การเดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ไทยในเกาหลีใต้ ณ วัดพุทธารามเกาหลี ได้มีการเชื่อมสัมพันธ์กับคณะสงฆ์เกาหลีอยู่ตลอด ทั้งการเข้าร่วมประชุม การเข้ารับการอบรมถวายความรู้เรื่องกฎหมาย การเข้าร่วมปฏิบัติธรรม ตลอดถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของคณะสงฆ์เกาหลี เป็นต้น

“พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต

สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี”

 พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  ผู้เขียน พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี  เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ผู้เขียนเองก็มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตพระสงฆ์เกาหลี พระอาจารย์จิระศักดิ์ เกตุเมโธ ประธานสงฆ์วัดพุทธารามเกาหลี ท่านเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของคณะสงฆ์เกาหลี และการปรับตัวของคณะสงฆ์ไทยในเกาหลีว่า แต่เดิมคณะสงฆ์เกาหลีนั้นมีคณะเดียว ถือพระปาฏิโมกข์อย่างเคร่งครัด รักษาพระธรรมวินัยและคำสอนมาจากอาจารย์ ๒ ท่าน คือ พระโพโจ จินุล และพระแทโก โพอู

แม้คณะสงฆ์จะรวมเป็นหนึ่งเดียว แต่ยังคงธรรมเนียมวิปัสสนากรรมฐานแบบสำนักซอน หรือสำนักเซน ซึ่งต่อมาเป็นรากฐานของคณะโชเก ในช่วงที่เกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ได้มีการนำธรรมเนียมของศาสนจักรญี่ปุ่นมาใช้ ในช่วงเวลา ๓๐ ปีที่ตกเป็นอาณานิคม ชาวพุทธญี่ปุ่นได้ส่งเสริมแกมบังคับให้คณะสงฆ์เกาหลีแต่งงานมีครอบครัว แต่ยังมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตาม ต่อสู้กับแรงกดดันมาตลอด

หลังจากเกาหลีได้รับเอกราช พระภิกษุกลุ่มนี้ก็เริ่มขบวนการปฏิรูปพระพุทธศาสนา เชิดชูการปฏิบัติตามสิกขาบทในพระวินัยอย่างเคร่งครัด และส่งเสริมการปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์ คณะนี้เรียกตัวเองว่า “คณะโชเก” หรือ “นิกายโชเก” มีศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่วัดโจเกซา กรุงโซล เกาหลีใต้

ส่วนอีกคณะเรียกว่า “แทโก” หรือ “นิกายแทโก” ยังมีคณะที่ถือพระปาฏิโมกข์อย่างเคร่งครัด รักษาพรหมจรรย์เหมือนคณะโชเก คิดเป็นสัดส่วน ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ ยังคงธรรมเนียมสมัยอาณานิคมญี่ปุ่น บูชาพระปาฏิโมกข์แต่ไม่ได้ถือปฏิบัติ หากแต่ไปถือศีลพระโพธิ์สัตว์แทน มีครอบครัวเหมือนฆราวาส แต่ก็ยังโกนศรีษะครองจีวรเหมือนบรรพชิต เป็นกึ่งฆราวาสกึ่งบรรพชิต ในปัจจุบันคณะที่เป็นกึ่งฆราวาสกึ่งบรรพชิต ก็ยังเหลืออยู่แต่ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติเหมือนพระสงฆ์ บ้างก็เช่าสำนักงานอยู่ตามชุมชนต่างๆ ทำหน้าที่ดูฤกษ์ต่างๆให้ชาวบ้าน ดูดวง บ้างครั้งก็เป็นผู้นำศาสนพิธีเหมือนมัคนายกของบ้านเรา

พระอาจารย์ท่านเล่าให้ฟังถึงการบวชของชาวเกาหลีว่า “การบวชคือการอุทิศตัว ไม่อยากใช้ชีวิตอย่างฆราวาส (ไม่มีการบวชตามประเพณี) คนที่จะบวชต้องไม่สูบบุหรี่ ไม่มีรอยสัก ปฏิญาณจะไม่กินเนื้อ ก่อนบวชจะต้องอยู่วัดใส่ชุดอุบาสก เรียนรู้การสวดมนต์ รวมถึงการทำกิจวัตรต่างๆ ของสามเณร และของพระภิกษุให้ครบถ้วน เรียกได้ว่าสวดมนต์ได้ ปฏิบัติตัวเหมือนสามเณร เหมือนพระภิกษุได้ การบวชจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกอย่างเป็นวิถีชีวิตเป็นการซึมซับ ด้วยการลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาเป็นบททดสอบ”

“พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี”  โดย  พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  ผู้เขียน พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี  เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต ้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
“พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี” โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต ้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

หลังจากนั้นก็ให้บวชเป็นสามเณรฝึกฝนตนเองตลอด ๖ เดือน จึงจะบวชเป็นพระได้ ผู้ที่จะบวชเป็นพระได้ต้องมีอายุครอบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อบวชพระแล้วก็เรียนอีก ๔ ปี หลักสูตรทุกอย่างเกี่ยวกับพระวินัย เกี่ยวกับการปฏิบัติตนของพระภิกษุ มีการฝึกสมาธิที่ศูนย์เซน หรือ วัดที่เป็นสาขา ๘ – ๑๘ ชั่วโมงต่อวัน การฝึกสมาธิของพระสงฆ์ มีการเปิดให้เข้าคอร์สอย่างเข้มข้น คอร์ส ๓ เดือน โดยไม่ให้นอน แต่สามารถที่จะนั่งหลับได้ เปิดรับสมัครพระภิกษุผู้มีความสมัครใจเข้าคอร์สอยู่ในห้องหรือในถ้ำ โดยให้ปฏิบัติอย่างเดียว มีอาหารให้วันละ ๑ ครั้ง พระผู้ใหญ่ของเกาหลีส่วนใหญ่ก็ผ่านการฝึกตนเองแบบนี้มาแล้วทั้งนั้น

พระอาจารย์ท่านยังเล่าให้ฟังอีกว่า บางครั้งการไปร่วมกิจกรรมต่างๆ กับคณะสงฆ์วัดเกาหลี พระสงฆ์เราก็ต้องมีการปรับตัว วัฒนธรรมการแต่งกาย มหายานจะต้องแต่งตัวมิดชิดสุภาพ แม้จะอยู่ในวัดจะไม่มีการโชว์หัวไหล่โชว์แขน บางครั้งเราก็ต้องใส่เสื้อแขนยาว เมื่อเข้าไปทำพิธีกรรมในพระวิหารจะต้องใส่ถุงเท้าจะไม่ให้เห็นผ่าเท้า รวมถึงการเรียนรู้การกราบแบบเกาหลี การฉันอาหารมังสวิรัติ หรือการฉันอาหารแบบบุฟเฟ่ต์

วัฒนธรรมการไหว้

การรับไหว้โยมหรือการไหว้ตอบ วัฒนธรรมของเกาหลีต่างคนต่างไหว้ เป็นการไหว้ซึ่งกันและกัน การไหว้มีระดับเดียว ไม่ได้แยกพระแยกโยม เวลาโยมไหว้พระแล้วพระจะไม่ไหว้ตอบไม่ได้ พระก็ต้องไหว้ตอบเหมือนกัน การไหว้เป็นการละอัตตาตัวตนให้คุณธรรมเกิดขึ้นในใจ เวลาเจอกันทักทายกันก็ไหว้อย่างนอบน้อมไม่ว่าพระหรือโยม โดยปกติพระเกาหลีเวลาที่มีใครนำอาหารมาถวายจะต้องยืนไหว้กล่าวขอบคุณอย่างนอบน้อม

วัฒนธรรมน้ำชา

ในการต้อนรับของพระเกาหลี ก็จะนิยมต้อนรับด้วยน้ำชา เวลาถวายน้ำชาจะนิยมนำขนมหรือผลไม้มาต้อนรับด้วย เป็นวัฒนธรรมของการฉันน้ำชาของพระสงฆ์เกาหลี เราจะฉันหรือไม่ฉัน ก็เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล เขาก็ให้ความเคารพ พระสงฆ์เราก็เหมือนกันก็ให้ความเคารพ เป็นสิทธิ์เขาในการที่จะนำมาต้อนรับ ไม่ใช่ว่าเราไม่ฉันแล้วก็พลางตำหนิเขาว่า ไม่รู้เรื่องเอามาถวายได้ไง

วัฒนธรรมการสวดมนต์

มีรูปแบบเฉพาะตัวของแต่ละนิกาย แต่ละสำนัก ความศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่การสวดแล้วจิตเกิดมีสมาธิ ปัญญาในการน้อมนำมาพิจารณากายใจจนกว่าจะเห็นตามความเป็นจริง การสวดมนต์ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกัน พระสงฆ์ไทยก็สวดทำแบบไทย พระสงฆ์ศรีลังกาก็สวดทำแบบศรีลังกา  

สังคมไทยเราเวลาที่ใครคิดอะไรไม่เหมือนตัวเอง ทำอะไรไม่เหมือนตัวเอง หรือแปลกไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติมา ก็จะพลางตำหนิ เช่นเดียวกันเวลาที่ญาติโยมเห็นพระสงฆ์ใส่เสื้อแขนยาว ใส่เสื้อโค้ท ใส่รองเท้าผ้าใบในเวลาบิณฑบาตในฤดูหิมะ ก็จะพลางตำหนิต่างๆ นานา ทั้งๆ ที่ไม่รู้ถึงเหตุปัจจัยในแต่ละสถานที่และวัฒนธรรม ตลอดจนพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงเมตตาให้พระสงฆ์พิจารณาตามความเหมาะสม

“พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี”  โดย  พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  ผู้เขียน พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี  เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต ้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
“พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี” โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต ้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

พระอาจารย์ท่านเปรียบให้ฟังว่า เวลาที่ญาติโยมมาเที่ยว หรือเวลาที่ญาติโยมมาอยู่บ้านเขาเมืองเขา เราไม่ได้มาเพื่อจะให้เขาเปลี่ยนเป็นเหมือนเรา เรามาเพื่อจะเรียนรู้ และเปลี่ยนตัวเองให้อยู่กับเขาให้ได้ ให้อยู่กับเขาอย่างมีความสุข เราไม่ได้ไปเพื่อที่จะให้เขาเปลี่ยนเป็นเหมือนเรา การที่พระสงฆ์ใส่รองเท้าผ้าใบบิณฑบาตในฤดูหิมะก็เช่นเดียวกัน สังคมมีอากาศหนาวจัดก็ต้องปรับตัว เราไม่ได้ปรับเพื่อจะทิ้งหลัก แต่เราปรับเพื่อความอยู่รอด

ติดตามเรื่องราวการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดพุทธารามเกาหลี เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต้ ผ่าน Facebook วัดพุทธาราม เกาหลี (วัดไทยอันซัน)

พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต้ ผู้เขียน

“พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิตสองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี” โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต
้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

คอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม

หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ. คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

“พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี” โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต ้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒

อาศรมบ้านดอกแดง : แสงสว่างแรกแห่งชุมนุมบนดอยสูง”
เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท เจ้าของรางวัลพระนักเขียนปัญจสิกขะ

ต่อลมหายใจพระพุทธศาสนาบนยอดดอย
….
เรียนรู้การทำงานของพระมหา ดร.ฐานันดร เขมปญฺโญ เจ้าอาศรมบ้านดอกแดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรึกษากลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ วัดสระเกศ

ผู้นำจิตวิญญาณ นักบุญแห่งขุนเขา
“…การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนดอยต้องใจเย็นๆ และมีความอดทน
…ท่านได้เปรียบไข่ขาวไข่แดงเหมือนกิเลสคน เปรียบเปลือกไข่เสมือนธรรมะ ถ้าผู้เผยแผ่ถือไข่ไม่ดี จะจับถือแรงก็ไม่ได้ ทำได้เพียงประคองถือให้มั่นและมีสติ
มีความเพียร มีศรัทธา ถ้าไม่อย่างนั้นไข่จะตกแตก”
….
หนังสือเรื่อง “อาศรมบ้านดอกแดง : แสงสว่างแรกแห่งชุมนุมบนดอยสูง”
เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท เจ้าของรางวัลพระนักเขียนปัญจสิกขะ
……

จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร

โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดพุทธารามเกาหลี  เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต้

หนังสือเรื่อง “อาศรมบ้านดอกแดง : แสงสว่างแรกแห่งชุมนุมบนดอยสูง”
เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท เจ้าของรางวัลพระนักเขียนปัญจสิกขะ
จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ศาลาสันติวัคคีย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐ โทร. ๐๘๖ -๗๖๗-๕๔๕๔

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here