หน้าแรก บันทึกธรรมวิจัย

บันทึกธรรมวิจัย

    พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙

    รำลึกวันวาน…มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (ตอนที่ ๓๖) บูรพาจารย์กับการดำเนินชีวิต และ ปีติ หล่อเลี้ยงใจ

    ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เทศน์อบรมสามเณร ปี ๒๕๖๐ ผู้เขียนจำได้เสมอ... ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์  (เทอด ญาณวชิโร) สอนว่า เวลาทำอะไรก็ตามให้เอาธรรมะนำ และทำให้เต็มกำลังความสามารถของเรา เพราะเมื่อเวลามองย้อนกลับไปก็จะมีปีติหล่อเลี้ยงใจเสมอ ดังที่ท่านทำหน้าที่ทุกอย่าง ทั้งการภาวนาส่วนตน และการทำหน้าที่ดูแลคณะสงฆ์...
    การปฏิบัติศาสนกิจนำสามเณรบิณฑบาตและให้พรญาติโยม เช้าวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒ (ก่อนเกิดเหตุ ๑ ชั่วโมง) ขอขอบคุณภาพจาก : สำนักสงฆ์เขาพระครู จังหวัดชลบุรี

    ในโลกนี้มีอะไร ที่เราแลกได้ด้วยชีวิต? : พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ

    พระใบฎีกาธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร และ พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ในโลกนี้มีอะไร ที่เราแลกได้ด้วยชีวิต?  โดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
    พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ปิดการอบรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนบทความทั่วไป “ ในโครงการ พระนักเขียน ประจำปี ๒๕๖๐ ณ ศาลาสุวรรณบรรพต(หลวงพ่อ โชคดี) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

    รำลึกวันวาน …มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (ตอนที่ ๑๕) “ย่ามที่ครูบาอาจารย์มอบให้ หมายถึงทำอะไรให้ถือพระศาสนาเป็นที่ตั้ง”

    เมื่อวันที่ผู้เขียนได้รับความเมตตาและโอกาสอันวิเศษให้ไปเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนบทความทั่วไป “ ในโครงการ พระนักเขียน ประจำปี ๒๕๖๐ ณ ศาลาสุวรรณบรรพต(หลวงพ่อ โชคดี) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นโครงการที่สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์  จัดขึ้น มีพระจากทั่วประเทศที่สมัครเข้ารับการอบรมประมาณ ๒๕ รูป
    "ชีวิตภายนอก กับ ชีวิตข้างใน" จาริกธรรมอเมริกา (ตอนที่ ๘) โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

    “ชีวิตภายนอก กับ ชีวิตข้างใน” จาริกธรรมอเมริกา (ตอนที่ ๘) โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

    วันนี้จะชักชวนให้สำรวจชีวิตของตนเองบ้าง​  ไม่น้อยคนเลย... ลืมที่จะสำรวจตรวจสอบชีวิต ไม่ก็คิดฟุ้งเดินไปข้างหน้าอย่างเดียวโดยไม่มองกลับมาดูข้างหลัง​  หรือบางคนคิดไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่สูงกว่าจนทำให้ทุกข์ใจ​ ดูถูกตนตอกย้ำใจให้ตกต่ำ​แล้วก็ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้​  เพราะติดกับดักความคิดของตนขังไว้​ ชีวิตภายนอก​ กับชีวิตข้างใน จาริกธรรมอเมริกา (ตอนที่ ๘) โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย พระธรรมทูต ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม
    พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) และหลวงปู่สมชาย วิจิตฺโต วัดผานางคอย อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๐

    รำลึกวันวาน…มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (ตอนที่ ๓๕) สมาธิเพื่อการพ้นทุกข์

    สัมมาสมาธิ เป็นหนึ่งในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้มวลมนุษย์ได้นำไปฝึกปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ทางใจในที่สุด สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่คนสมัยนี้ละเลยกันไปมาก ในยุคนี้ ผู้เขียนขอกราบแทบเท้าท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้นเป็นอย่างสูง ที่ท่านเมตตาเขียนเรื่อง "สัมมาสมาธิ" ไว้จากประสบการณ์การภาวนาของท่าน และจากหลักการที่พระพุทธองค์ฝากไว้ในพระไตรปิฎก ผ่านปลายปากกาของท่านอยู่ในหนังสือหลายเล่ม หนึ่งในนั้นคือ "สมาธิเบื้องต้นสำหรับชาวบ้าน" วิธีฝึกสมาธิด้วยตนเองสำหรับผู้ที่ไม่รู้จักสมาธิ" เล่มนี้ ...
    "โลกไม่รอด เราจะรอดได้อย่างไร" โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

    “โลกไม่รอด เราจะรอดได้อย่างไร” โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

    Central Park เซ็นทรัลพาร์ค ได้ชื่อว่าเป็นปอดของมหานครนิวยอร์ก เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่มากโดยมีเนื้อที่ประมาณ ๒,๑๓๓ ไร่ สามารถเดินได้ทั้งวัน และในบางพื้นที่ของสวนสาธารณะเป็นป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มากมาย ให้ความรู้สึกเหมือนไม่ได้อยู่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย พลุกพล่าน ซึ่งในแต่ละเขตที่ไม่ไกลกันมากของมหานครแห่งนี้ก็จะมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ Brooklyn หรือ Queensฯลฯ ที่ผู้คนสามารถหลบหนีความวุ่นวายหามุมสงบส่วนตัวหรือเพื่อออกกำลังกาย พักผ่อนได้เป็นอย่างดี หลายคนกล่าวว่า มหานครแห่งนี้ไม่เคยหลับ คงหมายถึง แสงสีจากไฟฟ้าที่เปิดอยู่ตลอดทั้งวัน ทั้งคืน โดยเฉพาะที่ไทม์สแควร์ (Times Square) ความพลุกพล่าน จอแจจะมีให้เห็นเกือบทั้งวัน บางครั้งเดินไหลกันไปเหมือนสายน้ำแห่งมวลชน "โลกไม่รอด เราจะรอดได้อย่างไร"
    ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

    ควันหลงจากบุญเดือนสิบ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น บ้านเรามีประเพณีทำบุญถึงบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันตามภูมิภาค เช่น บุญเดือนสิบ บุญข้าวสาก บุญสารทเดือนสิบ บุญตานก๋วยสลาก หรือ แซนโดนตาล แต่ทั้งหมดนั้นมีความหมายตรงกันก็คือ การทำบุญเพื่ออุทิศให้กับผู้วายชนม์ ซึ่งก็มีบางคนค้านว่า พ่อแม่ผม เป็นคนดีไม่มีทางไปเกิดเป็นเปรตแน่นอนผมไม่ต้องทำก็ได้ เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากวัตถุประสงค์ของบุญประเพณีนี้ ซึ่งเป็นคติโบราณมุ่งให้เราเป็นคนที่มีความกตัญญูกตเวทีและบำเพ็ญทานบารมี ไม่ใช่ว่าพ่อแม่เราจะไปเกิดในที่ไม่ดี แต่เป็นการฝึกฝนจิตใจของเราเองเป็นฐานแห่งการละความตระหนี่  เติมความเมตตากรุณามุ่งเอื้อเฟื้อเพื่อมนุษย์ด้วยกัน สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวและชุมชน ควันหลงจากบุญเดือนสิบ
    “พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี” โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดพุทธารามเกาหลี เมืองอันซัน ประเทศเกาหลีใต้

    “พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี” โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    การเดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ไทยในเกาหลีใต้ ณ วัดพุทธารามเกาหลี ได้มีการเชื่อมสัมพันธ์กับคณะสงฆ์เกาหลีอยู่ตลอด ทั้งการเข้าร่วมประชุม การเข้ารับการอบรมถวายความรู้เรื่องกฎหมาย การเข้าร่วมปฏิบัติธรรม ตลอดถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของคณะสงฆ์เกาหลี เป็นต้น “พระสงฆ์” กับการดำเนินชีวิต สองวัฒนธรรม “ไทย-เกาหลี” พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน...
    “ศาสนสัมพันธ์” สังฆะเป็นหนึ่งเดียว ปณิธานพระสงฆ์ไทยในเกาหลีใต้ (จบ) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    “ศาสนสัมพันธ์” สังฆะเป็นหนึ่งเดียว ปณิธานพระสงฆ์ไทยในเกาหลีใต้ (จบ) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    สัปดาห์ที่แล้วเล่าเรื่อง “ศาสนสัมพันธ์ สังฆะแห่งการเกื้อกูลในเกาหลีใต้” ยังไม่จบ ฉบับนี้ขอเล่าเชื่อมโยงต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อให้เห็นภาพรวมของคณะสงฆ์ไทยในเกาหลีใต้กับวิถีพุทธของพระทุกนิกายก็เป็นหนึ่งเดียวกัน “ศาสนสัมพันธ์” สังฆะเป็นหนึ่งเดียว ปณิธานพระสงฆ์ไทยในเกาหลีใต้  (จบ) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท พระธรรมทูต วัดพุทธารามเกาหลี  เมืองอันซัน...
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ ป.ธ.๙), อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก, อดีตประธานสำนักงานกำกับดูและพระธรรมทูตไปต่างประเทศ รูปแรก และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ผู้ลงนามก่อตั้ง สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ในฐานะประธานคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปเสณาภรณ์ (สังคม ญาณวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ, เลขานุการ สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, กรรมการสำนักงาน ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ก่อนถูกดำเนินคดี (รูปซ้ายมือ) พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ, หัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ก่อนถูกดำเนินคดี (รูปขวามือ)

    บทความพิเศษ ตอนที่ ๗ “สำนักงานพุทธฯ ให้งบอุดหนุน ป.ป.ช., สำนักงานอัยการสูงสุด และ สำนักงานศาลยุติธรรมได้หรือไม่ ? ทำไมวัดรับงบอุดหนุนจึงเป็นคดีความ” โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

    สำหรับตอนนี้ก็เช่นเคยเป็นประเด็นที่สำคัญมาก อาตมาตั้งใจเขียนเพื่อให้ความรู้กับสังคม ถอดบทเรียนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้สังคมได้มาร่วมกันค้นหาความจริง เพื่อธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมให้อยู่คู่กับสังคม และจะกล่าวถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยความเคารพ “สำนักงานพุทธฯ ให้งบอุดหนุน ป.ป.ช., สำนักงานอัยการสูงสุด และ สำนักงานศาลยุติธรรมได้หรือไม่ ? ทำไมวัดรับงบอุดหนุนจึงเป็นคดีความ” โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม...

    TRENDING RIGHT NOW