ขอขอบคุณ ภาพจาก คมชัดลึก
ขอขอบคุณ ภาพจาก คมชัดลึก
ขอขอบคุณ ภาพจากสื่อทุกสำนัก จากอินเทอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ภาพจากสื่อทุกสำนัก จากอินเทอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ภาพจาก ช่อง 7
ขอขอบคุณ ภาพจาก ช่อง 7
ขอขอบคุณ ภาพจาก THE STANDARD
ขอขอบคุณ ภาพจาก THE STANDARD
ขอขอบคุณ ภาพจาก ช่อง new 18
ขอขอบคุณ ภาพจาก ช่อง new 18

บทความพิเศษ ตอนที่ ๑๗

รูปแบบการตัดสินคดีให้เกิดความยุติธรรม

ตามแนวทางของมโหสถบัณฑิต

โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

มโหสถบัณฑิต เป็นเรื่องอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เกิดเป็นมหาบัณฑิตที่มีปณิธานที่จะบำเพ็ญปัญญาบารมี ใช้สติปัญญาในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของสังคม เพื่อให้มนุษย์ได้หลุดพ้นจากความทุกข์ยากเดือดร้อน และมโหสถบัณฑิตก็ได้ใช้สติปัญญาตัดสินคดีความต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นในสังคมให้เกิดความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่งยวด ผู้เขียนจะยกบางคดีความที่มโหสถบัณฑิตได้ตัดสิน เพื่อมาเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงวิธีการสร้างความยุติธรรม คือ คดีเรื่อง โจรขโมยโค เรื่องมีอยู่ว่า

ขอขอบคุณ ภาพจาก nationtv
ขอขอบคุณ ภาพจาก nationtv
ขอขอบคุณ ภาพจาก ช่อง Nation 22
ขอขอบคุณ ภาพจาก ช่อง Nation 22

วิธีที่ ๑ ถือธรรมเป็นใหญ่ ชี้ธรรม ไม่ชี้คน

มีชายคนหนึ่งได้นำโคไปเลี้ยงกลางทุ่งนา ในเวลานั้นเองเขาก็ได้ไปนั่งอยู่ใต้ร่มไม้จึงทำให้เขาเผลอหลับไป ในขณะได้มีโจรคนหนึ่งมาขโมยโค เมื่อชายชาวนาผู้เป็นเจ้าของโคตื่นขึ้นมาไม่เห็นโคของตนเอง จึงตกใจมากและรีบออกตามหา จึงไปพบโจรกำลังจูงโคของตนไป หลังจากนั้นชายชาวนาผู้เป็นเจ้าของโค กับโจร ต่างคนก็ต่างอ้างว่าโคเป็นของตนเอง จึงเกิดการโต้เถียงกันอย่างรุนแรง ทำให้คนที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวได้มามุงดูอย่างมากมาย

ในขณะที่เหตุการณ์ทุกอย่างกำลังดำเนินไปด้วยความวุ่นวายโกลาหล มโหสถเห็นเหตุการณ์จึงได้เรียกคนทั้งสองมา เมื่อมโหสถเห็นปฏิกิริยาอาการของทั้งสองคน ก็หยั่งรู้ได้ว่าใครคือโจร และใครคือเจ้าของโค แต่มโหสถก็นิ่งเฉยทำเป็นไม่รู้เรื่องอะไร

จะเห็นได้ว่าการที่มโหสถบัณฑิตรู้แล้วว่าใครคือโจรแต่ก็นิ่งเฉย เป็นการชี้ให้เห็นว่ามโหสถบัณฑิตถือธรรมเป็นใหญ่ใช้วิธีการชี้ธรรม ไม่ชี้คน กล่าวคือมโหสถจะไม่เป็นคนชี้ว่าใครเป็นคนผิด คนถูก แต่จะให้ความจริงปรากฏเสียก่อน ธรรมจะเป็นตัวชี้เองว่าใครคือเจ้าของโค และใครคือโจร

ขอขอบคุณ ภาพจาก nationtv
ขอขอบคุณ ภาพจาก nationtv
ขอขอบคุณ ภาพจาก nationtv
ขอขอบคุณ ภาพจาก nationtv

วิธีที่ ๒ คนกลางต้องเป็นที่ยอมรับของคู่กรณี และต้องสัญญาต่อหน้าคู่กรณีว่าจะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางไม่มีอคติ

มโหสถเริ่มด้วยการถามชายทั้งสองคนถึงสาเหตุของการทะเลาะกัน เจ้าของโคตอบว่า “ข้าพเจ้าซื้อโคมาจากคนชื่อนี้ แล้วนำไปเลี้ยงกลางทุ่งหญ้า ข้าพเจ้าเผลอหลับ จึงถูกขโมยหนีไป ชาวบ้านต่างรู้ดีว่าข้าพเจ้าซื้อโคนี้มา”

ส่วนโจรก็แย้งว่า “โคตัวนี้เกิดในบ้านของข้า มันโกหกอย่าไปเชื่อมัน” การถามเช่นนี้เป็นการถามเพื่อเสาะหาสาเหตุที่แท้จริงของการทะเลาะกันก่อนจะเริ่มทำการพิจารณาตัดสินใครคือเจ้าของโคที่แท้จริง

          อย่างไรก็ตาม มโหสถบัณฑิตทราบถึงสาเหตุอย่างถี่ถ้วนแล้วก็ยังไม่เริ่มทำการค้นหาความจริงว่าใครคือเจ้าของโคที่แท้จริงจะเห็นได้จากคำถามต่อจากนี้คือ มโหสถบัณฑิตถามชายทั้งสองว่า “จะยอมรับในคำตัดสินหรือไม่หากยอมรับ ก็จะตัดสินโดยยุติธรรม”

จากคำถามนี้มีนัย ๒ ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรก คนกลางที่จะทำหน้าที่สร้างความยุติธรรมต้องเป็นคนที่คู่กรณียอมรับและศรัทธา ประเด็นที่สอง คนกลางที่จะทำหน้าที่สร้างความยุติธรรมต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะตัดสินด้วยความเป็นกลางไม่ใช้อคติเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่คู่กรณี

ขอขอบคุณ ภาพจากสื่อทุกสำนัก จากอินเทอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ภาพจากสื่อทุกสำนัก จากอินเทอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ภาพจาก คมชัดลึก
ขอขอบคุณ ภาพจาก คมชัดลึก

          วิธีที่ ๓ ชี้คน ชี้โทษ ชี้ทางออก

          ทั้งนี้เมื่อชายทั้งสองตกลงที่จะยอมรับความตัดสิน  มโหสถบัณฑิตก็เริ่มด้วยคำถาม ด้วยการถามโจรว่า “ท่านเอาอะไรเลี้ยงโค” โจรตอบว่า “ข้าพเจ้าให้โคดื่มยาคู ให้กินงา แป้ง และขนมกุมาส” เมื่อโจรตอบคำถามเสร็จ มโหสถบัณฑิตก็ถามเจ้าของโค เจ้าของโคก็ตอบว่า “ข้าพเจ้าเป็นคนจน จึงไม่มีข้าวยาคูเลี้ยงโค ข้าพเจ้าเลี้ยงโคด้วยหญ้า”

          คำถามเช่นนี้เป็นการชี้หาทางออกให้ทั้งสองคนเพื่อจะทำให้ได้รู้ความจริงว่าเจ้าของโคที่แท้จริงคือใคร เพราะหลังจากนั้นมโหสถจึงให้คนที่มุงดูอยู่ ให้นำใบประยงค์มาตำในครกผสมกับน้ำแล้วเทใส่ถาดให้โคดื่ม ปรากฏว่าโคสำรอกออกมาเป็นหญ้า เมื่อเห็นเป็นนี้ทำให้จะสามารถชี้คนได้ว่าชายชาวนาคือเจ้าของโคที่แท้จริง

          เมื่อความจริงปรากฏเป็นนี้ มโหสถจึงนำหญ้าที่โคสำรอกออกมาไปให้มหาชนที่รุมล้อมดู แล้วก็ได้ถามโจรว่า “เจ้าเป็นโจรใช่ไหม” ผู้คนมากมายที่กำลังมุ่งดูอยู่ตรงนั้นก็ได้รุมประชาทัณฑ์ทุบตีโจรจึงได้รับบาดเจ็บ

มโหสถจึงได้ข้อร้องให้ทุกคนหยุดทำร้าย จึงได้บอกกับโจรกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า “นี้คือผลกรรมที่ท่านได้ทำในชาตินี้ แต่ในชาติหน้าท่านจะได้รับผลกรรมในนรกที่ทุกข์ทรมานมากกว่านี้”

คำกล่าวนี้เป็นการชี้ให้เห็นถึงโทษของการกระทำของตนเอง  จะสังเกตเห็นได้ว่านอกจากจะชี้ทางออกของปัญหาแล้วยังชี้ทางออกให้กับผู้ที่ทำผิดด้วยการให้โจรยึดศีล ๕ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต เป็นการชี้ทางออกของชีวิตให้พบแสงสว่างมีธรรมนำพาในการดำเนินชีวิตต่อไป

ที่มาของของข้อมูล : ที่มาของของข้อมูล : คัดลอกเนื้อหามาจาก พระคทาวุธ คเวสกธมฺโม (เพ็งที) วิทยานิพนธ์เรื่อง “เปรียบเทียบความยุติธรรมตะวันตกกับพระพุทธศาสนาเถรวาท และกฎหมายไทย” วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ปี ๒๕๕๗

ขอขอบคุณ ภาพจากสื่อทุกสำนัก จากอินเทอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ภาพจากสื่อทุกสำนัก จากอินเทอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ภาพจาก คมชัดลึก
ขอขอบคุณ ภาพจาก คมชัดลึก
ขอขอบคุณ ภาพจากสื่อทุกสำนัก จากอินเทอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ภาพจากสื่อทุกสำนัก จากอินเทอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ภาพจาก NEW 18
ขอขอบคุณ ภาพจาก NEW 18
ขอขอบคุณ ภาพจากPPTV
ขอขอบคุณ ภาพจากPPTV

บทความพิเศษ ตอนที่ ๑๗ “รูปแบบการตัดสินคดีให้เกิดความยุติธรรม ตามแนวทางของมโหสถบัณฑิต” โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม ผู้เขียน
พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม ผู้เขียน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here