ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสริมสิริมงคลตลอดปี ๒๕๖๓ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ถึง วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพ ฯ

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสริมสิริมงคลตลอดปี ๒๕๖๓ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ถึง วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพ ฯ ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
หนังสือ "ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร" เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์(เทอด ญาณวชิโร) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ (ฉบับธรรมทาน)
หนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์(เทอด ญาณวชิโร) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ (ฉบับธรรมทาน)

ความเป็นมาและอานุภาพแห่งการสวดมนต์ข้ามปี (๖)

ธชัคคสูตร : พระสูตรยอดธง อานุภาพแห่งการน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย พระพุทธมนต์สำหรับผู้เกิดวันศุกร์

“หัวใจของพระสูตรนี้ เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า สวดอิติปิโส นิยมสวดกันเฉพาะบทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ”

โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

จากหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ ดำเนินการจัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับธรรมทาน

และหนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน

ธชัคคสูตร : เพื่อขจัดความหวาดกลัว ขนพองสยองเกล้า และป้องกันอันตรายจากที่สูง

ตำนานและประวัติของพระอินทร์ (โดยย่อ)

คนไทยเรารู้จักพระอินทร์ ในฐานะเทพผู้เปี่ยมด้วยเมตตา คอยช่วยเหลือคนดี ที่ถึงคราวอับจนตกทุกข์ได้ยาก พระอินทร์ เมื่อครั้งเกิดเป็นมนุษย์ มีชื่อว่า “มฆมาณพ” ได้ตั้งใจสมาทานข้อวัตรปฏิบัติ ๗ ข้ออย่างเคร่งครัดตลอดชีวิตคือ ๑. จะเลี้ยงมารดาตลอดชีวิต ๒.จะให้ความเคารพผู้ใหญ่ของวงศ์ตระกูลตลอดชีวิต ๓.จะพูดคำสุภาพอ่อนหวานตลอดชีวิต ๔.จะไม่พูดส่อเสียด จะพูดแต่คำที่ทำให้เกิดความรักความสามัคคีตลอดชีวิต ๕.จะยินดีที่ได้ให้ทานแบ่งปันผู้อื่น จะไม่เป็นคนตระหนี่ตลอดชีวิต ๖.จะเป็นคนมีสัจจะ พูดแต่ความจริงตลอดชีวิต ๗.จะเป็นคนไม่มีนิสัยมักโกรธ หรือหากความโกรธเกิดขึ้นก็จะรีบหักห้ามความโกรธลงให้ได้ทันทีตลอดชีวิต

ข้อวัตรปฏิบัติ ๗ ข้อนี้ เมื่อครั้งพระอินทร์เป็นมนุษย์ได้ตั้งใจสมาทานปฏิบัติตลอดชีวิต ทำให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ตลอดสาย

เมื่อครั้งที่พระอินทร์เกิดเป็นมนุษย์ชื่อว่า “มฆมาณพ” พร้อมกับบริวารที่เคยทำบุญร่วมกันมา ๓๒ คน รวมเป็น ๓๓ คน ครั้งหนึ่งได้เคยร่วมกันบำเพ็ญกุศลขุดน้ำบ่อศาลา สร้างสาธารณประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ชุมชน ได้มีผู้ปกครองแสวงหาผลประโยชน์จากมฆมาณพและพรรคพวก เมื่อไม่ได้จึงถูกใส่ความว่าสั่งสมผู้คนก่อการอันเป็นกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน มฆมาณพจึงถูกจับกุมในข้อหาก่อการอันเป็นกบฏ ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตด้วยการให้ช้างเหยียบให้ตาย

มฆมาณพ แนะนำสหายไม่ให่ผูกอาฆาตผู้ปกครองที่คิดร้าย และพระเจ้าแผ่นดินที่ถูกยุยง ตลอดจนแผ่เมตตาไปยังช้างที่จะเหยียบนั้นด้วย แต่เมื่อช้างถูกปล่อยมาก็กลับสร้างความประหลาดใจแก่ผู้คนที่มามุงดูพิธีประหารนักโทษกบฏ เพราะช้างหยุดยืนดู ไม่เหยียบ เจ้าพนักงานคิดว่า ช้างคงเห็นคนมาจึงไม่ยอมเหยียบ จึงเอาเสื่อรำแพนผืนใหญ่คลุมไว้ แล้วปล่อยช้างไปอีกครั้ง แม้เช่นนี้ ช้างก็ไม่เหยียบ

พระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดให้นำตัวมฆมาณพและพรรคพวกมาสอบสวนด้วยพระองค์เอง ได้ความว่า เขาหาได้คิดการอันเป็นกบฏไม่ แต่ได้ร่วมกับเพื่อนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เพื่อความผาสุกของแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินจึงเกิดความสำนึกว่า ขนาดช้าง ยังรู้จักคุณความดีของคนเหล่านี้ แต่เรากลับหาได้รู้ไม่ จึงได้แต่งตั้งให้มฆมาณพเป็นผู้ใหญ่บ้านแทนคนเดิม และได้มอบช้างเชือกนั้น ให้เป็นพาหนะในการเดินทางไปบำเพ็ญบุณกุศลสาธารณประโยชน์แก่มฆมาณพ ด้วยอานิสงส์ที่นำเจ้านายไปทำบุญ ช้างนั้นจึงได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เช่นกัน ปรากฏนามว่า “เทพเอราวัณ”

ตำนานและอานุภาพการป้องกัน

ธชัคคสูตร เป็นพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเอาเหตุการณ์ ซึ่งเป็นตำนานการทำสงครามระหว่างเทพกับอสูร มาเป็นเครื่องใจภิกษุผู้ไปทำความเพียรอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร อันเป็นที่เงียบสงัด การอยู่ท่ามกลางป่ากว้างดงลึกของภิกษุ ผู้ยังเป็นปุถุชนเช่นนั้น ย่อมจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้าเป็นธรรมดา

เมื่อใดก็ตามที่เกิดความรู้สึกหวาดกลัว พระองค์ให้ภิกษุระลึกถึงธง คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ แล้วจะสามารถข่มใจระงับความหวาดกลัวบำเพ็ญเพียรต่อไปไม่ลุกหนีได้ เหมือนเทวดาทำสงครามกับอสูร เมื่อเทพนักรบเข้าสู่สงครามย่อมจะเกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้าท่ามกลางข้าศึกเช่นกัน แต่เมื่อเทพนักรบเห็นธงของพระอินทร์ผู้เป็นจอมทัพ หรือธงของเทพนายทัพก็จะทำให้ความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้าอันตรธานหายไป เกิดความอาจหาญแกล้วกล้าขึ้น สามารถปฏิบัติธรรมต่อไปได้

เหตุการณ์ที่เรียกว่า เทวาสุรสงคราม ตามที่ปรากฏในธชัคคสูตรนั้น เกิดขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งมีพระอินทร์เป็นราชาธิบดีของเหล่าเทพบนสวรรค์ชั้นนี้ บางครั้งพระอินทร์ถูกเรียกว่า “ท้าวสักกะ” บ้าง “ท้าวมฆวะ” บ้าง “ท้าววชิรหัตถ์” บ้าง “ท้าวสหัสสนัยน์” บ้าง “ท้าววาสวะ” บ้าง แต่คนไทยทราบกันโดยทั่วไปว่า “พระอินทร์”

อานุภาพการป้องกัน

การสวดธชัคคสูตร ก็เพื่อเป็นการทำลายความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปอยู่ต่างถิ่น หรือในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย โดยน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัย มาเป็นอานุภาพเครื่องเสริมสร้างกำลังใจ ให้เกิดความอาจหาญแกล้วกล้าในการต่อสู้อันตราย และอุปสรรคนานาประการ

นอกจากนั้น ธชัคคสูตร ยังช่วยคุ้มครองป้องกันอันตรายที่เกิดจากที่สูง หรืออันตรายทางอากาศ เช่น อันตรายจากการขึ้นต้นไม้สูง อันตรายจากการเดินทางที่ต้องผ่านหุบเขาเหวผาสูงชัน อันตรายจากสิ่งที่ตกหล่นมาจากอากาศ (ปัจจุบัน ยังมีความนิยมกันว่า “พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ สามารถป้องกันอันตรายอันจะเกิดจากการเดินทางโดยเครื่องบิน อีกด้วย)

โดยทั่งไป การสวดบทธชัคคสูตร ไม่นิยมสวดทั้งสูตร แต่จะสวดเฉพาะบทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ซึ่งหัวใจของพระสูตรนี้ เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า “สวดอิติปิโส” เว้นไว้แต่มีเวลามาก และต้องการสวดเป็นกรณีพิเศษจึงจะสวดทั้งสูตร

ในบทขัดตำนาน (บทเกริ่นนำ) ท่านได้ประพันธ์เป็นคาถาแสดงอานุภาพธชัคคสูตรไว้ว่า “สัตว์ทั้งหลาย แม้ที่อยู่ในอากาศ สามารถได้ที่พึ่งอย่างเดียวกันกับสัตว์ที่อยู่บนแผ่นดิน อนึ่ง ด้วยการระลึกถึงพระปริตร ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีจำนวนสุดที่จะคณานับได้ สามารถรอดพ้นจากข่ายคือ อุปัทวันตรายนานาประการ อันเกิดแต่ยักษ์ และโจรเป็นต้น เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรนั้นเทอญ

ธชัคคสูตร

เอวัมเม   สุตัง   ฯ  เอกัง   สะมะยัง   ภะคะวา   สาวัตถิยัง   วิหะระติ   เชตะวะเน   อะนาถะปิณฑิกัสสะ   อาราเม   ฯ  ตัตระ   โข   ภะคะวา   ภิกขู  อามันเตสิ   ภิกขะโวติ   ฯ   ภะทันเตติ   เต   ภิกขู   ภะคะวะโต   ปัจจัสโสสุง   ฯ   ภะคะวา   เอตะทะโวจะ

ภูตะปุพพัง   ภิกขะเว   เทวาสุระสังคาโม   สะมุปัพะยุฬโห   อะโหสิฯ   อะถะโข   ภิกขะเว   สักโก   เทวานะมินโท  เทเว  ตาวะติงเส   อามันเตสิ   สะเจ   มาริสา   เทวานัง   สังคามะคะตานัง   อุปปัชเชยยะ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส   วา   มะเมวะ  ตัสะมิง   สะมะเย   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ   มะมัง   หิ   โว   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส   วา   โส   ปะหิยยิสสะติ โน   เจ   เม   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ  

อะถะ ปะชาปะติสสะ   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ  
ปะชาปะติสสะ  หิ   โว   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง    ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส   วา   โส   ปะหิยยิสสะติ  โน   เจ   ปะชาปะติสสะ   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ  

อะถะ   วะรุณัสสะ   เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ   วะรุณัสสะ   หิ   โว   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา  ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส   วา   โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  วะรุณัสสะ   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ

อะถะ   อีสานัสสะ   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ   อีสานัสสะ หิ    โว    เทวะราชัสสะ    ธะชัคคัง    อุลโลกะยะตัง    ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา  ฉัมภิตัตตัง    วา   โลมะหังโส   วา   โส   ปะหิยยิสสะตีติ   ฯ

ตัง   โข   ปะนะ   ภิกขะเว   สักกัสสะ   วา   เทวานะมินทัสสะ   ธะชัคคัง    อุลโลกะยะตัง   ปะชาปะติสสะ   วา  เทวะราชัสสะ    ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง    วะรุณัสสะ   วา   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง   อีสานัสสะ   วา  เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง    วา   โลมะหังโส   วา  
โส   ปะหิยเยถาปิ   โนปิ   ปะหิยเยถะ ตัง   กิสสะ   เหตุ   สักโก   หิ   ภิกขะเว   เทวานะมินโท   อะวีตะราโค   อะวีตะโทโส   อะวีตะโมโห   ภิรุฉัมภี   อุตะราสี   ปะลายีติ   ฯ 

อะหัญจะ   โข   ภิกขะเว   เอวัง   วะทามิ   สะเจ   ตุมหากัง   ภิกขะเว   อะรัญญะคะตานัง   วา   รุกขะมูละคะตานัง   วา  
สุญญาคาระคะตานัง   วา   อุปปัชเชยยะ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส   วา   มะเมวะ   ตัสะมิง  
สะมะเย   อะนุสสะเรยยาถะ  

อิติปิ  โส    ภะคะวา    อะระหัง    สัมมาสัมพุทโธ   วิชชาจะระณะ – สัมปันโน   สุคะโต  โลกะวิทู    อะนุตตะโร    ปุริสะทัมมะสาระถิ   สัตถา เทวะมะนุสสานัง   พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง   หิ   โว ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส  วา    โส   ปะหิยยิสสะติ  โน   เจ   มัง   อะนุสสะเรยยาถะ   อะถะ   ธัมมัง   อะนุสสะเรยยาถะ  

สวากขาโต    ภะคะวะตา    ธัมโม   สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก   เอหิปัสสิโก   โอปะนะยิโก   ปัจจัตตัง   เวทิตัพโพ   วิญญูหีติ ธัมมัง   หิ   โว   ภิกขะเว    อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ    ภะยัง    วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส    วา   โส   ปะหิยยิสสะติ โน   เจ   ธัมมัง   อะนุสสะเรยยาถะ   อะถะ    สังฆัง    อะนุสสะเรยยาถะ  

สุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฏิปันโน     ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ   ญายะปะฏิปันโน   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ   สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ   ยะทิทัง   จัตตาริ ปุริสะยุคานิ   อัฏฐะ   ปุริสะปุคคะลา   เอสะ   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย   ปาหุเนยโย   อัญชะลีกะระณีโย   อะนุตตะรัง   ปุญญักเขตตัง   โลกัสสาติ  

สังฆัง   หิ   โว   ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง    วา   ฉัมภิตัตตัง   วา  โลมะหังโส   วา   โส   ปะหิยยิสสะติ ตัง   กิสสะ   เหตุ   ตะถาคะโต   หิ   ภิกขะเว   อะระหัง   สัมมาสัมพุทโธ   วีตะราโค วีตะโทโส   วีตะโทโส  อะภิรุ  อัจฉัมภี   อะนุตราสี   อะปะลายีติ    ฯ 

อิทะมะโวจะ    ภะคะวา   อิทัง   วัตตะวานะ   สุคะโต   อะถาปะรัง   เอตะทะโวจะ   สัตถา

อะรัญเญ   รุกขะมูเล   วา               สุญญาคาเร   วะ   ภิกขะโว
อะนุสสะเรถะ   สัมพุทธัง                ภะยัง   ตุมหากะ   โน   สิยา
โน   เจ   พุทธัง   สะเรยยาถะ         โลกะเชฏฐัง   นะราสะภัง
อะถะ    ธัมมัง   สะเรยยาถะ            นิยยานิกัง   สุเทสิตัง
โน   เจ   ธัมมัง   สะเรยยาถะ         นิยยานิกัง   สุเทสิตัง
อะถะ   สังฆัง   สะเรยยาถะ            ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง   สะรันตานัง               ธัมมัง   สังฆัญจะ   ภิกขะโว
ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตั                   โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ

หนังสือ "ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ (ฉบับธรรมทาน)
หนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ (ฉบับธรรมทาน)
หนังสือ "พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน
หนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดย พระครูปลัดสุวัฒนธีคุณ (เทอด ญาณวชิโร, วงศ์ชะอุ่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ฉบับธรรมทาน

คำแปล
ข้าพเจ้า (ในที่นี้หมายถึงพระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐาก และทำหน้าที่ในการทรงจำพระสูตรทั้งปวง) ได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า” ดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์ต่อไปว่า

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องราวในอดีตกาลอันไกลโพ้นเคยมีมาแล้ว ได้เกิดสงครามระหว่างเหล่าเทวดากับเหล่าอสูรขึ้น ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทพ ตรัสเรียกเทวดา ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าพวกเทวดาเข้าสู่สงครามแล้วเกิดความกลัวหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ขอให้ท่านทั้งหลาย แลดูยอดธงของเรา เพราะเมื่อพวกท่าน แลดูยอดธงของเราแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้าพวกท่านทั้งหลาย แลดูยอดธงของเราไม่ได้ ก็ขอให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้าท่านทั้งหลาย แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีไม่ได้ ก็ให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้าท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณไม่ได้ ก็ให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสานแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าจักหายไป

ภิกษุทั้งหลาย แท้จริงแล้ว เมื่อเหล่าเทวดาทั้งหลายแลดูยอดธงของท้าวสักกเทวราช แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ หรือแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่ บางทีก็หายได้ บางทีก็ไม่หาย เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าท้าวสักกเทวราชยังไม่สิ้นราคะ ยังไม่สิ้นโมหะ ยังกลัว ยังหวาดสะดุ้ง ยังต้องหนี

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราตถาคตกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเธอทั้งหลายไปอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ ตามบ้านร้าง หรือที่อื่นใดแล้วเกิดความกลัว หวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ขอให้เธอทั้งหลายระลึกถึงเราตถาคตว่า

“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงเป็นครูของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ทรงมีความสามารถในการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ฯ”

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงตถาคตอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้าระลึกถึงตถาคตไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงพระธรรมว่า ” พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล สามารถแนะนำให้ผู้อื่นมาพิสูจน์ได้ว่า “ท่านจงมาดูเถิด” ควรน้อมมาไว้ในตัว ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ฯ”

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้าระลึกถึงพระธรรมไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ ปฏิบัติเหมาะสม ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงลำดับได้ ๘ ท่าน นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาน้อมนำมาบูชา ควรแก่สักการะที่เขาเตรียมไว้ต้อนรับ ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรให้ความเคารพ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ”

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป ที่เป็นเช่นนี้เพราะตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ ไม่มีความกลัว ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หนี พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสพุทธพจน์นี้แล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายไปอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ หรือตามบ้านร้าง ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วพวกเธอก็จะไม่มีความหวาดกลัว ถ้าพวกเธอทั้งหลาย ไม่สามารถระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในโลก ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน ก็ให้ระลึกถึงพระธรรม อันสามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์ ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด ถ้าพวกเธอไม่สามารถระลึกถึงพระธรรมที่สามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์อันเราแสดงไว้ดีแล้ว ต่อจากนั้น ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า จักไม่มีแล ฯ

ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ผู้เขียน และเรียบเรียง หนังสือ ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร  และ หนังสือ พุทธานุภาพ  จัดพิมพ์โดยกองทุนพุทธานุภาพ
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ผู้เขียน และเรียบเรียง หนังสือ ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และ หนังสือ พุทธานุภาพ จัดพิมพ์โดยกองทุนพุทธานุภาพ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here