ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

“ร่างกฎหมายสังเวชนียสถานมีความสำคัญเพียงใดต่อการพ้นทุกข์ในสังสารวัฏ ตามรอยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ”

โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙,ดร.

สืบเนื่องจากเมื่อสามปีก่อน …

มีข่าวสำคัญในวงการพระพุทธศาสนาที่กลายเป็นกระแสคือ “ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมนมันสการสังเวชนียสถาน” ที่มีการยืนต่อ สนช. เสนอ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙  และต่อมาเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ก็มีการสนับสนุนโดยพระธรรมทูตอินเดีย-เนปาล  และเหตุนี้เอง ได้มีจดหมายถึง บก.ฟอรั่ม หนังสือพิมพ์มติชน เรื่อง “กม.แสวงบุญ” โดยเรื่องราวนั้นได้ให้ความเห็นเชิงไม่เห็นด้วย  ซึ่งอาตมาเข้าใจว่าผู้เขียนที่ส่งมานั้นแม้จะไม่ลงชื่อนี้มีความประสงค์ดี แต่อาจยังขาดข้อมูลและการกลั่นกลองให้ดีถึงเหตุผลที่สำคัญบางประการอย่างจึงทำให้เข้าใจไปอย่างนั้น  ซึ่งอาตมาจะได้ขออธิบายและให้แง่คิดเห็นบางอย่างไว้ที่นี้เพื่อความเข้าใจทั้งในแง่ประโยชน์ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้มากยิ่งขึ้น

“ตอบกรณีร่างกฎหมายสังเวชนียสถาน”

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙,ดร.

โดยชี้ไว้เป็นประเด็น ดังนี้

        ๑. ประเด็นในจดหมายที่อ้างถึงว่า “…พระธรรมทูตอินเดีย-เนปาล ชี้แจงถึงความจำเป็นที่ชาวพุทธต้องไปแสวงบุญที่สังเวชนียสถานนั้น สืบเนื่องจากพุทธพจน์ที่ว่า สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเป็นสถานที่แทนพระองค์ เป็นมรดกสุดท้ายเอาไว้ให้ลูกหลานชาวพุทธมานมัสการหรือเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า 

ผมเคยอ่านหนังสือธรรมะ มีพุทธพจน์ประโยคหนึ่งกล่าวว่า  ใครเข้าถึงธรรมก็เข้าถึงเรา  พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานแล้ว เมื่อระลึกถึงพระคุณของพระองค์ (ได้พระธรรมเป็นที่พึ่ง) จะกราบไหว้ท่านที่ไหน เมื่อใดก็ได้  เมื่อบ้านเมืองเรามีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ทุกหนทุกแห่ง  ไม่ต้องเสียเงินจำนวนไม่น้อย เพื่อไปหาสถานที่กราบไว้ ณ แดนไกล กราบพระพุทธรูปองค์ไหน  ก็เหมือนกราบพระพุทธเจ้ามิใช่หรือ…”

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        อาตมาขอยกพุทธพจน์สำคัญที่อ้างถึงในที่นี้ คือข้อความว่า

“ใครเข้าถึงธรรมก็เข้าถึงเรา”

ที่จริงคำนี้คำที่ถูกคือ

“ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา” 

เป็นพระดำรัสที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระวักกลิ ปรากฏอยู่ในวักกลิสูตร พระไตรปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๘๗ หน้าที่ ๑๕๙ ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ความเต็มๆ ตอนนี้คือ

“อย่าเลย วักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นอยู่นี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ความจริง เมื่อเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นเรา เมื่อเห็นเราก็ชื่อว่าเห็นธรรม”

        เนื้อหาพุทธพจน์ตรงนี้ต้องเข้าใจตรงกันก่อนระหว่างคำว่า “ธรรม” กับคำว่า “เรา” 

โดยคำว่า “ธรรม” ในที่นี้คือไตรลักษณ์

อธิบายถึง รูปที่เจ็บป่วยนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่เป็นอัตตาของเรา เพื่อชี้ให้พระวักกลิที่โรคกำลังกำเริบอยู่พิจารณาความจริงเหล่านี้แล้วละวางตัวตนเสีย คือการยึดมั่นถือมั่น  

ส่วนคำว่า “เรา” นั้นในอรรถกถาสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค อธิบายว่า คือ โลกุตตรธรรม ได้แก่

มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ อันเป็นสภาวธรรมของพระอริยบุคคลที่เราควรพิจารณาในข้อความนี้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา  ฉะนั้น การเห็นธรรมจึงทำให้บรรลุธรรม แล้วจึงจะพูดได้ว่า ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม  คือผู้บรรลุธรรมก็คือผู้ที่เห็นธรรม

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        การอธิบายแบบนี้ทำให้เห็นว่า  ข้อความในวักกลิสูตรจึงเป็นคำสอนที่เน้นการเห็นร่างกายนี้เพื่อให้เกิดธรรมะในขณะนั้นหรือปัจจุบัน เพราะตอนนั้นพระวักกลิยังห่วงว่าจะไม่ได้เฝ้าพระพุทธองค์อีก เหมือนกับเราไปเยี่ยมคนป่วยหนักยังห่วงลูก ห่วงหลาน การบอกว่าลูกและหลานไม่เป็นไร ไม่ต้องเป็นห่วงกังวล ตอนนี้ทำใจให้สบาย ดูแลใจตัวเองให้ดี เพื่อให้คนป่วยนั้นสบายใจ  และตรงกับความจริงว่าไม่ว่าคนป่วยนั้นจะห่วงกังวลใครอื่นขนาดไหนก็คงช่วยอะไรใครไม่ได้ ควรจะดูแลตัวเองให้ดีก่อน ก็คือการทำความเข้าใจร่างกายตัวเอง เมื่อเข้าใจร่างกายก็จะเข้าใจธรรมะ

และที่สำคัญสุดในกรณีนั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงกับพระวักกลิโดยตรง หวังผลคือการตรัสรู้ เป็นลักษณะคำสอนที่ตรงกับสภาวะของผู้รับฟังคือเจ็บป่วยอย่างหนัก ไม่ใช่สื่อกับผู้ที่สุขสบายดี  หรือแม้คนที่ป่วยหนักแต่ไม่ได้พิจารณาร่างกายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนมาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวปุถุชนอย่างเราๆ ท่านๆ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะเห็นธรรมและเห็นเราได้ทันทีทันใด  หากไม่ได้ฝึกฝนมาก่อน

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        ส่วนพุทธพจน์อีกบทหนึ่งปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ ๑๐ ข้อ ๒๐๒ หน้า ๑๕๐-๑๕๑ ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ความว่า

        ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลายมาเฝ้าพระตถาคต ข้าพระองค์ทั้งหลายยังได้พบ ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ (อีก)”

        พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่ (เป็นศูนย์รวม) ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู  สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อะไรบ้าง คือ

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        ก. สังเวชนียสถานที่กลุบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตประสูติในที่นี้

        ข. สังเวชนียสถานที่กลุบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        ค. สังเวชนียสถานที่กลุบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        ง. สังเวชนียสถานที่กลุบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        อานนท์ สังเวชนียถาน ๔ แห่งนี้เป็นที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู  ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตประสูติในที่นี้…ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้…ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้…ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

อานนท์ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์จักมีจิตเลื่อมใสตายไป ชนเหล่านั้นหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”

        เมื่อจะพิจารณาเนื้อหาตอนนี้ พระพุทธองค์ไม่ใช่สื่อกับผู้ฟังให้เกิดหลักธรรมะและบรรลุธรรมโดยตรง  แต่เป็นการสื่อถึงบุคคลอื่นในสมัยที่พระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว  จะไม่ได้ฟังธรรมะจากพระพุทธองค์โดยตรงอีก จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร และพุทธพจน์บทนี้น่าจะเหมาะและเป็นประโยชน์กับปุถุชนในยุคหลังในการเข้าใจธรรมะเกี่ยวกับการปฏิบัติตนมากกว่า

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        เพราะสถานที่เหล่านี้สำคัญ ก็คือ เป็นแหล่งการเรียนรู้ธรรมะของพระพุทธองค์ เพราะหลายคนอาจสงสัยว่า “ทำไมพระพุทธองค์จึงไม่ทรงมีดำรัสให้เราชาวพุทธเดินไปตามวัดเวฬุวัน วัดเชตวัน หรือวัดบุพพาราม ทั้งที่พระพุทธองค์ก็ทรงประทับอยู่ในสมัยพุทธกาลมากกว่าสังเวชนียสถานด้วยซ้ำ”

หตุผลก็เพราะสังเวชนียสถานเหมาะแก่การเข้าใจหลักธรรมะ เช่น อริยสัจ ๔, อิทธิบาท ๔, ความไม่ประมาท เป็นต้น ได้ชัดเจนกว่า

ฉะนั้น สังเวชนียสถานจึงเหมาะแก่การไปดู (ทสฺสนียํ สํเวชนียํ ฐานํ : พระไตรปิฎกฉบับบาลี เล่มที่ ๑๐) เน้นว่าไปดูให้ระลึกถึงเหตุการณ์ (ก็คงไม่ต่างจากการสร้างอนุสาวรีย์ในเมืองไทย ก็เพราะระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญมิใช่หรือ?) แต่เหตุการณ์ทั้ง ๔ ครั้งล้วนเป็นเหตุการณ์เปลี่ยนโลกของพระพุทธองค์ และโลกของผู้ที่ต้องการแสวงหาความดับทุกข์ทุกคน

ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        อีกเหตุผลหนึ่ง  ถึงแม้พระพุทธองค์จะไม่ตรัสไว้ว่า ให้กุลบุตรผู้มีศรัทธาไปเยือนสังเวชนียสถาน แต่เชื่อเถอะว่าจะมีคนที่อยากรู้อยากเห็นจะแสวงหาที่เหล่านั้น  และคนเหล่านั้นต้องมีศรัทธาอย่างมาก สุดท้ายก็จะกลายเป็นว่า สังเวชนียสถานเป็นที่สำหรับคนที่มีศรัทธาอยู่ดี  และเมื่อมีคนไปเยือน จะได้เห็นบรรยากาศแห่งศรัทธาที่ทำให้จิตใจพองโตด้วยปีติ  เพราะไม่ใช่แค่การจุดธูปเทียนบูชาเท่านั้นที่เราจะเห็นกันแค่นั้น แต่จะเห็นทั้งการปฏิบัติศรัทธา เช่น การนั่งสมาธิ การเดินจงกลม เป็นต้น ที่อาจสร้างแรงบันดาลใจให้เรายึดถือและปฏิบัติตามได้

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        ๒. ประเด็นในจดหมายว่า “…ผู้ที่จะไปกราบนมัสการสังเวชนียสถาน ผมมองว่า เป็นเรื่องส่วนตัว เมื่อท่านมีจิตศรัทธาแรงกล้า มีแรงบันดาลใจใฝ่ฝันจะต้องไปให้ได้ก็ไปเถิด  ไปแล้วก็ต้องได้อะไรกลับมา คำตอบแตกต่างกันไปแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน ที่เหมือนกันนี้ก็คือ มีจิตแจ่มใส ชื่นบาน และขอย้ำอีกครั้งว่า การไปไหว้พระ (หลายวัด) ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ (หลายแห่ง เช่นที่จังหวัดนครพนม) หรือไปสังเวชนียสถานเป็นเรื่องส่วนตัว …ตัวตนของผู้ที่รู้ตัวว่ามีโรคมากแล้วยังตะเกียกตะกายไปนั้นคิดให้ดี อย่าหอบเอาภาระนี้ไปให้ผู้อื่นแบกรับ…”

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        อาตมาเข้าใจว่า เนื้อหานี้ต้องการเน้นความรู้สึกของผู้ที่ต้องการไปสังเวชนียสถาน ต้องอาศัยศรัทธา และมีความรู้สึกกลับมาที่จิตใจชื่นบานเป็นส่วนตัว ซึ่งดูเป็นข้อสรุปที่พยายามแยกว่าอะไรคือ “เรื่องส่วนตัว” อะไรคือ “เรื่องส่วนรวม” การแยกแยะนี้เป็นเรื่องสำคัญ และถ้าพิจารณาให้ละเอียดสักนิดจะเข้าใจว่าเรื่องนี้สำคัญเพียงใด

        เช่นกรณีที่เราได้ฟังมาบ่อยๆ ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ตกลงคำว่า “ความดีหรือชั่ว” เป็นเรื่องส่วนตัวหรือส่วนรวม ถ้าเราถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว คนจะคิดอะไรกัน คนก็จะคิดกันไปว่า เราทำดีก็ได้ดี ทำชั่วก็ได้ชั่ว เป็นเรื่องส่วนตัวของฉัน ฉันไม่ต้องสนใจใครก็ได้ เพราะอย่างไรฉันก็ต้องได้รับผลนี้เองอยู่วันยังค่ำ

        กับอีกความคิดหนึ่งที่เห็นว่าการกระทำของตนมีผลต่อส่วนรวม

เช่น ถ้าเราทำดีหรือชั่ว ผลนั้นไม่ได้ตกอยู่กับเราคนเดียว  แต่มีผลต่อคนอื่นด้วย  การทำดีหรือชั่วของเราจึงมีผลกับคนอื่นอย่างปฏิเสธไม่ได้ 

เช่น คนขับแท็กซี่นำเงินที่ผู้โดยสารทำตกไว้ไปคืนให้กับเจ้าของ เป็นต้น  เพราะแท็กซี่เห็นว่า ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวที่จะมองแต่ว่าตนเองได้เงินแล้วถือว่าเป็นโชคของฉัน  แต่เขาควรมองว่า ปัญหานี้เป็นเรื่องส่วนรวม  เพราะเขาต้องรู้สึกด้วยว่าคนทำหายจะเดือดร้อนขนาดไหน และถ้าพ่อแม่ หรือครูอาจารย์ และคนรอบข้างที่ได้รับข่าวนี้ก็จะรู้สึกอย่างไร

        ฉะนั้น การมองเรื่องของผู้ไปสังเวชนียสถานจึงไม่ควรเป็นเรื่องส่วนตัว เพราะสังคมควรเห็นว่าเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อชาวพุทธที่เปี่ยมด้วยศรัทธา โดยไม่ควรมองว่า สิ่งที่เขาเชื่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว เช่นเดียวกับเราไม่ควรมองว่าคนพิกลพิการหรือชราเดินขึ้นไปบนรถเมล์  เราไม่ควรคิดว่า “ลุงแก่ ชราแล้วจะมาใช้ชีวิตร่วมกับฉันทำไม” แต่เราควรลุกให้นั่ง เพราะเมื่อถึงเวลาแก่เราก็คงไม่อยากให้ใครคิดกับเราอย่างนั้นเช่นกัน 

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        ๓. ประเด็นในจดหมายว่า “…ประเด็นหนึ่งมุ่งไปที่การใช้เงินกองทุนของรัฐมาจัดสรรให้ตามปีงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าใช้จ่ายให้พุทธบริษัท …คนที่ไปจาริกธรรมทั้งหลายคงไม่ใช่คนประเภทอยากไปเมืองนอก แต่ไม่ชอบออกเงินเอง จ้องจะใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน  หรือถ้าจะมีก็ต้องเป็นคนเห็นแก่ตัวไม่น้อยทีเดียว…”

        อาตมาเชื่อว่าปัญหาใหญ่สุดของประเด็นนี้คือ “การนำเงินของรัฐอันเป็นของส่วนรวมนั้น ไม่ควรเสียกับเรื่องส่วนตัวของคนที่อยากไปสังเวชนียสถาน”

        แต่เราต้องอย่าลืมว่า สังคมนั้นมองความสงบสุขเป็นที่ตั้ง ซึ่งนั่นรวมถึงการมองว่าเงินนั้นก็ควรเป็นไปเพื่อสร้างความสงบสุขในสังคมเช่นกัน และหนึ่งในเหตุผลที่จะสร้างความสงบอันดีในสังคมก็คือการทำให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี

ตรงนี้เราควรจะพิจารณาปัญหานี้ว่า “ถ้าเรามีเงินสักก้อนหนึ่ง เราเลือกจะเสียเงินเพื่อสร้างโรงเรียนให้คนเรียนหนังสือแล้วมีอาชีพ หรือจะสร้างคุกไว้รอพวกที่ไม่เรียนหนังสือแล้วประกอบมิจฉาชีพ” ถ้าสังคมจะเลือกชีวิตที่ดีก็ต้องเลือกสร้างโรงเรียน อย่างน้อยก็ช่วยมอบโอกาสให้กับคนได้เลือกที่จะไม่ต้องติดคุกได้ (นั่นรวมถึงต้องเสียเงินสร้างคุก)

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม   และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

       ๔. ประเด็นสุดท้ายจดหมายได้อ้างถึงว่า “…สรุปว่า จะต้องมี พ.ร.บ.สิ่งเสริมไปสังเวชนียสถานทำไม นอกเสียจากบางคนฉวยโอกาสได้ประโยชน์ตรงนี้…”

        อาตมามองว่า การกล่าวแบบนี้อาจทำให้มีการมองไปได้ว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็น “การฉวยโอกาส” จึงอยากจะชี้ให้เห็นอีกแง่หนึ่งซึ่งเราไม่ควรมองข้าม โดยขอแยกให้เห็นอะไรได้ชัดขึ้น คือ

        กรณีที่ ๑ คนมีเงิน มีศรัทธา มีโอกาสไปสังเวชนียสถาน เป็นเรื่องปกติ

        กรณีที่ ๒ คนไม่มีเงิน มีศรัทธา ไม่มีโอกาสไปสังเวชนียสถาน เป็นเรื่องปกติ

        กรณีที่ ๓ คนที่ไม่มีเงิน มีศรัทธา ควรได้รับโอกาสให้ไปสังเวชนียสถาน เป็นเรื่อง “ฉวยโอกาส” หรือเป็นเรื่อง “มอบโอกาส”

        สำหรับกรณีที่ ๑ และ ๒ นั้นเป็นเรื่องข้อเท็จจริงว่าเมื่อมีเงิน ต้องมีศรัทธาจึงมีโอกาสไป เมื่อไม่มีเงิน แม้มีศรัทธาก็ไม่น่าจะมีโอกาสไป เพราะเราพิจารณาเรื่องเงินของแต่ละคนเป็นหลัก

        แต่ในกรณีข้อ ๓ นั้นเป็นเรื่องมุมมองที่สังคมควรจะมองอย่างไร? ระหว่าง “ฉวยโอกาส” หรือ “มอบโอกาส” โดย “เรื่องโอกาส” เป็นเรื่องที่สังคมควรใส่ใจและพิจารณากันก่อน  เช่นกรณีเด็กที่เกิดมาครอบครัวยากจนแต่เรียนหนังสือได้คะแนนดี มีโอกาสสอบติดได้ทุนการศึกษา หรือกรณีที่คนทำผิดแล้วสังคมตัดสินให้จำคุกด้วยพิจารณาว่าจะช่วยดัดนิสัยให้เขาดีขึ้นได้  สังคมมองทั้ง ๒ กรณีนี้ว่านี่คือการให้โอกาส

        ฉะนั้น  การมอบโอกาสจึงถูกโยงเข้ากับความเชื่อว่ามนุษย์นั้นสามารถพัฒนาตนเองได้

แต่ไม่มีใครรับรองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า  เมื่อเราให้โอกาสแก่เขาเหล่านี้แล้ว เด็กที่ยากจนมีคะแนนดีจะจบการศึกษาได้ครบทุกคน หรือคนทำผิดแล้วถูกลงโทษแต่เมื่อพ้นผิดจะเป็นคนดีสมบูรณ์พร้อมไม่ทำผิดซ้ำอีก แต่อย่างไรก็ตามเรามองไปที่ “โอกาส” ที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเชื่อที่เรามีต่อมนุษย์ด้วยกัน

        ถ้าเราพิจารณาบนฐานความเชื่อนี้ว่าเป็นการให้โอกาส ก็ควรพิจารณาเรื่องการเดินทางไปสังเวชนียสถานนี้เช่นกันว่าเป็นเรื่องของศรัทธาในความดีเป็นเบื้องต้น เพราะอินเดียแทบจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ถนนที่เดินทางไปสู่สังเวชนียสถานนั้นก็ล้วนแต่เป็นชนบท ห้องน้ำไม่มี ถ้าไม่มีศรัทธาจริง แม้จะมีเงินก็ยากที่จะไปได้

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม    และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        แต่อาจมีปัญหากับเรื่องที่ว่า “แล้วถ้าคนๆ นั้นมีเงิน มีศรัทธา ควรจะได้รับโอกาสให้ไปสังเวชนียสถานหรือไม่” ตรงนี้ต้องมีเกณฑ์การคัดเลือก ซึ่งควรจะคุยกันในแง่นี้ แต่ไม่ใช่ปิดโอกาสคนที่ไม่มีเงิน แต่มีศรัทธาไปเสียหมด

       การพูดคุยเรื่อง พ.ร.บ.ดำเนินมาถึงขั้นตอนการพิจารณากฎหมายฉบับนี้แล้ว  ก็ไม่ผ่านในอดีต แต่ในอนาคต เราอาจมองเห็นร่วมกันว่า เรื่องนี้ควรนำมาพิจารณากันใหม่ มีเรื่องที่ต้องพุดคุยถกเถียงให้ได้ข้อยุติ  แต่บนฐานของข้อถกเถียงนั้น ไม่ควรปฏิเสธว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งของสังคมไทย 

เพราะแผนพัฒนาสังคมตามแนวการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม  และเราก็ไม่ควรปฏิเสธถึงการสนับสนุนให้คนมีสร้างศรัทธาในความดี ได้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสถานที่เหล่านี้ เพื่อนำมาปฏิบัติต่อไป ไม่ใช่เพื่อตนเอง แต่เป็นเพื่อสังคม

"ร่างกฎหมายสังเวชนียสถานมีความสำคัญเพียงใดต่อการพ้นทุกข์ในสังสารวัฏ ตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า " โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙,ดร.
ตอบคำถาม
“ร่างกฎหมายสังเวชนียสถานมีความสำคัญเพียงใด
ต่อการพ้นทุกข์ในสังสารวัฏตามรอยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙,ดร.

ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน พ.ศ. …ดาวโหลด/หลักการ/เหตุผล/เนื้อหาร่าง พ.ร.บ. ได้ที่นี่

https://drive.google.com/file/d/0B8uMVfzxEQZgZUR5elJIZ19SZ2M/view?pref=2&pli=1

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here