ภาพพระพุทธเจ้า

บทความพิเศษ ตอนที่ ๒ “การลาสิกขาตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ” โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

ก่อนอ่านบทความนี้อยากให้ท่านย้อนไปอ่านในคอลัมน์นี้เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เพราะเป็นเนื้อหาต่อเนื่องกัน ซึ่งคราวที่แล้วอาตมาได้พูดถึงเรื่องประเด็นการนุ่งห่มจีวรของอดีตกรรมการมหาเถรสมาคมเมื่อได้รับการประกันตัวออกมาจากเรือนจำแล้ว ซึ่งอาตมาก็ได้อธิบายทั้งในมุมของพระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง ให้เห็นแล้วว่าท่านมีความชอบธรรมที่จะใส่จีวรได้ตามปกติ เพราะก่อนท่านเข้าเรือนจำ ช่วงระหว่างที่ท่านอยู่ในเรือนจำ และหลังจากท่านได้รับการประกันตัวออกมาจากเรือนจำ ท่านก็มีสถานะเป็นพระภิกษุตามพระธรรมวินัยทุกประการ การลาสิกขาตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ นสพ....
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจของ "ญาณวชิระ” หรือ พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในการเขียน “ทศชาติ : ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง” เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙

รำลึกวันวาน…มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (ตอนที่ ๓๒) “เมตตาบารมี” วิถีพระโพธิสัตว์

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ใน “ทศชาติ” ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งท่านพระอาจารย์ญาณวชิระ หรือ ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)ในครั้งนั้น เขียนขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๔๙ ท่านให้ความสำคัญไม่เพียงการศึกษาจากพระไตรปิฎก หากยังอยู่ในวิถีการปฏิบัติของท่านในเพศบรรพชิตมาตลอดชีวิตของท่านด้วย หนังสือ “ทศชาติ” ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง โดย ญาณวชิระ นับตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรน้อยในวัยเพียงสิบสองสิบสามปี ท่านก็มีความตั้งใจที่จะเป็นพระ ดังในรำลึกวันวาน มโณปณิธานของท่านอย่างชัดเจนว่า
ภาพวาด “กาลเวลาและศรัทธา” โดย ศิลปิน จรรยา เพชรแต่ง จากหนังสือ “สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์” โดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖

“มหาสุทัสสนสูตร” ผู้นำให้รอดจากทุกข์ โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

นับเป็นเวลาหลายพันปีที่มนุษย์พยายามค้นหาการแก้ปัญหาต่างๆ ในโลกใบนี้ จนกระทั่งเกิดมีศาสนาขึ้น นับจากนั้นมนุษย์ก็เริ่มมีความหวังในการมีชีวิตมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ว่าปัญหาทั้งหมดในโลกจะสิ้นสูญไปแต่อย่างไร แต่ดูเหมือนว่ามนุษย์จะมีแนวทางในการอยู่ท่ามกลางความทุกข์ยากได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการค้นหาผู้ช่วยให้รอดพ้นจากความทุกข์ยากที่ตะวันตกเรียกว่า เอกบุรุษ (The One)  หรือที่ชาวตะวันออกเรียกว่า อภิมนุษย์ (Superman) หรือที่ชาวพุทธเรียกบุคคลนี้ว่า “มหาบุรุษ” ซึ่งลักษณะสำคัญของบุคคลเหล่านี้คือ ผู้ช่วยเหลือและเยียวยาให้มนุษย์อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้ได้อย่างมีความสุข สงบ “มหาสุทัสสนสูตร” ผู้นำให้รอดจากทุกข์
เด็กน้อยกับการภาวนา คุณค่าแห่งลมหายใจ โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

“เด็กน้อยกับการภาวนา คุณค่าแห่งลมหายใจ” โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

เมื่อราวสามปีก่อน ได้พบกับเด็กหญิงตัวน้อยเชื้อชาติจีนมาเลเซียวัย ๘ เดือน เธอถือกำเนิดและอาศัยที่สหรัฐอเมริกา คลานเข้ามาใกล้ ขณะที่บรรยายธรรมให้ชาวอเมริกันกลุ่มเล็กๆ ฟัง เธอต้องการจับระฆังใบใหญ่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของพระและพระบอกทุกคนให้อยู่เป็นปรกติ ปล่อยเธอตามสบาย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พ่อแม่ของเธอมาฟังธรรมและเธอก็ร่วมอยู่ในกิจกรรมวันนั้นจนจบ หลังจากนั้นเป็นต้นมาในช่วงที่พระมาพำนักที่เวอร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ่อแม่ของเธอก็นำเธอมาปฏิบัติด้วยเสมอ และแม่ก็ห้ามเธอบ่อยๆ ว่าอย่าแตะต้องตัวพระอาจารย์นะ เธอคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าทำไมต้องปฏิบัติเช่นนั้น แต่เธอก็พยายามเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เสมอ "เด็กน้อยกับการภาวนา คุณค่าแห่งลมหายใจ"
พระใบฏีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม พระธรรมทูต ประเทศสกอตแลนด์ ผู้เขียน

บทความพิเศษ ตอนที่ ๑ “ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” กับ “พระพิมลธรรมโมเดล” โดย พระใบฏีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

ช่วงนี้ถ้าติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของคณะสงฆ์แล้ว ข่าวที่ร้อนแรงที่สุดตอนนี้น่าจะเป็นข่าวของเรื่องการได้รับประกันตัวของอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิของท่านโดยชอบตามรัฐธรรมนูญแล้วที่ได้รับการประกันตัว แต่สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงหรือร้อนแรงกว่าก็คือ “ความชอบธรรมของการนุ่งห่มจีวรหลังออกมาจากเรือนจำ” “ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” นุ่งห่มจีวรหลังออกจากเรือนจำ กับ “พระพิมลธรรมโมเดล” พระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง โดย...
“เข้าวัดวันอาทิตย์ ใกล้ชิดพระรัตนตรัย”ฯ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

“เข้าวัดวันอาทิตย์ ใกล้ชิดพระรัตนตรัย วันพระประจำใจ ณ วัดพุทธารามเกาหลี” โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

หลายสัปดาห์ก่อนได้เล่าถึงงานสาธารณสงเคราะห์ของวัด ของพระสงฆ์ผู้เดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดพุทธารามเกาหลี ซึ่งเป็นงานหนึ่งใน ๖ ด้านของมหาเถรสมาคมที่กำหนดให้วัดไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ดำเนินการ เพื่อให้การอนุเคราะห์สงเคราะห์ญาติโยม วันนี้จะขอเล่าถึงงานเผยแผ่ ซึ่งก็เป็นอีกงานหนึ่งที่มีความสำคัญ วันนี้ก็เลยจะชวนผู้อ่านข้ามน้ำข้ามทะเล มาเรียนรู้การบวชศีลจารีณีประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกันกับพี่น้องชาวไทยที่เกาหลีใต้ ซึ่งจะครบสองเดือนของการมาปฏิบัติศาสนกิจ ผู้เขียนได้นับดูผู้มาบวชศีลจาริณีก็เยอะพอสมควร ครั้งละ ๕ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง...
"ข้อคิดระหว่างทาง จาริกธรรมในอเมริกา" โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

“ข้อคิดระหว่างทาง จาริกธรรมในอเมริกา” โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

เพราะการใช้ชีวิต การเดินทาง และการทำงานคือ การเรียนรู้ตนเองและผู้อื่น ในระหว่างทาง อย่าลืมสติ เป็นเพื่อนขนานเอก ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ดีหรือไม่ดี เป็นครูเราได้ทั้งนั้น และผลของมัน ไม่ว่าเหตุจะดีหรือไม่ดี ถ้าเรียนรู้เป็น ผลที่ออกมาจะสวยงามเสมอ.... “ข้อคิดระหว่างทาง”...

“เห็นทุกข์คือเห็นธรรม”…สร้างพลังใจสู่ชายแดนใต้ : พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙, ดร.

ฉบับนี้พาลงพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ ไปยังจังหวัดปัตตานี สลับกับแวะพักที่ลาดัก จะได้เบรกกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะในระหว่างทางทบทวนชีวิตที่ไปด้วยกับการถอดบทเรียน “โครงการเยี่ยมพระพบปะโยม” เมื่อวันที่ ๑๕-๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ในครั้งนั้น เพื่อเป็นการลงพื้นที่ให้กำลังใจกับพระสงฆ์และให้ธรรมะกับอุบาสกอุบาสิกาชาวพุทธในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ในครั้งนี้เราไปยังชุมชนบ้านป่าศรี อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี “เห็นทุกข์คือเห็นธรรม” สร้างพลังใจสู่ชายแดนใต้  
“น้อมรำลึก พระครูกิตติสารโกศล (นิคม สุนฺทโร)” อดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณภักดี (วัดทุ่งไก่ดัก) จังหวัดตราด โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

น้อมรำลึก พระครูกิตติสารโกศล (นิคม สุนฺทโร)” อดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณภักดี (วัดทุ่งไก่ดัก) จังหวัดตราด โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

น้อมถวายความอาลัย หลวงพ่อพระครูกิตติสารโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณภักดี (วัดทุ่งไก่ดัก) อ.เมือง จ.ตราด จากเหตุการณ์คนร้ายบุกยิงขณะทำวัตรเช้า มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ขอน้อมส่งหลวงพ่อสู่แดนพระนิพพาน น้อมรำลึก พระครูกิตติสารโกศล (นิคม สุนฺทโร)” อดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณภักดี (วัดทุ่งไก่ดัก) จังหวัดตราด
"พระทำงาน งานพระธรรม" จาริกธรรมในอเมริกา โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

“พระทำงาน งานพระธรรม” จาริกธรรมในสหรัฐอเมริกา โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

นับตั้งแต่บวชเข้ามาได้เรียนศึกษาธรรมมาถึงปัจจุบันก็ได้เจอปัญหาอุปสรรคมากมายที่ถูกใจบ้างขัดเคืองใจบ้าง​ ได้ยิ้มได้หัวเราะร้องไห้มาแล้วบ้าง​  ร่วมสุขร่วมทุกข์กับกลุ่มเพื่ิอชีวิตดีงาม​ ที่ช่วยกันทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้นเหนือล่องใต้ ตะวันออก ตะวันตก ​ไปด้วยกันฉันพี่น้อง​ ทำงานเพื่อสังคมตอบแทนบุญคุณคุณข้าวปลาอาหารของญาติโยมมาโดยตลอด เราทำงานเพื่องาน​ สร้างคนพัฒนาตนเอง​  บางคนอยากจะถามว่าไปอบรมพุทธบุตรเหนื่อยไหม... เหนื่อยอยู่เป็นธรรมดาของคนที่ทำงาน​ ที่เหนื่อยกายพักผ่อนสักกายก็หายเหนื่อยสู้งานไป​ได้ สิ่งที่ได้จากการอบรมเด็กคือความสุขใจ​ เพียงแค่ได้เห็นรอยยิ้มอันบริสุทธิ์ใจและเสียงหัวเราะของเด็กก็มีความสุขใจหายเหนื่อยแล้ว​ สิ่งที่สำคัญเวลาที่อบรมเด็กระยะเวลาอันสั้นน้อยเดียวนั้น จากการสังเกตได้พูดคุยกัน​ บางคนถึงกลับได้สำนึกถึงบุญของพ่อแม่​ คุณครู​ และเพื่อน​ ได้กล่าวขอบคุณและขอโทษที่เคยพลาดพลั้งไป​  ดังสุภาษิตว่า​ "สี่เท้ายังพลาด​ นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง" 

TRENDING RIGHT NOW