ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรม" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙ สำนักพิมพ์ อนันตะ ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙ สำนักพิมพ์ อนันตะ ฉบับธรรมทาน

เพราะความรักความผูกพัน

ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

เป็นความรักที่ไร้ขอบเขต 

ไม่มีพรมแดนขีดกั้น

  แผ่ไพศาลไปไม่มีประมาณ

ก้าวข้ามกาลเวลา

งดงามตราบชั่วนิรันดร์กาล”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
โยมแม่ใหญ่จูม วงศ์ชะอุ่ม (คุณย่า) และ โยมพ่อใหญ่โทน วงศ์ชะอุ่ม (คุณปู่)
โยมแม่ใหญ่จูม วงศ์ชะอุ่ม (คุณย่า) และ โยมพ่อใหญ่โทน วงศ์ชะอุ่ม (คุณปู่)

จดหมายถึงโยมแม่ใหญ่ ฉบับที่ ๓

 ท้ายพรรษา ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง

(ตอนที่ ๓)

“พรหมวิหารธรรม : น้ำใจบริสุทธิ์ของแม่พ่อ”

จาก ธรรมนิพนธ์เรื่อง

“หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน”

เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน "หลักการทำบุญและการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน"
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน “หลักการทำบุญและการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน”

 “น้ำใจบริสุทธิ์ของพ่อแม่ คือ พรหมวิหารธรรม”

พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระเจ้าปัสเสนทิโกศลว่า

“ผู้ใดสำนึกในบุญคุณของพ่อแม่แล้ว มีความปรารถนาจะตอบแทนคุณท่านอันมากล้น ต้องได้บวชในพระพุทธศาสนา จึงจะได้ชื่อว่าตอบแทนบุญคุณท่านอย่างแท้จริง”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

หมายความว่า การบวชมีอานิสงส์มาก จึงสามารถตอบแทนบุญคุณท่านได้ 

ข้อนี้ท่านใช้โวหารแสดงอุปมาไว้เพื่อเป็นสิ่งเปรียบเทียบให้เห็นความยิ่งใหญ่ ของพระคุณพ่อแม่

พ่อแม่นั้นเป็นผู้มีพระคุณสูงสุดในชีวิตของลูก ๆ จึงควรปฏิบัติ อุปัฏฐากบำรุงท่านให้ได้รับความสุข

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

การตอบแทนบุญคุณของท่าน หรือการเลี้ยงดูท่าน อาจทำได้ ๒ ทาง คือ เลี้ยงอาหารกาย คือ ตอบแทนด้วยวัตถุสิ่งของอย่างหนึ่ง  เลี้ยงอาหารใจ คือ ตอบแทนด้วยการตั้งอยู่ในโอวาทคำแนะนำสั่งสอนของท่านอย่างหนึ่ง

พฤติกรรมของลูก ๆ ที่แสดงออกนั้น เป็นอาหารหล่อเลี้ยงใจและเป็นยาพิษทำลายความรู้สึกของพ่อแม่  ถ้าลูก ๆ ประพฤติดี งดงาม ด้วยกิริยามารยาทสังคมยกย่องสรรเสริญ ก็นำความปลาบปลื้มมาสู่จิตใจพ่อแม่  เป็นการหล่อเลี้ยงท่านด้วยอาหารใจ  ถ้าประพฤติเสียหายสังคมนินทาก็นำความเจ็บปวดมาสู่ใจพ่อแม่  เรียกว่าหล่อเลี้ยงพ่อแม่ด้วยความเจ็บปวด หรือเลี้ยงพ่อแม่ด้วย ยาพิษ  ผู้ที่เป็นลูก ๆ ก็ควรตระหนักว่า จะเลี้ยงพ่อแม่ด้วยอาหารใจ คือ ความปลาบปลื้ม หรือด้วยยาพิษ คือ ความเจ็บปวด

พ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณสูงสุดยิ่ง  ดังพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เป็นคำบาลีว่า

พรหมาติ  มาตา ปิตโร  แปลว่า  มารดาบิดา เป็นพรหมของลูก

         พ่อแม่นั้นมีน้ำใจอนุเคราะห์ลูก ๆ ของท่าน  จึงเรียกท่านว่า เป็นพรหมของลูก  เป็นครูบาอาจารย์คนแรกของลูก และเป็นพระอรหันต์ของลูก

ประการแรก ที่เรียกพ่อแม่ว่า  “เป็นพระพรหม”  ของลูกนั้น  เนื่องจากท่านมีพรหมวิหารธรรม คือ ความรักความเอื้ออาทรต่อลูก ๆ อยู่ในใจ  เมื่อก่อนศาสนาพราหมณ์สอนว่า  พระพรหมเป็นผู้ให้ชีวิตคน  และดลบันดาลให้เป็นต่าง ๆ  พรหมเป็นผู้สูงสุดในโลก คนจึงควรเคารพบูชาพรหม

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว 
พระองค์ได้ตรัสว่า 

แท้จริงแล้วพ่อแม่นั่นแหละ  เป็นผู้สูงสุดในชีวิตของคนเรา  เพราะท่านประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ๔ ประการอย่างเปี่ยมล้น คือ มีเมตตาธรรม  มีกรุณาธรรม  มีมุทิตาธรรม และมีอุเบกขาธรรม

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรม" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙ สำนักพิมพ์ อนันตะ ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙ สำนักพิมพ์ อนันตะ ฉบับธรรมทาน

เมตตาธรรม” ความรักที่พ่อแม่มีต่อลูก  เป็นความรักที่บริสุทธิ์  มิได้ หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ  จะมีก็เพียงอยากเห็นลูกเป็นคนดี ปฏิบัติดี  อยู่ในโอวาทของท่าน  ความรักของพ่อแม่นั้นไม่เปลี่ยนแปลงแปรผัน 

เมื่อตอนที่ลูกเกิด  พ่อแม่รักอยู่อย่างไร  แม้จะเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวจนลูกแก่ชรา  ถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่  ท่านก็ยังคงรักอยู่อย่างนั้น  จะเป็นเสมอลูกหญิงลูกชายท่านก็รัก เรียกว่า  เสมอต้นเสมอปลาย แม้จะพิกลพิการไม่สมประกอบประการใด คนอื่นอาจรังเกียจ  ท่านก็รักของท่าน  พยายามทำ ทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ลูกสมบูรณ์  จนต้องบนบานศาลกล่าว

ในอีกทางหนึ่ง  การที่พ่อแม่มีลูกเกิดมาอวัยวะร่างกายสมประกอบ ไม่ เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นนิจ  เติบโตขึ้นมาอยู่ในโอวาทของพ่อแม่  ปฏิบัติตัวดีไม่เกเรเป็นอันธพาล  สร้างความเดือดร้อนให้สังคม  มีความรักใคร่กลมเกลียว  พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างพี่น้องร่วมท้อง ไม่ดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่น  ก็ถือได้ว่า เป็นผลบุญที่ได้กระทำมาของตัวพ่อแม่ หรือ  แม้ว่าลูกจะประพฤติตัวไม่ ดีอย่างไร พ่อแม่ก็ตัดลูกไม่ขาด  เพราะท่านมีเมตตาธรรมอันยิ่งใหญ่ คือความรักอันบริสุทธิ์เป็นเยื่อใย  ฝังอยู่ในจิตใจตลอดเวลา

ความรักความผูกพันของพ่อแม่ที่มีต่อลูก เป็นความรักที่ไร้ ขอบเขต  ไม่มีพรมแดนขีดกั้น  แผ่ไพศาลไปไม่มีประมาณ ก้าวข้ามกาลเวลา งดงามตราบชั่วนิรันดร์กาล

“กรุณาธรรม” คือ ความห่วงใย เอื้ออาทรในลูก ๆ เป็นความห่วงใยที่มีมากกว่าความห่วงใยในตัวเอง  นอกจากความรัก ความเมตตาที่ท่านมีต่อบุตรแล้ว  ท่านยังมีความกรุณา ดูแลเอาใจใส่ลูกอยู่ตลอดเวลา  จนบางครั้งดูเหมือนว่า ท่านเป็นยายแก่ขี้บ่น จูจี้จุกจิก  ไม่เห็นลูกโตสักที 

ลูกควรคิดว่ามีพ่อแม่บ่นให้  ยังดีกว่าไม่มีพ่อแม่ตลอดชีวิต 

หากจะนับตั้งแต่เป็นเด็กก็จะสังเกตได้ว่า  เวลาที่ลูกป่วยไข้  ถ้าลูกยังนอนไม่หลับ  พ่อแม่ก็นอนไม่หลับ  ในคราวที่ลูกกินไม่ได้  พ่อแม่ก็ทานอาหารไม่ลง  เพราะความเป็นห่วงเป็นใยเอื้ออาทร  ด้วยอำนาจกรุณาธรรม  อย่างคนที่รู้ว่าจะมีลูกก็เริ่มเกิดความห่วงใยขึ้นมาทันที  แม่ก็ต้องรักษาสุขภาพร่างกายตนเองให้ดี

ส่วนพ่อก็มีหน้าที่ในการจัดหาอาหารสิ่งของมาบำรุงรักษาแม่ของลูกให้ ดีเพื่อลูกจะได้เกิดมาอย่างปลอดภัย  เมื่อคลอดลูกแล้ว ถึงแม้พ่อจะต้องไปทำงาน แต่ใจก็อยู่กับลูก เป็นห่วงสารพัด อยากจะอยู่ใกล้ ๆ คอยดูแลเอาใจใส่ ลูกด้วยตัวเอง

เมื่อลูกโตเป็นหนุ่มเป็นสาว  ต้องจากพ่อแม่ไปอยู่ห่างไกล หรือไปสู่อ้อมอกของคนหนึ่งเมื่อวัยมาถึง  ก็เป็นห่วงว่า ลูกจะอยู่อย่างไร  เขาจะดูแลกันและกันได้อย่างใจหวังหรือเปล่า  ความเป็นอยู่สะดวกดีหรือเปล่า  ขาดเหลือสิ่งใดไหมช่วงนี้  เวลานี้ลูกเคยทำสิ่งนี้ เคยพูดสิ่งนี้  ตอนนี้ลูกจะทำอะไรอยู่ เมื่อก่อนพ่อแม่เคยทำสิ่งนี้ให้  ตอนนี้ใครจะทำให้ สารพัดที่จะเป็นกังวล  นี่ก็เป็นความห่วงของท่าน  เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า  พ่อแม่เป็นห่วงเป็นใยลูกด้วยอำนาจแห่ง “กรุณาธรรม”

ความเอื้ออาทรของพ่อแม่ที่มีต่อลูกนั้น  เป็นความเอื้ออาทรที่เต็มเปี่ยมไร้ขอบเขตในจิตใจ ไม่มีพรมแดนขีดกั้น แผ่ไพศาลไปไม่มีประมาณ  ก้าวข้ามกาลเวลา  งดงามอยู่ตราบชั่วนิรันดร์กาล

“มุทิตาธรรม” คือ ความพลอยยินดี พ่อแม่นั้นจะอิ่มอกอิ่มใจในความเจริญรุ่งเรืองของลูก  เวลาเป็นเด็ก  ลูกเล่นอะไรก็เพลินตามที่ลูกเล่น  แม้ในเวลาที่ตัวเองเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จ ก็ไม่ปลื้มอกปลื้มใจดีใจเป็นที่สุดเหมือนเห็นความเจริญก้าวหน้าของลูก ๆ  แม้แต่ความเจริญกายเจริญวัยของลูก ท่านก็ยังดีใจอิ่มใจ ซึ่งจะสังเกตเห็นหรือได้ยินอยู่บ่อยว่า นี่ลูกเดินได้ แล้ว  นี่ลูกพูดได้แล้ว ลูกพูดว่าอย่างนั้น  ลูกพูดว่าอย่างนี้  ลูกเรียนจบแล้ว  ลูกมีงานทำแล้ว  ลูกทำอย่างนี้ได้  ลูกทำอย่างนั้นได้

ถึงแม้ว่าจะรู้อยู่แล้วว่า  เด็ก ๆ ทุกคนก็สามารถทำได้โดยธรรมชาติอยู่ แล้ว  แต่ด้วยความปีติยินดี  ก็ไม่สามารถอดนำไปพูดกับคนรอบข้างได้

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเรื่องที่ถึงยืนยันความยินดีปรีดา ปลื้มเปรมใจของพ่อแม่ที่เห็นลูกมีความเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี

ความพลอยยินดีที่เห็นลูกเจริญก้าวหน้า  ที่พ่อแม่มีต่อลูก  เป็นความพลอยยินดีที่เต็มเปี่ยมในจิตใจไร้ขอบเขต ไม่มีพรมแดนขีดกั้น  แผ่ไพศาลไปไม่มีประมาณ  ก้าวข้ามกาลเวลา งดงามอยู่ตราบชั่วนิรันดร์กาล

ข้อสุดท้าย  “อุเบกขาธรรม” คือ การวางใจให้เป็นกลาง ไม่ดีใจไม่ เสียใจ  บางครั้งลูก ๆ อาจทำบางสิ่งบางอย่างให้พ่อแม่ไม่พึงพอใจ  แต่ท่านก็วางอยู่ในอุเบกขา  ไม่แสดงความโกรธเกลียด หรือเสียใจ  และสิ่งสำคัญพึงสังเกตในข้อนี้ว่า  ท่านจะพยายามไม่แสดงอาการใด ๆ ให้ลูก ๆ ต้องพลอยเดือดร้อนใจ

  เช่น พ่อแม่  อาจจะมีปัญหาในการหาเงิน  หาอาหารมาเลี้ยงดูลูก ๆ เราสังเกตเห็นว่า  ท่านไม่สบายใจ แต่เมื่อเราเข้าไปถาม  ท่านก็มักจะตอบว่า ไม่มีปัญหา  ไม่ต้องเป็นห่วงอะไร  บางครั้ง เมื่อพ่อแม่แก่ชรา ถ้าหากลูกถามว่า  พ่อแม่ต้องการอะไร  ก็มักจะได้ยินคำปฏิเสธอยู่เสมอว่า ไม่ต้องการ  จะถามว่าอยากทานอะไร  ก็ตอบว่าไม่อยาก คราวเจ็บไข้ได้ป่วย  ถามว่าเจ็บมากหรือไม่ ท่านก็จะบอกว่า ไม่เป็นไร เจ็บเพียงเล็กน้อย

“การที่พ่อแม่ตอบ หรือกระทำอย่างนี้ ก็เพราะท่านไม่ต้องการให้ลูก ๆ เป็นห่วง”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ความมีใจเป็นกลางที่พ่อแม่มีต่อลูก เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งความอดกลั้น หนักแน่น  แม้เมื่อยามลูกทำให้เจ็บปวดใจ  ก็ข่มความเจ็บปวดไม่โกรธเกลียด  แม้เมื่อยามลูกสุข ก็ข่มความสุขไว้  ไม่อิจฉา มีใจเป็นกลาง  เสมอต้นเสมอปลายเช่นนี้ตลอดไป

อุเบกขาที่พ่อแม่มีต่อลูก  เป็นอุเบกขาที่เต็มเปี่ยมในจิตใจ ไร้ขอบเขต ไม่ มีพรมแดนขีดกั้น  แผ่ไพศาลไปไม่มีประมาณ  ก้าวข้ามกาลเวลา งดงามอยู่ตราบชั่วนิรันดร์กาล

เพราะพรหมวิหารธรรม ๔ ประการนี้ที่พ่อแม่มีต่อลูก พระพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกพ่อแม่ว่า  “เป็นพระพรหม” ของลูกอย่างแท้จริง

อีกอย่างหนึ่ง พ่อแม่เป็นครูอาจารย์คนแรกของลูก ๆ ก็เพราะว่าท่านคอยพร่ำสอนลูกอยู่ตลอดเวลา  บอกลูกสอนลูกให้เรียกคนนี้ว่าป้า ให้เรียกคนนั้นว่าลุง ให้เรียกคนทั้งหลายรอบตัวเหมือนญาติของตนเอง เพื่อต้องการจะฝากฝังให้ทุกคนรักลูกของท่าน  และท่านก็เป็นครูของลูกตลอดไปตั้งแต่เล็กจนโต เป็นครูอยู่ตลอดไป ไม่มีเกษียณอายุ  ท่านจะเลิกการเป็นครูก็ต่อเมื่อได้ จากเราไปแล้วเท่านั้น

ดังนั้นลูก ๆ ทั้งหลายจึงต้องเข้าใจว่า  ที่พ่อแม่สอน พ่อแม่แนะนำ ก็เพราะท่านมีความปรารถนาดี  ท่านจึงเป็นครูอาจารย์ที่วิเศษสุดอย่างยิ่งในชีวิตลูก ๆ

ที่กล่าวว่า  พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ความหมายของพระอรหันต์ นั้นคือ ความบริสุทธิ์ พ่อแม่นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะมีกายบริสุทธิ์  มีวาจาบริสุทธิ์  และมีใจบริสุทธิ์ต่อลูกตลอดเวลา ไม่เคยที่จะต้องทำให้ลูกเดือดร้อนไม่เคยคิดที่จะให้ลูกประสบสิ่งที่เป็นอันตรายแม้แต่เพียงเล็กน้อย  น้ำใจอย่างนี้แหละ ที่เรียกว่า น้ำใจบริสุทธิ์ของพ่อแม่ 

“เพราะพระคุณต่าง ๆ ของท่านมีมากมายดังที่กล่าวมานี้  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยกย่องพ่อแม่ไว้อย่างสูง  ยากที่จะเทียบได้ จึงตรัสสอนให้รู้จักตอบแทนพระคุณของพ่อแม่”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

แม้จะยกแม่ไว้บนไหล่ข้างหนึ่ง  ยกพ่อไว้บนไหล่ข้างหนึ่ง ให้ท่านถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ  อุปัฏฐากบำรุงเลี้ยงท่านตลอดชีวิต ก็ยังตอบแทนคุณไม่หมด

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

จดหมายถึงโยมแม่ใหญ่ ฉบับที่ ๓ (ตอนที่ ๓) “พรหมวิหารธรรม : น้ำใจบริสุทธิ์ของพ่อแม่ ” จาก ธรรมนิพนธ์เรื่อง “หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here