท่าที่รู้จักในฐานะพระน้องชายรูปหนึ่ง ที่ทำงานร่วมกันมานาน ทำให้มั่นใจได้เลยว่า ในวินาทีนั้นท่านไม่กลัว แม้แรงรถที่ส่ายไปมาในขณะที่ไหลลงจากเขา แม้ท่านจะโซเซไปตามแรงเหวี่ยงของรถ เชื่อแน่ว่าท่านต้องกำมือให้แน่นกว่าเดิม

เพราะหากไม่ทำเช่นนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ มีสามเณรค่อย ๆ หล่นจากรถ และถูกรถทับทีละรูปๆ มิใช่เพียงแต่มือที่แข็งแรง แต่ยังต้องใช้หัวใจที่แข็งแกร่งแกล้วกล้า เพื่อให้มั่นใจถ้าจะมีใครหล่นลงไป ต้องไม่ใช่สามเณรที่ต่างตื่นตกใจอยู่บนรถ

“สุดแรงกำลังเกินต้านทาน ผนวกกับมืออ่อนล้า และท่านก็ตกลงมาจากรถในที่สุด”

สติสุดท้ายของท่าน คงบอกตัวเองว่าความเพียรพยายามที่ผ่านมา ท่านได้ทำหน้าที่ของตนอย่างสุดกำลัง แม้ว่าหลังจากนั้น คือ รถคันที่ท่านเพิ่งตกลงมา ไหลลงมาทับลมหายใจสุดท้ายของท่าน

           “ไม่มีคำกล่าวลาใดที่ควรค่า ไม่มีน้ำตาใดมีความหมาย ความตายคือความตาย ไม่เคยให้โอกาสใครเป็นครั้งที่ ๒ สิ่งที่เราจดจำ คือ ความงดงามในการสละชีพเพื่อรักษาธรรมของท่าน การทำหน้าที่เพื่อคนหมู่มากอย่างสมบูรณ์ ด้วยคุณความดีที่ปฏิบัติมา ไม่มีใครตำหนิความเพียรพยายามที่ท่านกระทำอย่างดีที่สุดแล้วในครั้งนี้

           “…ขอถวายความอาลัย “พระใบฎีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร”

ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ทุ่มเทเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย

“ในโลกนี้มีอะไร ที่เราแลกได้ด้วยชีวิต?” โดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ หน้าพระไตรสรณคมน์
นสพ.คมชัดลึก คอลัมน์ เย็นกายสุขใจ วันพฤหัสที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒

“แม้ร่างกายจะแยกแตกสลาย

แต่ความดียังธำรงไว้ อยู่ในใจของทุกคน”

พระใบฎีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร

พระใบฎีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร เป็นพระสงฆ์รุ่นแรกๆ ที่ผ่านการอบรมเป็นพระวิทยากรตามหลักสูตร “พระวิทยากรบรรยายธรรม” ที่มุ่งเน้นคืนพระสงฆ์ให้ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวฝึกอบรมโดย กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ในกำกับสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมฯ วัดสระเกศ มีท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์  ในขณะนั้น เป็นเลขานุการ 

โดยท่านได้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นพระวิทยากรที่วัดเขานกกระจิบ จังหวัดราชบุรี และการฝึกอบรมพระวิทยากรในครั้งนั้น ท่านอาจารย์เจ้าคุณได้เดินทางไปให้โอวาทและเปิดการฝึกอบรม หลังจากนั้น ท่านก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจร่วมกับพระวิทยากร กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สืบมา ด้วยหัวใจที่มุ่งมั่น เพื่อปฏิบัติงานสนองคุณพระศาสนา ท่านได้พัฒนาตนเองขึ้นมา ด้วยเวลาอันรวดเร็ว จนได้เป็นกำลังสำคัญของงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก ในทุกมิติ และในทุกโอกาสที่พระวิทยากรกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรมมารับฟังข้อคิดเห็นในการทำงานจากอาจารย์เจ้าคุณ ท่านก็จะตามมาด้วยเสมอ

ผลงานสำคัญ    ที่ท่านฝากไว้ คือ การเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามโครงการ “ธรรมะเยียวยาใจสายใยปลายด้ามขวาน” เป็นโครงการเดินทางไปให้กำลังใจตำรวจ ทหาร และชาวพุทธในชายแดนใต้ นั่นคือ แรงบันดาลใจ ให้ท่านมีความทุ่มเทในการปฏิบัติงาน สามารถเสียสละชีวิต เพื่อปฏิบัติศาสนกิจด้านการเผยแผ่ ในทุกกรณี  และ งานสุดท้ายของท่าน คือ “สละตัวเองเพื่อรักษาชีวิตของสามเณรน้อยไว้ ถึง ๑๐ ชีวิต จนตัวท่านตกจากรถกระบะมรณภาพ”

พระใบฏีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร

ขอดวงวิญญาณพระใบฏีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร จงรุ่งเรืองเหมือนงานพระศาสนาที่ท่านยอมเสียสละชีวิตอุทิศเป็นพุทธบูชา

สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ
พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

โดยสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ได้ขยายงานตามมติมหาเถรสมาคม ที่ ๔๑๒/๒๕๕๖ ที่เห็นชอบให้สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นหน่วยงานของคณะสงฆ์ในการสนับสนุน การดำเนินภารกิจด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกและสร้าง เครือข่ายขับเคลื่อนงานเผยแผ่พระศาสนาเชิงรุกทั่วประเทศ จนเกิดการขับเคลื่อนของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกด้วยความเสียสละชีวิตเพื่อรักษาธรรมมาโดยตลอด

“วันนี้ ไม่ใช่เมื่อวาน และวันนี้ ไม่ใช่พรุ่งนี้

เพราะวันนี้คือวันนี้ จึงต้องทำวันนี้ ให้ดีที่สุด

.          จาร จำ จาก ใจ | รวบรวมสเตตัสเฟซบุ๊กสอนใจ ของ พระใบฎีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร

ความเป็นผู้ฉลาดในการดำเนินจิตให้สมาธิตั้งอยู่นาน

พระราชกิจจาภรณ์  (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น

ในขณะเดียวกัน การฝึกจิตตนเองให้มีกำลังในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มกำลัง พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปจักต้องเจริญสติ บำเพ็ญสมาธิเป็นวิถีการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ทางใจเฉพาะตน เพื่อให้ดำรงสติอยู่ในปัจจุบันขณะ ในบันทึกเกี่ยวกับการฝึกสมาธิของท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์  (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น อธิบายการฝึกสมาธิต่อมาเกี่ยวกับ ความเป็นผู้ฉลาดในการดำเนินจิตให้สมาธิตั้งอยู่นาน ดังนี้

เมื่อเข้าสมาธิได้แล้วต้องฉลาดที่จะดำเนินจิตเพื่อให้สมาธิตั้งอยู่ได้นาน เพราะเมื่อเข้าสมาธิได้แล้วจิตจะไม่มีที่ยึด เนื่องจากกำลังสมาธิทำให้ลมหายใจหดหายไป ก็เหลือแต่สภาวะจิตที่ต้องพบกับปรากฏการณ์แปลกใหม่ของสภาวะที่หมุนเวียนกันเกิดขึ้น

วิธีการดำเนินจิตขณะก้าวเข้าสู่ความว่าง

โดยให้ยึดความว่างเป็นอารมณ์แล้วเฝ้าสังเกตทุกสภาวะที่ปรากฏขึ้นในความว่างนั้น แสงปรากฏก็ให้รู้แสง แสงเปลี่ยนตัวเองเป็นเฉดสีต่างๆ ก็ให้รู้การเปลี่ยนเป็นเฉดสีต่างๆ ปรากฏเหมือนล่องลอย ก็รู้ ปรากฏเหมือนดำดิ่งลง ก็รู้ ปรากฏเหมือนหมุนคว้าง ก็รู้ ปรากฏเหมือนตัวขยายพองออก ก็รู้ ปรากฏเหมือนตัวหดเล็กลง ก็รู้ ตัวหนัก ก็รู้ ตัวเบา ก็รู้ แสงเกิดขึ้นก็กำหนดรู้แสงนั้นแหละเป็นอารมณ์ไว้ก่อน

ที่จริง อาการเหล่านี้เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง จะเรียกว่าธรรมารมณ์ ก็ได้ ก็เป็นสิ่งที่จิตคิดนึกปรุงแต่งขึ้นมานั่นแหละ แต่เป็นความนึกคิดปรุงแต่งในขณะจิตดำเนินไปสู่ความสงบ

เมื่อเกิดความลังเลสงสัย ไม่มั่นใจ หวาดกลัว กริ่งเกรงว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นอะไร ตัวเรายังมีอยู่ไหม หรือตัวเราไม่มี ก็กลับไปดูลมหายใจ

จะเรียกว่าพลิกขณะจิตหรือเปลี่ยนความคิดไปให้ความสนใจอยู่กับลมหายใจก็ได้ แล้วลมหายใจก็จะเด่นชัดขึ้นมา เห็นลมหายใจละเอียด ถอยออกไปเป็นเห็นลมหายใจหยาบ จากนั้นกายก็จะปรากฏชัดขึ้น และเกิดความรู้สึกทางกาย รู้เย็น ร้อน ปวด เมื่อย เหน็บชา จากนั้นก็ดำเนินจิตกลับมากำหนดเพ่งจับจ้องจดจ่อความสนใจไปที่ลมหายใจอีกครั้ง จิตก็จะย้อนกลับเข้าไปสู่ความว่างตามเส้นทางเดิม โดยเกาะยึดลมหายใจเข้าไป ลมหายใจหดหายไป ก็จะเหลือเพียงความว่าง แล้วจิตก็จะดำเนินไปสู่สภาวะตามธรรมดาของจิตเช่นเดิม สภาวะใดปรากฏ ก็กำหนดรู้สภาวะนั้น

บางขณะจิตจะนิ่งอยู่กับความว่าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง บางขณะจิตหนึ่งจะผุดคำถามขึ้นมา อีกขณะจิตหนึ่งตอบ เป็นการผุดคำถามตอบขึ้นมาภายใน

บางขณะเพ่งพินิจพิจารณาไตร่ตรองธรรม บางขณะดึงอารมณ์อดีตขึ้นมานึกคิดปรุงแต่ง บางขณะรับรู้อารมณ์ภายนอกที่วิ่งเข้ามากระทบ เช่นเสียงที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ เพียงขณะที่รับรู้ จิตก็จะปล่อยวางแล้วตัดเข้าสู่ความว่างภายใน

สภาวะในขณะนั้น เหมือนจิตสร้างครอบแก้วขึ้นมาครอบตัวเองไว้ แล้วดำเนินจิตไปตามกระบวนการภายในของจิต สติจะสร้างระบบตัวเองขึ้นมาให้คอยวางการรับรู้อารมณ์ภายนอก แล้วตัดเข้าสู่ความว่างภายใน ไม่ว่าหูจะได้ยินเสียงอะไร กายจะสัมผัสอะไร จิตก็จะเพียงแค่รับรู้แล้วสติก็จะตัดเข้าสู่ความว่างภายใน ชื่อว่า “ฉลาดในการดำเนินจิตเพื่อให้สมาธิดำรงอยู่ได้นาน”

จากคอลัมน์ มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

คารวาลัย “พระใบฎีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร” ต่อลมหายใจพระพุทธศาสนา

“พระวิทยากรกระบวนธรรม” ผู้สละชีวิตเพื่อรักษาสามเณรน้อย

โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here